เมืองนครราช คือเมืองเดียวกันกับเมืองราด ของพ่อขุนผาเมือง เนื่องจากมีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับเมืองพระนครหลายประการ นอกจากนี้รูปสลักกองทัพชาวสยามบนระเบียงด้านหนึ่งของ นครวัด อาจเป็นชาวสยามจากลุ่มแม่น้ำมูลที่เกี่ยวข้องกับเมืองนครราช และยังมีการกล่าวถึงเมืองนครราชสีมาในพงศาวดารของกัมพูชาหลายครั้งด้วย อย่างไรก็ตาม ผู้ที่มีมุมมองอีกด้านหนึ่งก็ว่า นครราชสีมา นั้นเป็นคำไทยเป็นคำใหม่ แยกเป็นคำได้คือ นคร, ราช และ สีมา หมายความว่า "เมืองใหญ่อันเป็นขอบขัณฑสีมาของราชอาณาจักร" (ราช+สีมา) ส่วนคำว่า โคราช (สำเนียงถิ่น: โค-หฺราด , ไทยกลาง: โค-ราด, เขมร: โก-เรียช ) นั้น น่าจะเพี้ยนมาจาก นครราช (อ่านตามสำเนียงว่า คอน-หฺราด ซึ่งเป็นคำเรียกนครราชสีมาแบบย่อ ๆ ของชาวบ้าน) หรือ อังกอร์เรียจ ต่อมาลดรูปเป็น กอร์เรียจ และเพี้ยนเป็นโคราช ในที่สุด และไม่ได้เพี้ยนมาจากชื่อเมืองโคราฆปุระ (Gorakhpur) ที่เป็นชื่อเมืองสมัยใหม่ในแคว้นเดียวกับเมืองอโยธยา (Ayodhya) ในอินเดีย ตามข้อสันนิษฐานของสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าดิศวรกุมาร กรมพระยาดำรงราชานุภาพดีอย่างประยุทธ์ ดีอย่างประดีอย่างดีอย่างดีอย่างประ
เดิมทีนั้นชื่อเมืองนครราชสีมา มีการใช้ "นครราชสีมา" และ "นครราชสีห์มา" สลับกันไป จนกระทั่งเมื่อวันที่ 12 มกราคม พ.ศ. 2445 (พ.ศ. 2444 เดิม) ได้มีพระบรมราชโองการฯ ให้ประกาศว่า
ชื่อมณฑลแลเมืองนครราชสีห์มา ซึ่งใช้ตัว ห การันต์ด้วยนั้น เปนการผิดจากความหมายของชื่อเมือง แต่นี้ต่อไปอย่าให้ใช้ตัว ห การันต์ ให้ใช้ว่า นครราชสีมา ในการที่จะออกชื่อเกี่ยวด้วยมณฑลแลเมืองนี้ในที่ทั้งปวง | ||
— ราชกิจจานุเบกษา วันที่ ๑๒ มกราคม ร.ศ. ๑๒๐ เล่ม ๑๘ หน้า ๗๙๑ |
ตาประยุทธตาประยุทธตาประยุทธกูชื่อกิจทำไมตาประยุทธมึงเรียกเศษฐกิจไม่เป็นหรือตาประยุทธ จันทร์โอชา
ประวัติศาสตร์[แก้]
สมัยก่อนประวัติศาสตร์[แก้]
จากหลักฐานทางโบราณคดีพบว่า มีชุมชนโบราณซึ่งเป็นร่องรอยของมนุษย์ก่อนประวัติศาสตร์ตั้งแต่ยุคหินใหม่ต่อเนื่องมาถึงยุคสำริด และยุคเหล็ก กระจายอยู่ทั่วไปในจังหวัดนครราชสีมา โดยมีแหล่งโบราณคดีที่สำคัญคือ ชุมชนบ้านปราสาท ชุมชนบ้านโนนวัด แหล่งภาพเขียนสีเขาจันท์งาม ซึ่งกำหนดอายุได้ประมาณ 4,500 ปีมาแล้วสมัยประวัติศาสตร์[แก้]
อาณาจักรศรีจนาศะ หรือ จนาศะปุระ[แก้]
มีความเจริญรุ่งเรืองมาตั้งแต่สมัยทวารวดี ซึ่งมีศูนย์กลางอยู่ที่เมืองเสมา ตั้งอยู่บริเวณอำเภอสูงเนินในปัจจุบัน เป็นเมืองใหญ่เชื่อกันว่าเป็นที่ตั้งของรัฐศรีจนาศะ ใน พ.ศ. 1411 ตามจารึก ข้อมูลปฐมภูมิเกี่ยวอาณาจักรนี้ ศึกษาได้จากศิลาจารึก ซึ่งปัจจุบันพบอยู่ 2 หลักคือ 1. จารึกบ่ออีกา (จารึกด้วยอักษรหลังปัลลวะ ใช้ภาษาสันสกฤต กับ เขมร กำหนดอายุได้ พ.ศ. 1411) สถานที่พบ บ้านบ่ออีกา อำเภอสูงเนิน จังหวัดนครราชสีมา เนื้อหาโดยสังเขป ด้านที่ 1 กล่าวถึงสัตว์และทาสที่พระราชาแห่งศรีจนาศะถวายแก่พระสงฆ์ ด้านที่ 2 เริ่มต้นด้วยการกล่าวสรรเสริญพระศิวะ แล้วกล่าวยกย่องอังศเทพซึ่งเป็นผู้สร้างศิวลึงค์นี้ 2. จารึกศรีจานาศะ (จารึกด้วยอักษรขอมโบราณ ใช้ภาษาสันสกฤต กับ เขมร กำหนดอายุได้ พ.ศ. 1480) สถานที่พบ บริเวณเทวสถาน ใกล้สะพานชีกุน อำเภอเมือง จังหวัด พระนครศรีอยุธยา เนื้อหาโดยสังเขป ด้านที่ 1 เริ่มต้นด้วยการสรรเสริญพระศิวะ จากนั้นสรรเสริญนางปารวตี ต่อจากนั้นจึงกล่าวถึงรายพระนามพระราชาแห่งอาณาจักรจานาศปุระ คือ พระราชาองค์แรกทรงพระนามว่าภคทัตต์ ผู้ที่สืบต่อลงมาจากพระเจ้าภคทัตต์องค์หนึ่งทรงพระนามว่า สุนทรปรากรม พระเจ้าสุนทรปรากรมทรงมีโอรสทรงพระนามว่า สุนทรวรมัน พระเจ้าสุนทรวรมันทรงมีโอรส 2 องค์องค์พี่ทรงนามว่านรปติสิงหวรมัน ได้เสด็จขึ้นครองราชย์แห่งอาณาจักรศรีจานาศะ องค์น้องทรงนามว่า มงคลวรมัน ได้โปรดให้สร้างจารึกหลักนี้เพื่อฉลองการสร้างพระรูปพระชนนีเป็นพระราชเทวี คือ ชายาของพระศิวะ เมื่อศักราช 859 (พ.ศ. 1480) ส่วนจารึกด้านที่ ๒ นั้น เป็นรายชื่อของทาสเมืองพิมาย หรือ วิมายปุระ[แก้]
ชุมชนในเขตลุ่มแม่น้ำมูลเริ่มมีการตั้งถิ่นฐานเป็นบ้านเมืองขึ้นในช่วงประมาณพุทธศตวรรษที่ 12 (ประมาณกลางคริสต์ศตวรรษที่ 6 ถึงกลางคริสต์ศตวรรษที่ 7) เมื่อปรากฏเมืองที่มีคันดินล้อมรอบซี่งมีรูปร่างกลมหรือมีรูปร่างไม่แน่นอนกระจายอยู่ทั่วบริเวณ เช่น บริเวณบ้านเมืองฝ้าย ตำบลบ้านฝ้าย อำเภอนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์ บริเวณบ้านโตนด ตำบลโตนด อำเภอโนนสูงบริเวณเมืองพิมาย อำเภอพิมาย บริเวณเมืองเสมา อำเภอเนินสูง บริเวณหินขอนอำเภอปักธงชัย จังหวัดนครราชสีมา โดยบริเวณบ้านโตนดที่อยู่ห่างจากเมืองพิมายไปทางด้านใต้ประมาณ 20 กิโลเมตร ได้พบลูกปัดแก้วสีน้ำเงินและลูกปัดหินทำด้วยหินอารเกทและเตอร์เนเสียน มีลายสลับเขียว เหลือง แดง ซึ่งพบมากในชุมชนลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา แสดงให้เห็นว่าบ้านเมืองในเขตลุ่มแม่น้ำมูล มีการรับวัฒนธรรมจากภายนอกเข้ามา พิเศษ เจียจันทร์พงษ์ แสดงความเห็นว่า บริเวณบ้านโตนดน่าจะเป็นหมู่บ้านชนบทของเมืองพิมาย เป็นพื้นที่ทำการเพาะปลูกส่วนหนึ่งของเมืองพิมาย โดยมีแม่น้ำมูลเป็นทางคมนาคมขนส่งในการลำเลียงพืชพันธุ์ธัญญาหารสู่เมืองพิมายในขณะเดียวกัน เมืองพิมายได้ปรากฏชื่ออยู่ในจารึกของเขมรมาตั้งแต่สมัยพระเจ้าอิศานวรมันที่ 1(พ.ศ. 1159 ถึงราว พ.ศ. 1180 หรือ ค.ศ. 616 ถึงราว ค.ศ. 637) ว่า ภีมปุระ (Bhimapura) ประกอบกับการพบจารึกของพระเจ้ามเหนทรวรมัน (ราว พ.ศ. 1150 ถึง พ.ศ. 1159 หรือ ราว ค.ศ. 607 ถึง ค.ศ. 616) ที่อำเภอนางรองจังหวัดบุรีรัมย์ และที่จังหวัดอุบลราชธานีเป็นจำนวนหลายหลัก แสดงให้เห็นว่า อารยธรรมเขมรได้แผ่ขยายอิทธิพลเข้ามามีบทบาทในเขตลุ่มแม่น้ำมูลตั้งแต่ช่วงต้นพุทธศตวรรษที่ 12 (ครึ่งหลังคริสต์ศตวรรษที่ 6) แล้ว โดยปรากฏชุมชนในวัฒนธรรมเขมรหลายแห่งในบริเวณนี้ เช่น บริเวณแก่งสะพือ อำเภอพิบูล มังสาหาร จังหวัดอุบลราชธานี บริเวณบ้านดม อำเภอสังขะ จังหวัดสุรินทร์เมืองพิมายได้เจริญขึ้นมามีบทบาทสำคัญเป็นเมืองศูนย์กลางขนาดใหญ่ของอารยธรรมเขมรในเขตลุ่มแม่น้ำมูลในช่วงปลายพุทธศตวรรษที่ 1654 (ครึ่งแรกคริสต์ศตวรรษที่ 11)เมื่อมีการสถาปนาราชวงศ์มหิธรปุระ (Mahidrapura) ขึ้นในเขตที่ราบสูงโคราช และเจริญรุ่งเรืองสุดในสมัยพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 (พ.ศ. 1724 ถึงราว พ.ศ. 1763 หรือ ค.ศ. 1181 ถึงราว ค.ศ. 1220) เพราะมีชื่อเมืองพิมายปรากฏในจารึกปราสาทพระขรรค์56 กล่าวว่า “จากเมืองหลวงไปยังเมืองวิมาย (มี) ที่พักพร้อมด้วยไฟ 17 แห่ง”และมีรูปฉลององค์ของพระเจ้าชัยวรมันที่7 และพระชายาอยู่ที่ปราสาทหินพิมายด้วย
จารึกปราสาทหินพิมาย
จารึกที่พบที่ปราสาทหินพิมายมีทั้งหมด 6 หลัก คือ
- จารึกปราสาทหินพิมาย 1 อักษรขอม ภาษาสันสกฤต ศิลาทราย กว้าง 57 เซนติเมตร สูง 40 เซนติเมตร หนา 12เซนติเมตร ไม่ปรากฏหลักฐานว่าพบในส่วนใดของปราสาท
- จารึกปราสาทหินพิมาย 2 อักษรขอม ภาษาสันสกฤตและเขมร ศิลารูปใบเสมา กว้าง 23 เซนติเมตร สูง 18 เซนติเมตรหนา 5.5 เซนติเมตร พบที่มุมตะวันออกเฉียงใต้ของปราสาทประธาน
- จารึกปราสาหินพิมาย 3 อักษรขอม ภาษาเขมร พบที่กรอบประตูซุ้มระเบียงคดด้านทิศใต้
- จารึกปราสาทหินพิมาย 4 อักษรขอม ภาษาเขมร พบที่ระเบียงคดด้านใต้ซีกตะวันออก เป็นจารึกฐานประติมากรรม
- จารึกปราสาทหินพิมาย 5 อักษรขอม ภาษาบาลี กว้าง 15 เซนติเมตร ยาว 32เซนติเมตร ไม่ปรากฏหลักฐานว่าพบในส่วนใดของปราสาท
- จารึกปราสาทหินพิมาย 6 อักษรขอม ภาษาเขมร แตกชำรุดเป็น 5 ชิ้น ไม่ปรากฏหลักฐานว่าพบส่วนใดของปราสาท
จารึกที่มีข้อความพอที่จะศึกษาได้ คือ จารึกปราสาทหินพิมาย 2 จารึกปราสาทหินพิมาย 3 และจารึกปราสาทหินพิมาย 4
โดยเนื้อหาสาระของจารึกมีประเด็นที่สำคัญ คือ
1. การบูชาและถวายของแด่พระพุทธเจ้า
2. การกล่าวสรรเสริญพระเจ้าสูรยวรมันที่ 1 (พ.ศ. 1545 – 1593 / ค.ศ. 1002 –1050)
3. การทำนุบำรุงศาสนสถานโดยการสร้างรูปเคารพ การทำพิธีต่างๆ และการถวายที่ดิน ข้าทาส สิ่งของแก่ศาสนสถานเพื่ออุทิศบุญกุศลแก่บรรพบุรุษ
4. การสร้างเมืองและศาสนสถาน
จากจารึกปราสาทหินพิมาย 2 มีการกล่าวถึง มหาศักราช 95858 เทียบได้กับ พ.ศ. 1579 (ค.ศ. 1036) และพระนาม“ศรีสูรยวรมะ” ซึ่งหมายถึง พระเจ้าสูรยวรมันที่ 1 ทำให้นักวิชาการมีความเห็นว่า ปราสาทหินพิมายคงจะสร้างขึ้นในรัชสมัยนี้โดยปามังติเอร์ (H.Parmentier) ให้ความเห็นว่า รูปแบบศิลปะของซุ้มและมุขหน้าปราสาทประธาน น่าจะเป็นฝีมือช่างในสมัยพระเจ้าสูรยวรมันที่ 1 ซึ่งเทียบได้กับศิลปะที่ปราสาทวัดเอกและวัดบาเสตในเมืองพระตะบองซึ่งสร้างขึ้นในรัชกาลนี้แต่จารึกหลักนี้มีปัญหาที่ว่าไม่ได้เป็นจารึกที่อยู่ติดกับตัวปราสาทหินพิมาย จึงไม่อาจสรุปลงไปได้อย่างชัดเจนว่า ปราสาทหินพิมายสร้างขึ้นในรัชสมัย พระเจ้าสูรยวรมันที่ 1อย่างไรก็ตาม จารึกปราสาทหินพิมาย 3 ซึ่งเป็นจารึกที่ติดกับศาสนสถานได้กล่าวถึงมหาศักราช1030 หรือ พ.ศ. 1651 (ค.ศ. 1108) ซึ่งตรงกับรัชกาลพระเจ้าธรณีนทรวรมันที่ 1 (พ.ศ. 1650 – 1656 หรือ ค.ศ. 1107 – 1113) “...กมรเตงอัญศรีวิเรนทราธิบดีวรมะเมืองโฉกวะกุลสถาปนากมรเตงชคตเสนาบดีไตรโลกยวิชัย ซึ่งเป็นเสนาบดีแห่งกมรเตงชคต-วิมายะฯ...” ได้แสดงให้เห็นว่าในปี พ.ศ. 1651 (ค.ศ. 1108) ต้องมีศาสนสถานปราสาทหิน พิมายอยู่แล้ว เพราะมีรูปเคารพกมรเตงชคตวิมายะ ซึ่งเป็นประธานของปราสาทหินพิมายแล้ว โดยนักวิชาการแสดงความเห็นว่ากมรเตงอัญศรีวิเรนทราธิบดีวรมะนั้นน่าจะหมายถึง เจ้าเมืองหรือขุนนางของพระเจ้าธรณีนทรวรมันที่ 1 ที่ครองเมืองพิมายอยู่ในขณะนั้น เพราะชื่อ ศรีวิเรนทราธิบดีวรมะเป็นชื่อตามปราสาทหินพิมายที่ปรากฏในจารึก คือ ศรีวิเรนทราศรม ซึ่งหมายถึง อาศรมของศรีวิเรนทราธิบดี และไซเดนฟาเดน (E. Seidenfaden) ได้แสดงความเห็นว่า กมรเตงอัญศรีวิเรนทราธิบดีวรมะ ต่อมาก็ได้เป็นพระเจ้าสูรยวรมันที่ 2 (พ.ศ. 1656ถึงหลัง พ.ศ. 1688 หรือ ค.ศ.1113 ถึงหลัง ค.ศ. 1145)
นอกจากนี้ ในตอนท้ายจารึกปราสาทหินพิมาย 3 ยังได้กล่าวถึงศักราช 1031 (พ.ศ. 1652 / ค.ศ. 1109) กมรเตงอัญศรีวีรวรมะได้ถวายของและข้าพระแด่กมรเตงชคตเสนาบดีไตรโลกวิชัย เพื่อถวายผลนั้นแด่พระบาทกมรเตงอัญศรีธรณีนทรวรมเทวะฯ ซึ่งหมายถึง พระเจ้าธรณีนทรวรมันที่ 1 ที่ครองราชย์อยู่ที่เมืองพระนครขณะนั้น
จากจารึกทั้งสองหลักพอจะสันนิษฐานได้ว่า ปราสาทหินพิมายคงจะสร้างขึ้นก่อนปี พ.ศ. 1651 (ค.ศ. 1108) ซึ่งกรอสลิเย่ (Bernard Philippe Groslier) กล่าวว่า คงเริ่มสร้างในสมัยพระเจ้าชัยวรมันที่ 6 (พ.ศ. 1623 – 1650 / ค.ศ. 1080 – 1107) เนื่องจากเมืองพิมายเป็นราชธานีของพระองค์มาก่อน โดยพระองค์โปรดให้สร้างปราสาทหินพิมายขึ้นเพื่ออุทิศถวายแด่บรรพบุรุษในราชวงศ์มหิธรปุระ
พุทธศาสนาที่ปราสาทหินพิมาย
เป็นที่ทราบกันโดยทั่วไปว่า ปราสาทหินพิมายเป็นศาสนสถานที่สร้างขึ้นในคติพุทธศาสนา เพราะประธานเป็นรูปพระพุทธรูปนาคปรกศิลามีพระนาม กมรเตงชคตวิมายะ แต่การศึกษาเกี่ยวกับเรื่องนี้นักวิชาการส่วนมากเข้าใจว่าพุทธศาสนาลัทธิวัชรยานหรือตันตระยาน เป็นนิกายหนึ่งของพุทธศาสนาลัทธิมหายาน ซึ่งเมื่อศึกษาถึงปรัชญาและจุดมุ่งหมายของวัชรยานและมหายานแล้ว จะเห็นได้ว่าทั้งวัชรยานและมหายานต่างก็มีปรัชญาที่ต่างกัน ดังนั้นวัชรยานและมหายานจึงเป็นลัทธิที่แยกออกจากกันอย่างชัดเจน เมื่อพิจารณาจากหลักฐานที่ปรากฏที่ปราสาทหินพิมายทั้งจากตัวศิลปะและจารึกกล่าวได้ว่า ปราสาทหินพิมายสร้างขึ้นในพุทธศาสนาลัทธิวัชรยาน เนื่องจากด้านหน้าทางเข้าปราสาทประธาน ปรากฏรูปพระวัชรสัตวพุทธะ คือ พระชินพุทธะองค์ที่ 6 ของลัทธิวัชรยานแสดงรูปโดยทรงถือวัชระในพระหัตถ์ขวา และทรงถือกระดิ่งในพระหัตถ์ซ้าย และจากการศึกษาประติมากรรมเครื่องใช้สัมฤทธิ์ที่บริเวณเมืองพิมายและบริเวณใกล้เคียง พบวัชระและกระดิ่งที่ภิกษุในลัทธิวัชรยานใช้ในการประกอบพิธีกรรมเป็นจำนวนมาก นอกจากนี้รูปเคารพที่ปรากฏอยู่บนทับหลังประดับประตูด้านในวิมานของปราสาทประธาน ยังแสดงถึงรูปเทพเจ้าในลัทธิวัชรยานด้วย คือทับหลังประดับทิศใต้ แสดงภาพกมรเตงชคตวิมายะอยู่ตรงกลาง ตอนบนของทับหลัง คือ พระชินพุทธะ 6 พระองค์ ด้านละ 3 พระองค์ ทับหลังประดับทิศตะวันตก ตอนบนแสดงภาพพระอมิตาภพุทธะ พระชินพุทธะ ประจำทิศตะวันตกส่วนตอนล่างแสดงภาพความรื่นรมย์บนสวรรค์สุขาวดี ทับหลังประดับทิศเหนือ ตรงกลางเป็นรูปเทพเจ้า 3 พักตร์ 6 กร โดยพระหัตถ์ล่างอยู่ในท่าปางสมาธิ พระหัตถ์ขวากลางถือลูกประคำ และพระหัตถ์ซ้ายกลางถือกระดิ่ง ซึ่งก็คือเหวัชระ หรือพระวัชรินตามชื่อที่ปรากฏในจารึกของกัมพูชาทับหลังประดับทิศตะวันออก แสดงภาพเทพเจ้า 4 พักตร์ 8 กร โดยพระพักตร์ที่ 4อยู่ด้านหลังสองกรล่างอยู่ในท่าแสดงธรรม ร่ายรำอยู่ในท่าอรรธปรยังกะ บนพระไภรวะและนางกาลราตรี และทรงถือหนังช้าง เทพเจ้าองค์นี้คือ สังวร ซึ่งอยู่ในสกุลพระอักโษภยะพระชินพุทธะประจำทิศตะวันออกนอกจากนี้ ยังปรากฏทับหลังประดับประตูชิ้นหนึ่งไม่ทราบตำแหน่งเดิมจากปราสาทหินพิมาย คือ ทับหลังภาพเจ้าเมืองทำอัษฎางคประดิษฐ์ ในพระหัตถ์มีหม้อน้ำที่รองรับน้ำมนตร์จากพระกมรเตงชคตวิมายะ ที่แสดงภาพอยู่ตอนกลางด้านบนของทับหลัง การถวายอัษฎางคประดิษฐ์เป็นการถวายความเคารพในลัทธิวัชรยาน ซึ่งยังคงปรากฏอยู่ในประเทศธิเบตและเนปาลปัจจุบัน
ลัทธิวัชรยานเริ่มปรากฏในเขมรมาตั้งแต่สมัยพระเจ้าราเชนทรวรมัน (พ.ศ. 1474 –1511 หรือ ค.ศ. 935 – 968) เพราะจารึกปราสาทเบ็งเวียนได้กล่าวถึงพระโลเกศวรและนางปรัชญาปารมิตา ผู้ประทานกำเนิดพระชินพุทธะและธาตุทั้ง 5 (มูลปฺรกฤติ)ในไตรโลก นอกจากนี้จารึกบ้านสับบาก อำเภอปักธงชัย จังหวัดนครราชสีมา ใน พ.ศ. 1609 (ค.ศ. 1066) ได้กล่าวถึงพระปาญจสุคต ซึ่งคือ พระชินพุทธะในลัทธิวัชรยาน และยังกล่าวถึงคัมภีร์ศรีสมาจะ ซึ่งเป็นชื่อย่อของคัมภีร์ศรีคุหยสมาจตันตระ(การสนทนาที่เป็นความลับ) เป็นคัมภีร์เก่าสุดที่พระพุทธเจ้าพระนามว่า สรรว-ตถาคต-กาย-วาก-จิตต์ ประทานให้กับพุทธสมาคมและเป็นต้นตำรับของวัชรยาน ทั้งยังเป็น 1 ใน 9 คัมภีร์หลักของเนปาลจารึกทั้งสองหลักแสดงให้เห็นว่าพุทธศาสนาลัทธิวัชรยานได้มีการวางรากฐานในอารยธรรมเขมรมาตั้งแต่ปลายพุทธศตวรรษที่ 15 (ต้นคริสต์ศตวรรษที่ 10) และคงแผ่ขยายอิทธิพลเข้ามาในเขตที่ราบสูงโคราชช่วงต้นพุทธศตวรรษที่ 17 (กลางคริสต์ศตวรรษที่ 11) จากนั้นก็เจริญรุ่งเรืองสุดในสมัยพระเจ้าชัยวรมันที่ 7โดยมีศูนย์กลางของลัทธิวัชรยานในประเทศไทยที่เมืองพิมาย และมีปราสาทหินพิมายเป็นศาสนสถานที่สำคัญของลัทธินี้
บทบาทและหน้าที่ของปราสาทหินพิมาย
ปราสาทหินพิมายเป็นปราสาทในอารยธรรมเขมรแบบ “ที่มีระเบียงคดล้อมรอบปรางค์ประธาน” และเป็นศูนย์กลางลัทธิวัชรยานจากกัมพูชาที่สำคัญในประเทศไทย อีกทั้งในจารึกปราสาทพระขรรค์ของพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 ยังกล่าวถึงเมืองพิมายในฐานะที่เป็นเมืองปลายทางของเส้นทางหลักสายหนึ่งในจำนวน 6 เส้นทางจากเมืองพระนคร ซึ่งแสดงให้เห็นถึงความสำคัญของเมืองพิมายในช่วงระยะเวลานี้ได้อย่างดี ประกอบกับภายนอกกำแพงเมืองด้านทิศใต้มีสิ่งก่อสร้างที่สำคัญของพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 หลงเหลืออยู่ คือ อโรคยศาลที่พระองค์โปรดให้สร้างขึ้นทั่วพระราชอาณาจักรของพระองค์ เพราะทรงมีความปรารถนาที่จะช่วยเหลือราษฎรให้พ้นจากความทุกข์กายอันได้แก่ความไม่มีโรค จากลักษณะดังกล่าวต่างเป็นสิ่งแสดงถึงฐานะของเมืองพิมายที่มิใช่เป็นเพียง “ดินแดนนอกกัมพุชเทศ” เท่านั้น แต่มีความสำคัญในฐานะที่เป็นดินแดนปิตุภูมิของกษัตริย์เขมรในราชวงศ์มหิธรปุระอีกประการหนึ่งที่สำคัญ คือ รูปแบบศิลปะสถาปัตยกรรมของปราสาทหินพิมายที่จัดอยู่ในศิลปะเขมรแบบนครวัดตอนต้นนี้ ยังส่งอิทธิพลกลับคืนไปยังศูนย์กลางที่เมืองพระนครด้วยความเป็นศูนย์กลางของพิมายในลุ่มแม่น้ำมูลตอนบนเช่นนี้ ทำให้ปราสาทหินพิมายไม่ได้เป็นเพียงปราสาทของราชวงศ์มหิธรปุระเท่านั้น หากยังเป็นศาสนสถานที่รับใช้ชุมชนพิมายเองด้วย ดังปรากฏในจารึกปราสาทหินพิมาย 2 ที่กล่าวถึงการทำบุญในวันสำคัญต่างๆ และการไปนมัสการพระพุทธเจ้าเพื่อให้เกิดความเจริญในชีวิต อีกทั้งภายในบริเวณเมืองพิมายเองก็มีการขุดสระหรือบารายขนาดใหญ่ คือ สระแก้ว สระพรุ่ง (สระศรี) และสระขวัญ และภายนอกกำแพงเมืองด้านตะวันออก คือ สระเพลง นอกกำแพงด้านทิศใต้ คือ สระช่องแมว ซึ่งแสดงให้เห็นถึงระบบการชลประทานขนาดใหญ่ที่ถูกสร้างขึ้นมาเพื่อรับใช้ชุมชนที่มีขนาดใหญ่ ดังนั้นปราสาทหินพิมายจึงมีความสำคัญในฐานะที่เป็นปราสาทประจำราชวงศ์มหิธรปุระ และเป็นศาสนสถานในลัทธิวัชรยานของชุมชนแม่น้ำมูลตอนบน
สมัยอยุธยา[แก้]
เนื่องจากตั้งอยู่เป็นบริเวณที่เป็นชายขอบระหว่างรัฐที่มีอำนาจ เป็นรัฐกันชน นครราชสีมาจึงมีประวัติศาสตร์ที่เกี่ยวพันกับความขัดแย้งระหว่างรัฐอยู่เสมอ เช่น ระหว่างสยามกับกัมพูชา หรือ ระหว่างสยามกับล้านช้าง หรือ ในบางครั้งได้มีความพยายามที่จะตั้งตัวเป็นรัฐอิสระไม่ขึ้นกับผู้ใด เฉกเช่นเดียวกับบรรดาเมืองใหญ่อื่น ๆในรัชสมัยสมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ 2 อาณาจักรอยุธยาสามารถเอาชนะกัมพูชาได้ รวมทั้งได้ทำการรวบรวมหัวเมืองในลุ่มแม่น้ำมูลเข้ามาอยู่ในอำนาจ เมื่อสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ พ.ศ. 1991 - 2031 ได้สืบราชสมบัติต่อมา มีการจัดระดับเมืองพระยามหานคร 8 หัวเมือง คือ พิษณุโลก ศรีสัชนาลัย สุโขทัย กำแพงเพชร นครศรีธรรมราช นครราชสีมา ตะนาวศรี และทวาย ซึ่งเป็นครั้งแรกที่เริ่มปรากฏชื่อเมืองนครราชสีมาเป็นเมืองสำคัญในขอบขัณฑสีมา และได้ดำรงความสำคัญสืบต่อมาในประวัติศาสตร์อยุธยาและรัตนโกสินทร์
ตามระบบระบบบรรดาศักดิ์ขุนนางไทย เจ้าเมืองนครราชสีมานับเป็นขุนนางระดับสูงมีบรรดาศักดิ์เป็น ออกญากำแหงสงครามรามภักดีพิรียภาหะ มีศักดินา 10,000 ไร่
ในสมัยสมเด็จพระนเรศวรมหาราช กองทัพเมืองนครราชสีมาได้ถูกมอบหมายให้เป็นกำลังหลักในการโจมตีเมืองเสียมราฐ และภาคตะวันออกของทะเลสาบจนได้ชัยชนะเหนือพระยาละแวก ในที่สุด
ครั้นถึงสมัยกรุงศรีอยุธยาตอนปลาย สมเด็จพระนารายณ์มหาราช ทรงเห็นว่าเป็นหัวเมืองใหญ่และมีความสำคัญทางยุทธศาสตร์ เนื่องจากเป็นเมืองหน้าด่านของอยุธยาติดกับพรมแดนลาว (เข้าใจว่าเลยลำสะแทด ซึ่งเป็นลำน้ำสาขาของแม่น้ำมูลเหนือเมืองพิมายเป็นเขตแดนลาว เพราะมีบันทึกไว้ในนิราศหนองคาย สอดคล้องกับวัฒนธรรมและภาษาที่เปลี่ยนไปด้วย) จึงโปรดให้ย้ายเมืองเสมา มาสร้างเมืองใหม่ ณ ที่ตั้งปัจจุบัน โดยมีการวางผังเมืองเป็นตารางรูปสีเหลี่ยม ขนาดกว้าง 1,000 เมตร ความยาว 1,700 เมตร มีกำแพงเมืองขนาดใหญ่ มีป้อมค่ายหอรบ และพระราชทานนามว่า "เมืองนครราชสีมา" จุลศักราช 1036 (พุทธศักราช 2217) โปรดให้พระยายมราช (สังข์)เป็นเจ้าเมือง ในคราวเดียวกันกับที่แต่งตั้ง เจ้าพระยารามเดโช เป็นเจ้าเมืองนครศรีธรรมราช
ซีมง เดอ ลา ลูแบร์ ชาวฝรั่งเศสที่เข้ามาสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช ได้เขียนรายงานและบันทึกไว้ในจดหมายเหตุ ว่า เมืองโคราชสีมา (Corazema) เป็นหัวเมืองใหญ่ 1 ใน 7 มณฑล ตั้งอยู่ติดชายแดนของราชอาณาจักรสยามกับเมืองลาว มีเมืองบริวาร 5 เมือง
ในแผ่นดิน สมเด็จพระเพทราชา พระยายมราชเจ้าเมืองนครราชสีมาที่แต่งตั้งโดยสมเด็จพระนารายณ์มหาราชได้แข็งเมือง เนื่องจากไม่พอใจสมเด็จพระเพทราชา ที่ก่อการยึดอำนาจและเปลี่ยนราชวงศ์ จึงไม่ขอขึ้นต่อกรุงศรีอยุธยา แต่ถูกกองทัพกรุงศรีอยุธยาใช้เวลาปราบปรามโดยล้อมเมืองอยู่ประมาณ 2 ปี โดยใช้อุบายและกลยุทธปราบลงได้ พระยายมราช เจ้าเมืองนครราชสีมาได้หนีไปพึ่ง เจ้าพระยารามเดโชเจ้าเมืองนครศรีธรรมราชซึ่งไม่พอใจสมเด็จพระเพทราชาเช่นกัน แต่ถูกกองทัพอยุธยาตามไปปราบปรามลงได้ นับแต่นั้นเมืองนครราชสีมาได้ถูกลดความสำคัญลงไม่เข้มแข็งดังแต่ก่อน
สมัยกรุงธนบุรี[แก้]
หลังกรุงศรีอยุธยาล่มสลาย เจ้าเมืองพิมายและกรมหมื่นเทพพิพิธได้ตั้งตัวเป็นชุมนุมอิสระที่สำคัญชุมนุมหนึ่งแต่ถูกปราบลงโดยพระเจ้าตาก หลังจากนั้นเมืองนครราชสีมาได้เป็นฐานกำลังทางทหารและการปกครองที่สำคัญของไทยมาโดยตลอด โดยในสมัยกรุงธนบุรีได้ถูกใช้เป็นฐานรวบรวมกำลังของ พระยาอภัยรณฤทธิ์ และ พระยาอนุชิตราชา ในการสงครามกับล้านช้างและกัมพูชา ในคราวสงครามตีเมืองเวียงจันทน์และได้พระแก้วมรกต หลวงยกกระบัตรเมืองพิมายอยู่ในทัพหน้า มีความดีความชอบจึงได้รับการแต่งตั้งเป็น พระยานครราชสีมา และ เจ้าพระยานครราชสีมา (ปิ่น) ในที่สุด ต่อมาพระยากำแหงสงคราม (บุญคง) ได้รับการแต่งตั้งให้เป็นเจ้าเมืองนครราชสีมา ในช่วงปลายรัชสมัยพระเจ้าตาก เมื่อเกิดการกบฏพระยาสรรค์ขึ้น พระสุริยอภัย กรรมการเมืองนครราชสีมา ได้นำกำลังทหารชาวนครราชสีมากลับเข้าควบคุมสถานการณ์ในกรุงธนบุรีไว้ได้ก่อนที่ เจ้าพระยาจักรี และ เจ้าพระยาสุรสีห์ จะยกทัพกลับมาจากกัมพูชาและเกิดการเปลี่ยนแผ่นดิน ในครั้งนั้น พระยากำแหงสงคราม (บุญคง) เจ้าเมืองนครราชสีมา ที่นำทัพไปกัมพูชาพร้อมกับ เจ้าฟ้ากรมขุนอินทรพิทักษ์ ถูกประหารชีวิตไปพร้อมกับเชื้อพระวงศ์ และขุนนางเดิมของพระเจ้าตาก จำนวนหนึ่ง และได้มีการเปลี่ยนตัวเจ้าเมืองนครราชสีมาเป็นพระยานครราชสีมา (เที่ยง) ผู้ซึ่งเป็นบุตรของเจ้าพระยานครราชสีมา (ปิ่น)สมัยรัตนโกสินทร์[แก้]
ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก เมืองนครราชสีมามีฐานะเป็นเมืองชั้นเอก กำกับตรวจตราเมืองประเทศราช ๓ เมือง คือ เวียงจันทน์ นครพนม จำปาศักดิ์ ให้รวมทั้งปกครองหัวเมืองเขมร พระยานครราชสีมา (เที่ยง) เป็นผู้สำเร็จราชการ และในรัชสมัยนี้ ชาวเมืองนครราชสีมาได้น้อมเกล้าถวายช้างเผือก 2 เชือกในสมัยรัชกาลที่ 2 เกิดกบฏ อ้ายสาเกียดโง้ง ที่จำปาศักดิ์ มีรับสั่งให้พระยานครราชสีมา (เที่ยง) นำกองทัพไปปราบ แต่ เจ้าอนุวงศ์ เจ้าประเทศราชเวียงจันทน์ส่งเจ้าราชวงศ์ไปปราบกบฏได้เสร็จสิ้นก่อน และเจ้าราชวงศ์ได้ครองเมืองจำปาศักดิ์ต่อมา ต่อมาทองอิน เชื้อสายของพระเจ้าตาก และบุตรบุญธรรมของเจ้าพระยานครราชสีมา (ปิ่น) ได้เป็นผู้สำเร็จราชการต่อจากพระยานครราชสีมา (เที่ยง)
ในสมัยรัชกาลที่ 3 เจ้าอนุวงศ์ ฉวยโอกาสที่เจ้าพระยานครราชสีมา (ทองอิน) นำกองทหารไปราชการต่างเมือง ยกทัพลาวมายึดครองเมืองนครราชสีมา และส่งกองทหารไปกวาดต้อนครอบครัวลาวถึงเขตเมืองสระบุรีก่อนที่จะถอยทัพเมื่อกองทัพสยามจากพระนครเริ่มรวมพลได้ทัน เมื่อวันที่ 23 มีนาคม พ.ศ. 2369 ก่อนกองทัพลาวจะถอยทัพออกจากเมืองนครราชสีมา ไปยังทางเหนือเพื่อสมทบกับกองทัพของเจ้าสุทธิสาร โดยก่อนไป ได้ถอนเสาหลักเมืองออกเพื่อให้เป็นเมืองร้าง และเจ้าอนุวงศ์ได้สั่งการให้ทหารกองหลังรื้อกำแพงเมืองออก เผาประตูเมือง และสถานที่สำคัญๆในเมืองให้หมดสิ้น ให้ตัดต้นไม้ที่ให้ผลให้เหลือแต่ตอ ด้วยที่จะได้กลับมายึดเมืองนครราชสีมาได้สะดวกในภายหลัง ทำให้ต้นไม้ผลถูกตัดหมดสิ้น กำแพงเมืองจากมุมทิศอิสานและกำแพงเมืองด้านทิศตะวันออกถูกรื้อออกหมด กำแพงเมืองทางทิศใต้ถูกรื้อมาถึงด้านหลังวัดสระแก้ว ส่วนกำแพงเมืองจากมุมทิศอิสานและกำแพงเมืองทางทิศเหนือถูกรื้อ กำแพงเมืองด้านทิศตะวันตกถูกรื้อออก 1 ส่วนเหลือ 2 ส่วน ประตูเมืองถูกเผาบางส่วน 3 ประตูคือ ประตูเมืองทางทิศตะวันเหนือ ทิศใต้ และทิศตะวันออก ชาวเมืองนครราชสีมาผู้เฒ่าผู้แก่ที่ไม่ได้ถูกกวาดต้อน ได้รับข่าวว่ากองทัพจากพระนครที่ส่งกำลังมาช่วยเหลือ กำลังจะเดินทัพมามาถึงทุ่งโพธิ์เตี้ยห่างจากเมืองนครราชสีมา 10 กม. ในอีกไม่นาน ทำให้กำลังทหารลาวกองหลังของเจ้าอนุวงศ์ที่กำลังทำรื้อกำแพง และเผาทำลายเมืองนครราชสีมาอยู่นั้น เกิดความหวาดกลัวและถอยทัพออกไป ทำให้เมืองนครราชสีมาถูกเผาทำลายลงไปเพียงบางส่วน ส่วนชาวเมืองนครราชสีมาที่ถูกกวาดต้อนไปนั้น ได้รวมตัวกันต่อต้านกองทัพลาวของเจ้าอนุวงศ์ โดยมีพระยาปลัดนครราชสีมา พระยายกกระบัตร และ พระณรงค์สงคราม (มี) เป็นผู้นำในการรบ ณ ทุ่งสัมฤทธิ และผู้นำในการสนับสนุนช่วยเหลือการรบ คือ คุณหญิงโม ภริยาปลัดเมืองนครราชสีมา และนางสาวบุญเหลือ บุตรบุญธรรมคุณหญิงโม ต่อมากองทัพชาวนครราชสีมาได้ร่วมกับกองทัพหลวงของกรมพระราชวังบวรฯ ในการรบครั้งต่อๆมาจนกระทั่งเข้ายึดเมืองเวียงจันทน์ได้ในที่สุด ภายหลัง คุณหญิงโมได้รับการแต่งตั้งเป็นท้าวสุรนารี และ พระณรงค์สงครามได้เลื่อนตำแหน่งเป็นพระยาณรงค์สงคราม
ในการสงครามเจ้าพระยานครราชสีมา (ทองอิน) และพระยาณรงค์สงคราม ได้เป็นทัพหน้าของกองทัพที่นำโดยเจ้าพระยาบดินทรเดชานำพลชาวนครราชสีมาทำการรบอย่างกล้าหาญในสงครามกับเวียดนาม และสามารถรุกไปถึงเขตแดนเมืองไซ่ง่อน ก่อนที่จะต้องถอยทัพเนื่องจากกองทัพไทยพ่ายแพ้ในแนวรบด้านอื่น ต่อมาพระยาณรงค์สงคราม ได้เป็นนายทัพสำคัญในกองทัพของเจ้าพระยาบดินทรเดชา จนสิ้นสุดสงคราม
เมื่อ เจ้าพระยานครราชสีมา (ทองอิน) ถึงแก่กรรม พระพรหมบริรักษ์ (เกษ) บุตรชายคนโตของเจ้าพระยาบดินทรเดชาได้รับการแต่งตั้งให้เป็น เจ้าเมืองนครราชสีมาคนต่อมา
เมื่อว่างเว้นจากสงคราม เมืองโคราชได้ฟื้นตัวขึ้นใหม่กลายเป็นชุมทาง การค้าที่สำคัญ ในการติดต่อระหว่างภาคตะวันออกเฉียงเหนือกับภาคกลาง มีกองเกวียน กองคาราวานการค้า ขนาดใหญ่ผ่าน และ หยุดพักอยู่เสมอ
ในสมัยรัชกาลที่ 4 บาทหลวงปาลเลกัวซ์ ได้เขียนว่า ตัวเมืองโคราชล้อมรอบด้วยกำแพงตั้งอยู่บนที่ราบสูง เดินทางจากบางกอกใช้เวลา 6 วันโดยไต่ระดับสูงขึ้นไปตามเส้นทาง ดงพญาไฟ ประชากรโคราชมีประมาณ 60,000 คน ครึ่งหนึ่งเป็นคนสยาม อีกครึ่งหนึ่งเป็นคนเขมร ในตัวเมืองมีประชากร 7,000 คน มีคนจีนประมาณ 700 คน มีเหมืองแร่ทองแดง มีโรงหีบอ้อย สินค้า คือ ข้าว งาช้าง หนังสัตว์ เขาสัตว์ ไม้เต็ง อบเชย
ในรัชกาลนี้ เจ้าพระยานครราชสีมา (เกษ) ได้เลื่อนเป็น เจ้าพระยามุขมนตรี (เกษ) และ เจ้าเมืองนครราชสีมาคนต่อมาคือ พระยานครราชสีมา (แก้ว) บุตรชายคนรองของเจ้าพระยาบดินทรเดชา หลังจากนั้น พระยานครราชสีมา (แก้ว) ได้เลื่อนเป็น เจ้าพระยายมราช (แก้ว) และ เจ้าเมืองคนต่อมาคือ พระยานครราชสีมา (เมฆ) บุตรชายคนโตของ เจ้าพระยานครราชสีมา (ทองอิน)
ในสมัยรัชกาลที่ 5 พระยานครราชสีมา (เมฆ) บุตรของ เจ้าพระยานครราชสีมา (ทองอิน) ได้เป็นแม่ทัพบกไปปราบจีนฮ่อที่เมืองหนองคาย ต่อมาเมื่อมีการจัดตั้งมณฑลนครราชสีมาเพื่อควบคุมดูแลหัวเมืองในบริเวณใกล้เคียง เป็นมณฑลแรกของประเทศ มีพระยานครราชสีมา (กาจ สิงหเสนี) บุตรเขยของพระยานครราชสีมา (เมฆ) เป็นผู้ว่าราชการคนแรก มีการจัดตั้งกองทหารประจำมณฑลตามหลักสากล มีการตั้งโรงเรียนนายร้อยตำรวจที่นครราชสีมา มีการสร้างทางรถไฟจากกรุงเทพฯ ผ่านอยุธยา สระบุรี ดงพญาไฟ ไปสู่นครราชสีมา จนเปิดการเดินรถไฟหลวง สายกรุงเทพ - นครราชสีมา ได้สำเร็จ การคมนาคมติดต่อสะดวกขึ้นเป็นอย่างมาก ในช่วงเดียวกันฝรั่งเศสได้เข้ามามีอำนาจเหนือคาบสมุทรอินโดจีน ทำให้สยามจำต้องเร่งการปรับปรุงพัฒนาราชอาณาจักรโดยเฉพาะในบริเวณภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
ในสมัยรัชกาลที่ 6 มีการจัดตั้งการขนส่งปรษณียภัณฑ์ทางอากาศ และ สายการบินระหว่าง กรุงเทพ - นครราชสีมา มีการขยายเส้นทางรถไฟสายอีสาน จนสามารถขยายเส้นทางการเดินรถไฟจาก นครราชสีมา ถึง ขอนแก่น และ นครราชสีมา ถึง อุบลราชธานี ได้สำเร็จในสมัยรัชกาลที่ 7
ยุคหลังเปลี่ยนแปลงการปกครอง[แก้]
ในช่วงหลังเปลี่ยนแปลงการปกครอง พระองค์เจ้าบวรเดช ได้รวบรวมกองกำลังทหารจากมณฑลนครราชสีมาเป็นหลัก ร่วมกับ พันเอกพระยาศรีสิทธิ์สงคราม เพื่อทำการต่อสู้กับคณะผู้เปลี่ยนแปลงการปกครอง คณะผู้ก่อการได้ยกกองกำลังเข้ามาล้อมกรุงเทพฯ แต่เมื่อการต่อสู้ยืดเยื้อในที่สุดก็ต้องถอยทัพและประสบความพ่ายแพ้เนื่องจากมีกำลังที่น้อยกว่า เหตุการณ์ครั้งนี้ทำให้ พันโทหลวงพิบูลสงครามผู้บัญชาการกองกำลังผสมฝ่ายรัฐบาล มีอำนาจในการควบคุมกำลังทหารมากขึ้นส่งผลให้ได้อำนาจทางการเมืองและจัดตั้งรัฐบาลทหารได้ในเวลาต่อมาในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง กองทหารในสังกัด มณฑลทหารบกที่ 3 นครราชสีมา ได้ทำการร่วมรบในกรณีพิพาทอินโดจีน กองทัพไทยสามารถยึดดินแดนกลับคืนมาบางส่วน เป็นการชั่วคราว หลังสงครามยุติสหรัฐอเมริกาได้ให้ความช่วยเหลือสร้างถนนมิตรภาพ จาก สระบุรี ถึง นครราชสีมา ซึ่งเป็นทางหลวงที่ได้มาตรฐานดีที่สุดของประเทศในขณะนั้น
ในช่วงสงครามเวียดนาม สหรัฐอเมริกาได้ขอใช้นครราชสีมาเป็นฐานบัญชาการการรบ มีการสร้างฐานบินโคราช และต่อมาไทยได้เปลี่ยนให้เป็น กองบิน 1 ซึ่งเป็นฐานกำลังรบทางอากาศหลักของกองทัพอากาศไทยในปัจจุบัน โดยมีมีเครื่องบิน F-16 ประจำการอยู่สองฝูงบิน
ในปี พ.ศ. 2523 มีความพยายามรัฐประหารโดยกลุ่มทหารของ พลเอกสัณห์ จิตรปฏิมา แต่ พลเอกเปรม ติณสูลานนท์นายกรัฐมนตรี ได้กราบบังคมทูลเชิญเสด็จพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและพระราชวงศ์ทรงแปรพระราชฐานไปประทับที่นครราชสีมา กองกำลังทหารจากกองทัพภาคที่ 2 นำโดยพลตรี อาทิตย์ กำลังเอกได้เป็นกองกำลังหลักในการปราบกบฏลงได้ในที่สุด หลังจากนั้น อดีตผู้บัญชาการกองทัพภาคที่ 2 หลายท่านได้ก้าวเข้าสู่ตำแหน่งผู้บัญชาการทหารบกในเวลาต่อมา
เนื่องจากความสำคัญทางยุทธศาสตร์ ปัจจุบัน นครราชสีมา จึงได้กลายเป็นเมืองศูนย์กลางการรบที่สำคัญรองจากกรุงเทพมหานคร เป็นประตูสู่อิสาน เป็นศูนย์กลางการคมนาคมของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ รวมทั้งเป็นที่ตั้งของกองฐานกำลังรบหลักของกองทัพบก และกองทัพอากาศในปัจจุบัน
ในปี พ.ศ. 2553 ได้เกิดอุทกภัยครั้งใหญ่ในจังหวัดนครราชสีมา เนื่องจากฝนช่วงปลายฤดูตกหนักในบริเวณต้นแม่น้ำมูล นับเป็นอุทกภัยครั้งร้ายแรงที่สุดในรอบ 50 ปี
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น