โครงการ อุตสาหกรรมสีเขียว นครปฐม เมืองใหม่
กระทรวงอุตสาหกรรมได้ส่งเสริมการพัฒนาอุตสาหกรรมของประเทศไทยให้เป็นไปในแนวทางอุตสาหกรรมสีเขียว (Green Industry) และอุตสาหกรรมเชิงนิเวศ
(Eco Industry) ซึ่งเน้นการพัฒนาพื้นที่เมืองตามศักยภาพด้านทรัพยากรและโครงสร้างด้านกายภาพ
เพิ่มผลผลิต สามารถแข่งขันได้ในเชิงธุรกิจการค้าลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม มีความปลอดภัยอาชีวอนามัยและความรับผิดชอบต่อสังคมควบคู่กันไปด้วยเป็นการพัฒนาที่สร้างความสมดุลทั้งทางด้านเศรษฐกิจสิ่งแวดล้อมและสังคมทาให้อุตสาหกรรมอยู่ร่วมกับชุมชนได้อย่างเป็นสุขและยั่งยืน
กรมโรงงานอุตสาหกรรม จึงมีภารกิจในการส่งเสริมและพัฒนาสถานประกอบการสู่อุตสาหกรรม
สีเขียว โดยจะต้องสร้างความตระหนักให้บุคลากรในทุกระดับมีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับการพัฒนาอย่างยั่งยืน
โดยการเผยแพร่องค์ความรู้ แนวคิด และประสบการณ์จากองค์กรที่ประสบความสำเร็จ เพื่อให้เป็นตัวอย่างและแนวทางในการปฏิบัติอย่างเป็นรูปธรรมแก่สถานประกอบการผ่านสื่อต่างๆ
รวมทั้งการสร้างและพัฒนาผู้เชี่ยวชาญ ผู้ประเมินและการให้บริการช่วยเหลือแก่สถานประกอบการ
เพื่อให้สามารถพัฒนาไปสู่การเป็นอุตสาหกรรมสีเขียว
คู่มือแนวทางการส่งเสริมและพัฒนาโรงงานอุตสาหกรรมสู่อุตสาหกรรมสีเขียวฉบับนี้
เป็นส่วนหนึ่งของการพัฒนากิจกรรมที่สนับสนุนยุทธศาสตร์การจัดการสิ่งแวดล้อมผ่านการรับรองอุตสาหกรรมสีเขียว
ซึ่งได้กำหนดแนวทางการปฏิบัติสาหรับผู้ประกอบการอุตสาหกรรมในการพัฒนาองค์กรสู่การเป็นอุตสาหกรรม
สีเขียวในระดับที่ 1-5 โดยมีแนวทางที่ส่งเสริมให้สถานประกอบการอุตสาหกรรมได้ยึดมั่นในการประกอบกิจการที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน
มุ่งเน้นการพัฒนาปรับปรุงกระบวนการผลิตอย่างต่อเนื่อง รับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม
ทั้งภายในและภายนอกองค์กรตลอดห่วงโซ่ อุปะทาน (Supply Chain) เพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน
คู่มือแนวทางการส่งเสริมและพัฒนาโรงงานอุตสาหกรรมสู่อุตสาหกรรมสีเขียวฉบับนี้
มีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมให้ผู้ประกอบการอุตสาหกรรมที่ต้องการพัฒนาเข้าสู่อุตสาหกรรมสีเขียวใช้เป็นแนวทางในการศึกษาและทาความเข้าใจเกี่ยวกับแนวทางการพัฒนาองค์กรเพื่อให้สอดคล้องกับเกณฑ์ข้อกำหนดกำหนดการรับรองอุตสาหกรรมสีเขียวในระดับที่ 1 ความมุ่งมั่นสีเขียว จนถึงระดับที่
5 เครือข่ายสีเขียว ได้อย่างมีประสิทธิผลและมีประสิทธิภาพ ตลอดจนได้รับการรับรองอุตสาหกรรมสีเขียวจากกระทรวงอุตสาหกรรมต่อไป
ข้อมูลจาก สานักเทคโนโลยีน้าและสิ่งแวดล้อมโรงงาน
กรมโรงงานอุตสาหกรรม
1. การประยุกต์ใช้แนวทางปฏิบัติเพื่อพัฒนาเข้าสู่อุตสาหกรรมสีเขียว
1
1.1 ขอบเขต
1
1.2 นิยามศัพท์
1
2. ความเป็นมาโครงการอุตสาหกรรมสีเขียว
6
2.1 ความเป็นมา
6
2.2 แนวคิดและกรอบการดาเนินการของอุตสาหกรรมสีเขียว
12
2.3 อุตสาหกรรมสีเขียวการตลาดแห่งอนาคต
(Green Ocean) 15
2.4 ประโยชน์ที่ได้รับและสิทธิประโยชน์
19
3. ข้อกำหนดของการเป็นอุตสาหกรรมสีเขียว
20
ระดับที่ 1 ความมุ่งมั่นสีเขียว (Green
Commitment) 20
ระดับที่ 2 กิจกรรมสีเขียว (Green
Activity) 21
ระดับที่ 3 ระบบสีเขียว (Green System) 21
ระดับที่ 4 วัฒนธรรมสีเขียว (Green
Culture) 25
ระดับที่ 5 เครือข่ายสีเขียว (Green Network)
26
4. แนวทางการปฏิบัติตามข้อกำหนดอุตสาหกรรมสีเขียว
27
5. ขั้นตอนการดาเนินการให้การรับรองอุตสาหกรรมสีเขียว
62
6. การบูรณาการโครงการต่างๆ
กับระดับของอุตสาหกรรมสีเขียว 64
7. หลักเกณฑ์และเงื่อนไขการรับรองอุตสาหกรรมสีเขียว
67
8. ภาคผนวก 73
ภาคผนวก 8.1 ตัวอย่างใบสมัครการรับรองอุตสาหกรรมสีเขียว
73
ภาคผนวก 8.2 ตัวอย่างใบรับรองอุตสาหกรรมสีเขียวทั้ง
5 ระดับ 75
ภาคผนวก 8.3 วิธีแสดงตราสัญลักษณ์การรับรองอุตสาหกรรมสีเขียว
81
ภาคผนวก 8.4 ตัวอย่างการใช้ตราสัญลักษณ์การรับรองอุตสาหกรรมสีเขียว
82
ภาคผนวก 8.5 แนวทางการพัฒนาภาคอุตสาหกรรมตามแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
84
ภาคผนวก 8.6 แนวทางเศรษฐกิจพอเพียงภาคอุตสาหกรรม
( ม.อก. 9999 เล่ม 1-2556) 89
ภาคผนวก 8.7 แบบประเมินอุตสาหกรรมสีเขียว ระดับที่
3-5 94
ภาคผนวก 8.8 แนวทางการตรวจประเมินอุตสาหกรรมสีเขียว
ระดับที่ 4-5 124
คณะกรรมการผู้จัดทา 138
บรรณานุกรม 139
1.1 ขอบเขต
คู่มืออุตสาหกรรมสีเขียวเล่มนี้ใช้เป็นแนวทางสาหรับผู้ประกอบการอุตสาหกรรม
ทุกขนาด ทุกประเภท ทุกพื้นที่ เพื่อการดาเนินการขอรับการรับรองอุตสาหกรรมสีเขียวจากกระทรวงอุตสาหกรรม
ซึ่งครอบคลุม นิยามศัพท์ หลักการ หลักเกณฑ์การรับรองอุตสาหกรรมสีเขียว แนวทางปฏิบัติเพื่อการพัฒนาสถานประกอบการสู่อุตสาหกรรม
สีเขียว นอกจากนี้ ได้อธิบายถึงขั้นตอนการให้การรับรองอุตสาหกรรมสีเขียวในแต่ละระดับของกระทรวงอุตสาหกรรม
1.2 นิยามศัพท์
การพัฒนาอย่างยั่งยืน
รูปแบบของการพัฒนาที่สนองความต้องการของคนในรุ่นปัจจุบัน โดยไม่ทาให้คนรุ่นต่อไปในอนาคต
ต้องประนีประนอม ยอมลดทอนความสามารถในการที่จะตอบสนองความต้องการของตนเอง
การปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง
การปรับปรุงที่เกิดขึ้นจากความพยายามอย่างต่อเนื่อง ค่อยเป็นค่อยไปในการปรับปรุงจากมาตรฐานเดิมที่มีอยู่ให้ดีขึ้น
รวมถึงการปรับปรุงการทางานประจาวันให้ดียิ่งขึ้น
กระบวนการ
กิจกรรมที่เชื่อมโยงกัน เพื่อจุดมุ่งหมายในการส่งมอบผลผลิตหรือบริการให้แก่ผู้รับบริการและผู้มีส่วนได้
ส่วนเสีย ทั้งภายในและภายนอกส่วนราชการ
ความมุ่งมั่นสีเขียว
การแสดงความมุ่งมั่นในรูปแบบของนโยบาย เป้าหมายและแผนงานที่จะลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม
และมีการสื่อสารภายในองค์กรให้ทราบโดยทั่วกัน
คณะกรรมการส่งเสริมและพัฒนาอุตสาหกรรมสีเขียว
คณะกรรมการที่ได้รับการแต่งตั้งจากปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม ให้ทาหน้าที่กาหนดกรอบแนวความคิด
แผนงาน แนวทางดาเนินการ และกรอบงบประมาณเพื่อการพัฒนาและดาเนินโครงการอุตสาหกรรมสีเขียว
บูรณาการโครงการและกิจกรรมต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาอุตสาหกรรมสีเขียวของหน่วยงานต่างๆ
ในสังกัดกระทรวงอุตสาหกรรม กำหนดหลักเกณฑ์และเงื่อนไขมาตรการและสิทธิประโยชน์ให้กับผู้ประกอบการที่เข้าร่วมโครงการกากับดูแลและติดตามประเมินผลการดาเนินโครงการ
แต่งตั้งคณะอนุกรรมการหรือคณะทางานเพื่อสนับสนุนการดาเนินการ และดาเนินการอื่นใดตามที่ได้รับมอบหมาย
2
คณะอนุกรรมการส่งเสริมและรับรองอุตสาหกรรมสีเขียว
คณะอนุกรรมการที่ได้รับการแต่งตั้งจากคณะกรรมการพัฒนาและดาเนินโครงการอุตสาหกรรมสีเขียว
ให้ทาหน้าที่พิจารณาจัดทาหลักเกณฑ์ และเงื่อนไขการประเมินระดับอุตสาหกรรมสีเขียว รวมทั้งคู่มือขั้นตอนการดาเนินงาน
และเอกสารต่างๆ ที่ใช้ในการดาเนินงาน คัดเลือก ตรวจประเมิน ตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขที่กำหนด
พิจารณาให้การรับรองตราสัญลักษณ์อุตสาหกรรมสีเขียว และดาเนินงานอื่นๆ ตามที่คณะกรรมการมอบหมาย
กำหนดมาตรการส่งเสริมอุตสาหกรรมสีเขียวและสิทธิประโยชน์ แนวทางการเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ให้สถานประกอบการและประชาชน
บูรณาการโครงการ/กิจกรรมทั้งภายในและภายนอก
เศรษฐกิจสีเขียว
ระบบเศรษฐกิจที่ทาให้คุณภาพชีวิตของประชาชนในปัจจุบันดีขึ้นและสามารถลดความไม่เสมอภาคได้ในระยะยาวด้วยในขณะที่ไม่ทาให้ประชาชนรุ่นหลังประสบกับความเสี่ยงในเรื่องของทรัพยากรธรรมชาติที่เสื่อมสภาพและปัญหาด้านนิเวศวิทยา
ปฏิบัติการสีเขียว
การดาเนินกิจกรรมตามนโยบาย เป้าหมายและแผนงานที่กำหนดเพื่อลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมอย่างเป็นรูปธรรมสำเร็จตามความมุ่งมั่นที่ตั้งไว้
ระบบสีเขียว
การบริหารจัดการสิ่งแวดล้อมอย่างเป็นระบบมีการติดตาม ประเมินผล และทบทวนเพื่อการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง
รวมถึงการได้รับรางวัลด้านสิ่งแวดล้อมที่เป็นที่ยอมรับ และการรับรองมาตรฐานด้านสิ่งแวดล้อมต่างๆ
วัฒนธรรมสีเขียว
การที่ทุกคนในองค์กรให้ความร่วมมือร่วมใจดาเนินงานอย่างเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม
ในทุกด้านของการประกอบกิจการจนกลายเป็นส่วนหนึ่งของวัฒนธรรมองค์กร
เครือข่ายสีเขียว
การแสดงถึงการขยายเครือข่ายตลอดโซ่อุปะทานสีเขียว โดยสนับสนุนให้คู่ค้าและพันธมิตรเข้าสู่กระบวนการรับรองอุตสาหกรรมสีเขียวด้วย
วัฒนธรรมองค์กรด้านสิ่งแวดล้อม
การสร้างให้บุคลากรภายในองค์กรเกิดความเชื่อ จิตสานึกด้านสิ่งแวดล้อม
และมีพฤติกรรมร่วมกัน สร้างค่านิยมการดาเนินการด้านสิ่งแวดล้อม และมีการเผยแพร่ทาความเข้าใจเกี่ยวกับค่านิยมให้แก่บุคลากรภายในองค์กรและผู้เกี่ยวข้อง
มีการกำหนดแนวทางสาหรับการปฏิบัติเพื่อให้เกิดพฤติกรรมการให้ความสำคัญและใส่ใจสิ่งแวดล้อมให้คงอยู่อย่างยั่งยืนจนกลายเป็นวัฒนธรรมองค์กร
มีการกำหนดวิธีการในการประเมินความคงอยู่ของวัฒนธรรมองค์กรด้านสิ่งแวดล้อม และนามาปรับปรุงพัฒนาอย่างต่อเนื่อง
3
จริยธรรมด้านสิ่งแวดล้อม
คุณลักษณะทางความประพฤติที่มนุษย์ควรยึดถือปฏิบัติต่อธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม
โดยคานึงถึง สัจธรรมว่าด้วยธรรมชาติได้แก่ การใช้ทรัพยากรอย่างมีเหตุผล ควบคู่ไปกับการพัฒนาอย่างยั่งยืน
โซ่อุปะทานชั้นที่
1
สถานประกอบการที่ผลิตวัตถุดิบป้อนให้กับผู้ขอรับการรับรองอุตสาหกรรมสีเขียวโดยตรง
และมีคุณสมบัติเป็นโรงงานจาพวกที่
1 หรือ 2 หรือ 3 ตามพระราชบัญญัติโรงงาน
พ.ศ. 2535 หรือสถานประกอบการภายใต้พระราชบัญญัติแร่
พ.ศ. 2510
โรงงาน
อาคาร สถานที่ หรือยานพาหนะที่ใช้เครื่องจักรมีกาลังรวมตั้งแต่ 5 แรงม้าหรือกาลังเทียบเท่าตั้งแต่
5 แรงม้าขึ้นไป หรือใช้คนงานตั้งแต่
7 คนขึ้นไปโดยใช้เครื่องจักรหรือไม่ก็ตามสาหรับทา ผลิต ประกอบ บรรจุ
ซ่อม ซ่อมบำรุง ทดสอบ ปรับปรุง แปรสภาพ ลาเลียง เก็บรักษา หรือทาลายสิ่งใดๆ ทั้งนี้
ตามประเภทหรือชนิดของโรงงานที่กำหนดในกฎกระทรวง
โรงงานจาพวกที่
1
โรงงานที่ใช้เครื่องจักรไม่เกิน
20 แรงม้า หรือคนงานไม่เกิน 20 คน เป็นโรงงานขนาดเล็กที่ไม่มีปัญหามลพิษ สามารถประกอบกิจการโรงงานโดยไม่ต้องขออนุญาต
ยกเว้นโรงงานขนาดเล็กบางประเภทที่มีปัญหามลพิษ (ตามประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม
พ.ศ. 2535)
โรงงานจาพวกที่
2
โรงงานที่ใช้เครื่องจักรไม่เกิน
50 แรงม้า และคนงานไม่เกิน 50 คน เป็นโรงงานขนาดกลาง ไม่มีปัญหามลพิษหรืออาจมีเล็กน้อย
แก้ไขปรับปรุงได้ไม่ยาก สามารถประกอบกิจการโรงงานโดยไม่ต้องขออนุญาต แต่ต้องแจ้งแก่ทางราชการทราบก่อนเดินเครื่องจักร
และเสียค่าธรรมเนียมรายปี (ตามประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม พ.ศ. 2535)
โรงงานจาพวกที่
3
โรงงานที่ใช้เครื่องจักรเกิน
50 แรงม้า และคนงานเกิน 50 คน อาจก่อให้เกิดปัญหามลพิษหรือเหตุเดือดร้อน รำคาญหรือเหตุอันตรายต้องควบคุมดูแลอย่างใกล้ชิด
ผู้ประกอบการต้องขออนุญาตก่อนจะตั้งโรงงาน (ตามประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม
พ.ศ. 2535)
ผู้ได้รับการรับรอง
สถานประกอบการที่ผ่านการตรวจสอบ/ตรวจประเมินว่าเป็นไปตามเกณฑ์กำหนดอุตสาหกรรมสีเขียวในระดับที่ยื่นขอรับการรับรอง
และได้รับการรับรองจากกระทรวงอุตสาหกรรม
ผู้ส่งมอบ
บุคคลหรือองค์กรที่ส่งปัจจัยนาเข้าให้หน่วยงานในการทางาน 4
ปัจจัยนำเข้า
ทรัพยากรที่ใช้ในกระบวนการ เช่น เงิน บุคลากร วัสดุอุปกรณ์ ข้อมูล
นโยบาย กฎหมาย และกฎระเบียบต่างๆ
ผลผลิต
สินค้าและบริการที่ตรงตามความต้องการของผู้รับบริการและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย
ผู้รับบริการ
ลูกค้าหรือผู้ที่มารับบริการจากส่วนราชการโดยตรง หรือผ่านช่องทางการสื่อสารต่างๆ
รวมทั้งผู้รับบริการที่เป็นส่วนราชการด้วย
ห่วงโซ่อุปะทาน
การจัดลาดับของกระบวนการทั้งหมดที่มีต่อการสร้างความพอใจให้กับลูกค้า
เริ่มต้นตั้งแต่กระบวนการจัดซื้อ
(Procurement) การผลิต (Manufacturing) การจัดเก็บ
(Storage) เทคโนโลยีสารสนเทศ (Information Technology) การจัดจาหน่วย (Distribution)
และการขนส่ง (Transportation) ซึ่งกระบวนการทั้งหมดนี้จะจัด ระบบให้ประสานกันอย่างคล่องตัว
ผู้รับเหมา
ผู้รับจ้างหลัก คือ ผู้รับจ้างที่ลงนามในเอกสารสัญญา ซึ่งยอมรับและตกลงที่จะดาเนินการให้ลุล่วงแล้วเสร็จด้วยดีเป็นไปตามวัตถุประสงค์ที่ระบุไว้ในเอกสารสัญญา
รวมทั้งต้องรับผิดชอบในผลของงานของผู้รับจ้างช่วงด้วย
ผู้รับเหมาช่วง
ผู้รับจ้างที่รับทางานให้ผู้รับจ้างหลักอีกทอดหนึ่ง ในการทางานใดๆ
การที่ผู้รับจ้างหลักจะจ้างผู้รับจ้างช่วงให้ทางานส่วนใดส่วนหนึ่งนั้น ต้องได้รับความเห็นชอบจากเจ้าของงาน
หรือผู้ว่าจ้างก่อนเสมอ รวมทั้งต้องรับผิดชอบในผลของงานของผู้รับจ้างช่วงด้วย
องค์กร
สถานประกอบการอุตสาหกรรมที่ขอรับการรับรองอุตสาหกรรมสีเขียวจากกระทรวงอุตสาหกรรม
อุตสาหกรรมสีเขียว
อุตสาหกรรมที่ยึดมั่นในการปรับปรุงกระบวนการผลิตและการบริหารจัดการสิ่งแวดล้อมอย่างต่อเนื่อง
เพื่อการประกอบกิจการ ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม พร้อมกับการยึดมั่นในการประกอบกิจการด้วยความรับผิดชอบต่อสังคมทั้งภายในและภายนอกองค์กรตลอดห่วงโซ่อุปะทาน
เพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน
ระบบ (System)
องค์ประกอบขององค์กรที่สัมพันธ์กันหรือมีปฏิสัมพันธ์ต่อกันของการกำหนดนโยบาย
วัตถุประสงค์ การวางแผน และกาหนดกระบวนการเพื่อให้บรรลุต่อนโยบายและวัตถุประสงค์ดังกล่าว
รวมถึงการประเมินสมรรถนะและการปรับปรุง 5
สภาพแวดล้อมภายนอก
สภาพแวดล้อมที่มาจาก กฎหมาย เทคโนโลยี สภาพการแข่งขัน การตลาด วัฒนธรรม
สังคม สิ่งแวดล้อม และเศรษฐกิจ ทั้งในระดับโลก ระดับชาติ ระดับภูมิภาค หรือระดับท้องถิ่น
สภาพแวดล้อมภายใน
สภาพแวดล้อมภายในองค์กรที่มาจากคุณค่า วัฒนธรรม ความรู้ความสามารถ
และสมรรถนะขององค์กร
ผู้บริหารสูงสุด
อาจเป็นผู้บริหารสูงสุดขององค์กร หรือ ผู้มีอำนาจสูงสุดของโรงงานหรือสถานประกอบการที่ขอการรับรอง
กฎหมาย
ข้อกำหนดด้านสิ่งแวดล้อมที่ซึ่งองค์กรต้องกระทาให้สอดคล้อง ได้แก่
ข้อกำหนดภาคบังคับและมาตรฐานอุตสาหกรรม
ข้อกำหนดอื่นๆ
ข้อกำหนดด้านสิ่งแวดล้อมที่องค์กรเลือกที่จะปฏิบัติให้สอดคล้อง ได้แก่
การเกี่ยวพันธ์สัญญาว่าจ้าง แนวปฏิบัติ และข้อตกลงกับกลุ่มชุมชนหรือองค์กรที่ไม่ใช่ภาครัฐ
ความเสี่ยงและโอกาส
ผลกระทบของความไม่แน่นอน ที่ทาให้เบี่ยงเบนไปจากสิ่งที่คาดหวังไว้ทั้งผลกระทบด้านลบ (ความเสี่ยง) และผลกระทบด้านบวก
(โอกาส)
ประเด็นด้านสิ่งแวดล้อม
(Environmental Aspect)
องค์ประกอบของกิจกรรมหรือผลิตภัณฑ์หรือบริการขององค์กร ที่สามารถมีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม
วัฏจักรชีวิต
(Life Cycle)
ขั้นตอนที่ต่อเนื่องและเชื่อมโยงกันของระบบผลิตภัณฑ์ (หรือบริการ) เริ่มจากการจัดซื้อวัตถุดิบหรือทรัพยากรธรรมชาติ
ไปจนถึงการกาจัดขั้นสุดท้าย
วิสาหกิจชุมชุน
(SMCE หรือ Small and Micro Community Enterprise)
กิจการของชุมชนเกี่ยวกับการผลิตสินค้า การให้บริการหรือการอื่นๆ ที่ดาเนินการโดยคณะบุคคลที่มีความ
ผูกผัน มีวิถีชีวิตร่วมกันและรวมตัวกันประกอบกิจการดังกล่าว ไม่ว่าจะเป็นนิติบุคคลในรูปแบบใดหรือไม่เป็นนิติบุคคล
เพื่อสร้างรายได้และเพื่อการพึ่งพาตัวเองของครอบครัว ชุมชนและระหว่างชุมชน
วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs หรือ Small and Medium Enterprises)
เป็นหน่วยธุรกิจที่มีขนาดใหญ่กว่าวิสาหกิจชุมชนและเป็นหน่วยธุรกิจส่วนใหญ่ของประเทศและมีความสำคัญไม่น้อยต่อกระบวนการพัฒนาประเทศ
6
ความเป็นมาโครงการอุตสาหกรรมสีเขียว
2.1 ความเป็นมา
ประเทศไทยมุ่งสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน (Sustainable Development) ตามที่ได้ให้สัตยาบันรับรองปฏิญญา
โจฮันเนสเบิร์กว่าด้วยการพัฒนาอันยั่งยืน (Johannesburg Declaration on
Sustainable Development – JDSD) เมื่อปี พ.ศ.
2545 และปฏิญญามะนิลาว่าด้วยอุตสาหกรรมสีเขียว (Manila
Declaration) เมื่อปี พ.ศ. 2552 รวมถึงได้รับรองความตกลงปารีส (Paris Agreement) ในการประชุม
COP 21 ณ กรุงปารีส สาธารณรัฐฝรั่งเศส เมื่อปี พ.ศ. 2558 ซึ่งเป็นตราสารกฎหมายที่รับรองภายใต้กรอบอนุสัญญา
UNFCCC ฉบับล่าสุด โดยมีข้อตกลงร่วมกันในการรักษาการเพิ่มขึ้นของอุณหภูมิเฉลี่ยโลก
ให้ต่ำกว่า 2 องศาเซลเซียส เมื่อเทียบกับระดับของอุณหภูมิเฉลี่ยก่อนยุคอุตสาหกรรม
และจะพยายามรักษาเป้าหมายการเพิ่มขึ้นของอุณหภูมิ ไม่ให้เกิน 1.5 องศาเซลเซียส เพื่อลดความเสี่ยงจากผลกระทบรุนแรงเนื่องจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ
กระทรวงอุตสาหกรรม ซึ่งเป็นหน่วยงานหลักในการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศไทยจึงได้กาหนดยุทธศาสตร์ในการพัฒนาอุตสาหกรรมเพื่อสิ่งแวดล้อมและสังคม
โดยดาเนินการในเชิงรุกมุ่งเน้นในการส่งเสริมและพัฒนาภาคอุตสาหกรรมให้เติบโตและพัฒนาอย่างยั่งยืน
การพัฒนาอุตสาหกรรมของประเทศไทยในอดีตมุ่งเน้นการสร้างความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ
โดยเฉพาะอย่างยิ่งการพัฒนากลุ่มอุตสาหกรรมการผลิตที่ใช้ทรัพยากรอย่างเต็มที่ อย่างไรก็ตาม
ตลอดระยะเวลาที่ผ่านมาสังคมไทยยังคงเผชิญกับปัญหาต่าง ๆ จากการพัฒนาอุตสาหกรรมอย่างต่อเนื่อง
เช่น ความเสื่อมโทรมของทรัพยากรธรรมชาติ ปัญหาสิ่งแวดล้อม ความเหลื่อมล้าทางสังคม ตลอดจนการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนยังมีข้อจากัด
ปัญหาเหล่านี้สะท้อนให้เห็นถึงการพัฒนาประเทศอย่างไม่สมดุลอาจกล่าวได้ว่า การมุ่งเน้นการเติบโตของภาคอุตสาหกรรมในเชิงเศรษฐกิจเพียงมิติเดียว
ไม่สามารถก่อให้เกิดการพัฒนาอย่างยั่งยืนได้ จึงจาเป็นที่จะต้องสร้างความสมดุลให้เกิดขึ้น
โดยเร่งพัฒนาและยกระดับการพัฒนาอุตสาหกรรมในมิติอื่นๆ อันประกอบไปด้วยอุตสาหกรรมในมิติเชิงอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม
อุตสาหกรรมในมิติเชิงพัฒนาสังคม และอุตสาหกรรมในมิติเชิงสร้างการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วน
และเนื่องจากการพัฒนาอุตสาหกรรมทั้ง
4 มิตินี้ มีความเกี่ยวข้อง เชื่อมโยง และเกื้อหนุนกัน ดังนั้นการพัฒนาอุตสาหกรรมจาเป็นต้อง
บูรณาการ ให้เกิดประโยชน์ต่ออุตสาหกรรมในภาพรวม ตลอดจนเชื่อมโยงเข้ากับการพัฒนาในมิติอื่นๆ
ของประเทศ อันจะนาไปสู่การพัฒนาอุตสาหกรรมของประเทศอย่างยั่งยืน
การวางกรอบแนวคิดในการกำหนดทิศทางการพัฒนาอุตสาหกรรมของประเทศในระยะยาว
นอกจากต้องพิจารณาบริบทของการเปลี่ยนแปลงจากปัจจัยภายนอก โดยเฉพาะอย่างยิ่งกระแสโลกาภิวัตน์ที่มีการเปลี่ยนแปลงในด้านต่าง
ๆ ทั้งภูมิเศรษฐศาสตร์ ภูมิรัฐศาสตร์ ภูมิประชากรศาสตร์ และการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศโลก
ที่จะส่งผลกระทบต่อการพัฒนาอุตสาหกรรมในองค์รวมแล้ว ยังต้องคำนึงถึงบริบทของการเปลี่ยนแปลงจากปัจจัยภายในที่ส่งผลกระทบต่อภาคอุตสาหกรรมของไทย
รวมทั้งข้อจากัดและเงื่อนไขในด้านอื่นๆ ของประเทศ ซึ่งเป็นปัจจัยหลักที่ 7
ทาให้ภาพโครงสร้างอุตสาหกรรมของประเทศไทยในอนาคตมีการเปลี่ยนแปลงไป
ดังนั้นประเทศไทยจะต้องมีการเตรียมพร้อมในการรองรับสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลง ซึ่งอาจส่งผลกระทบทั้งในเชิงบวกและเชิงลบต่อภาคอุตสาหกรรม
โดยบริบทของการเปลี่ยนแปลงจากปัจจัยต่างๆ ดังกล่าว ประกอบด้วยการเปลี่ยนแปลงจากปัจจัยภายนอกที่ส่งผลกระทบต่อภาคอุตสาหกรรมในอนาคตสามารถแบ่งออกเป็น
บริบทของการเปลี่ยนแปลงจากปัจจัยภายนอกบริบทของ
4 ด้าน ได้แก่
1) ภูมิเศรษฐศาสตร์ (Geo-Economics) เป็นผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงด้านเศรษฐกิจในภูมิภาคต่างๆ
ของโลก เช่น การรวมกลุ่มเศรษฐกิจในภูมิภาคอาเซียน
(ASEAN Economic Community) การย้ายศูนย์กลางการพัฒนาเศรษฐกิจโลกจากกลุ่มประเทศอุตสาหกรรมชั้นนา
7 ประเทศ (G7 - Canada, France, Germany, Italy, Japan,
United Kingdom, and United State) มาสู่กลุ่มประเทศกาลังพัฒนาที่มีการพัฒนาและเติบโตทางเศรษฐกิจอย่างรวดเร็ว
(BRICS - Brazil, Russia, India China and South Africa) การเพิ่มขึ้นของอัตราการว่างงานและการลดลงของกาลังซื้อในกลุ่มประเทศสหรัฐอเมริกา
และยุโรปรวมทั้งผลกระทบจากข้อตกลงระหว่างประเทศที่มีผลต่อการปรับเปลี่ยนนโยบายด้านเศรษฐกิจ
เช่น กรอบข้อตกลงทางการค้า
2) ภูมิรัฐศาสตร์ (Geo-Politics) เป็นผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงด้านการเมือง
การปกครองและการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนในภูมิภาคต่างๆ ของโลก เช่น ผลกระทบจากเสถียรภาพทางการเมือง
ผลกระทบของการก่อการร้ายข้ามชาติผลกระทบจากการเปลี่ยนขั้วอำนาจทางการเมืองจากซีกโลกตะวันตก (สหรัฐอเมริกาและยุโรป) มาสู่ภูมิภาคตะวันออก
(เอเชีย จีนและอินเดีย) รวมทั้งผลกระทบจากการเพิ่มบทบาทของกลุ่มที่ไม่แสวงหาผลกาไร
(NGO) และกลุ่มพลังประชาชน ซึ่งเข้ามามีส่วนร่วมและมีอำนาจในการเปลี่ยนแปลงบริบทของโลกด้านเศรษฐกิจ
การเมือง และการปกครองมากขึ้น
3) ภูมิประชากรศาสตร์ (Geo-Demographics) เป็นผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงจานวนและโครงสร้างประชากรโลกโดยประเด็นสำคัญคือ
การที่จานวนประชากรโลกเพิ่มสูงขึ้น แต่ประชากรในแต่ละช่วงอายุมีการเพิ่มขึ้นและลดลงอย่างไม่สมดุลกันโดยเฉพาะอย่างยิ่งสัดส่วนประชากรผู้สูงอายุที่เพิ่มมากขึ้น
ทาให้มีจานวนประชากรวัยทางานลดลง จึงต้องแบกรับภาระในการเลี้ยงดูผู้สูงวัยและประชากรวัยเด็กเพิ่มมากขึ้นซึ่งจะส่งผลกระทบถึงเศรษฐกิจและสังคมอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้
นอกจากนี้การเพิ่มของจานวนประชากรโลกยังส่งผลกระทบต่อเนื่องไปถึงปัญหาอื่นๆ เช่น การบุกรุกพื้นที่ป่าเพื่อสร้างที่อยู่อาศัยและประกอบอาชีพ
ความขัดแย้งในการใช้ทรัพยากรต่างๆ ความเสื่อมโทรมของทรัพยากรธรรมชาติ รวมทั้งปัญหามลพิษและของเสียที่เพิ่มขึ้น
เป็นต้น
4) การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (Climate
Change) เป็นผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงของสภาพแวดล้อม
โดยเฉพาะอย่างยิ่งภาวะวิกฤตเรื่องปริมาณมลภาวะและอุณหภูมิของบรรยากาศที่เพิ่มสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว
ส่งผลให้เกิดปัญหาต่างๆ ตามมา เช่น การขาดแคลนน้า การขาดแคลนพลังงาน การขาดแคลนอาหาร
และความเสี่ยงต่อโรคระบาดใหม่ๆ ที่เพิ่มขึ้น นอกจากนี้การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศยังส่งผลกระทบต่อการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของผู้บริโภคทาให้ลดการบริโภคสินค้าอุตสาหกรรมที่มีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมสูง
นอกจากนี้ข้อเรียกร้องขององค์กรสิทธิต่างๆ มีผลต่อการปรับเปลี่ยนนโยบายเพิ่มขึ้น 8
การเปลี่ยนแปลงของปัจจัยภายนอกทั้ง 4 ด้าน ดังกล่าวข้างต้นส่งผลให้เกิดพลวัตของโลกใหม่
กล่าวคือ เกิดการรวมตัวกันของตลาดที่มีการกระจายตัวในแต่ละพื้นที่มาเป็นตลาดกลาง มีการร่วมมือกันระหว่างนานาประเทศในด้านการผลิตและการบริการ
รวมถึงมีการแก้ไขปัญหาร่วมกัน เกิดการสร้างมาตรฐานของโลกซึ่งเป็นที่ยอมรับในวงกว้าง
และมีมาตรการป้องกันความเสี่ยงร่วมกัน พร้อมทั้งมีการรักษาสิ่งแวดล้อมของโลกร่วมกัน
ซึ่งจะส่งผลให้การพัฒนาอุตสาหกรรมต้องปรับเปลี่ยนรูปแบบไปตามบริบทใหม่ของโลก ดังนี้
(1) การผลิตที่คำนึงถึงสิ่งแวดล้อมและสังคม โดยการพัฒนากระบวนการผลิตจะคำนึงถึงสภาพแวดล้อมและความสะอาด (Environmental Friendly – Green and Clean) ซึ่งในปัจจุบันได้มีการคำนึงถึงประเด็นเหล่านี้อย่างกว้างขวาง
โดยเฉพาะอย่างยิ่งการสร้างสังคมและอุตสาหกรรมที่มีปริมาณการปล่อยคาร์บอนต่ำ
(Low Carbon Society) การสร้างสังคมที่มีความพร้อมในการรองรับการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ
(Climate Resilience Society) และอุตสาหกรรมที่ดูแลรักษาสิ่งแวดล้อม
(Green Growth Industry)
(2) การแข่งขันของอุตสาหกรรมที่มุ่งเน้นการสร้างความยอมรับในเรื่องมาตรฐาน
โดยยึดหลักความรับผิดชอบต่อสังคม(Adopt Global Standard/Business Ethic) ด้วยความแตกต่างทั้งในด้านสังคม
วัฒนธรรมสิ่งแวดล้อม รวมถึงความก้าวหน้าทางเศรษฐกิจ และการพัฒนาด้านเทคโนโลยีในนานาประเทศส่งผลให้แต่ละประเทศมีการกำหนดเงื่อนไขกฎระเบียบที่แตกต่างกันไปทั้งในการนาเข้าและส่งออกสินค้า
อย่างไรก็ตาม ภายใต้กระแสการเปลี่ยนแปลงในบริบทใหม่ ที่สินค้าและบริการสามารถเคลื่อนย้ายได้โดยอิสระ
และไม่จาเป็นต้องคำนึงถึงขอบเขตของประเทศ ส่งผลให้ความต้องการสินค้าและบริการต่างๆ
ในแต่ละประเทศมีความคล้ายคลึง
(3) การใช้เทคโนโลยีและภูมิปัญญาในการเพิ่มมูลค่าให้กับสินค้า
โดยเน้นการสร้างความสามารถของประเทศผู้ผลิตแต่ละประเทศ
โดยเฉพาะด้านการประยุกต์ใช้เทคโนโลยี และฐานความรู้
(Apply Technology/ Knowledge Based) ซึ่งเป็นพื้นฐานที่สำคัญในการพัฒนาต่อยอดอุตสาหกรรม
โดยอาศัยองค์ความรู้ที่มีอยู่เดิมใน แต่ละอุตสาหกรรมมาบูรณาการร่วมกับองค์ความรู้และเทคโนโลยีใหม่
ทาให้เกิดการพัฒนาศักยภาพอุตสาหกรรมอย่างยั่งยืน และรองรับความเปลี่ยนแปลงตามกระแสความต้องการในยุคโลกาภิวัตน์ต่อไป
(4) การสร้างเครือข่ายความร่วมมือ
(Collaborative Network/Cluster) ส่งเสริมให้เกิดความร่วมมือกันในการช่วยเหลือและพัฒนาอุตสาหกรรมในแต่ละส่วน
โดยการสร้างเครือข่ายความร่วมมือนี้จะเน้นการปรับปรุงกฎระเบียบต่างๆ ที่เป็นอุปสรรคในการพัฒนาอุตสาหกรรม
รวมทั้งการสร้างเครือข่ายความร่วมมือที่มีความเชี่ยวชาญพิเศษเฉพาะด้าน โดยการสร้างเครือข่ายดังกล่าวไม่เพียงแต่เป็นการผลักดันให้เกิดการพัฒนาประสิทธิภาพในการผลิตร่วมกันของเครือข่ายผู้ประกอบการเท่านั้น
แต่ยังเป็นการกระตุ้นให้เกิดการแข่งขันกัน เพื่อยกระดับศักยภาพของแต่ละสถานประกอบการให้ทัดเทียมกับสถานประกอบการอื่นๆ
ในเครือข่าย ซึ่งจะสามารถเชื่อมโยงเข้าสู่การแข่งขันในระดับนานาชาติต่อไป
(5) เชื่อมโยงการผลิตของเครือข่ายภายในกลุ่มอุตสาหกรรมและระหว่างอุตสาหกรรม
ให้มีการผนึกพลังในการผลิตโดยใช้ห่วงโซ่การผลิตเชื่อมโยงกันกับประเทศต่างๆ
ภายใต้รูปแบบการผลิตใหม่ (New Mode of Production Through Global
Value Chain) ตอบสนองต่อบทบาทของการเป็นส่วนหนึ่งของห่วงโซ่คุณค่าในภาพรวมของอุตสาหกรรมของโลก
(Global Value Chain) ภายใต้บริบทใหม่ในการเปลี่ยนแปลงของโลกจากรูปแบบ
9
การผลิตเดิมที่เน้นการสร้างห่วงโซ่อุปทานภายในประเทศ
ไปสู่รูปแบบการผลิตใหม่ที่เน้นการสร้างฐานการผลิตร่วมกันในระดับนานาชาติ ทั้งในด้านการผลิตสินค้าและบริการ
ซึ่งการผลิตแต่ละส่วนที่เกิดขึ้นในแต่ละประเทศนั้น จะสามารถสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับสินค้าและบริการต่างๆ
ได้บนพื้นฐานการบริหารจัดการเพื่อแสวงหาแหล่งวัตถุดิบหรือแหล่งผลิตซึ่งมีราคาต่ำและมีประสิทธิภาพสูงสุด
(6) การสร้างความสามารถหลักเฉพาะด้านที่มีความสามารถสูงสุด
(Focus on Specialized Core Competency) โดยการปรับเปลี่ยนจากการจ้างผลิตที่ขึ้นอยู่กับกาลังการผลิตของผู้ประกอบการแต่ละรายไปสู่การจ้างผลิตที่พิจารณาจากความเชี่ยวชาญของผู้ประกอบการเป็นสำคัญ
ดังนั้นความได้เปรียบในการแข่งขัน จึงขึ้นอยู่กับความสามารถในการปรับตัว (Economic for flexibility) และการกำหนดมาตรฐานการผลิตจะขึ้นอยู่กับมาตรฐานสากล
ทั้งนี้ เพื่อตอบสนองต่อกระแสการเปลี่ยนแปลงของโลกในการพัฒนากระบวนการผลิตให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
จึงต้องให้ความสำคัญเพิ่มเติมกับศักยภาพของผู้ประกอบการขนาดกลางและขนาดย่อม
(Small/Smart Enterprise) ซึ่งเป็นผู้ประกอบการกลุ่มใหญ่ ที่มีการกระจายตัวอยู่ในภูมิภาคต่างๆ
ทั่วประเทศ โดยการพัฒนาศักยภาพของผู้ประกอบการในกลุ่มนี้ จะเป็นการพัฒนารากฐานที่สำคัญของอุตสาหกรรม
ทั้งส่วนของวัตถุดิบการผลิต และการตลาด ให้สามารถก้าวไปสู่การแข่งขันในระดับนานาชาติได้อย่างเข้มแข็งและยั่งยืนต่อไป
(7) การให้ความสำคัญกับการบริหารจัดการ คำนึงถึงปัจจัยความเสี่ยงในด้านต่างๆ ภาวะความเสี่ยงและสภาวะความมั่นคงของโลกในรูปแบบใหม่ (Manage Through Global Risk) เพื่อรองรับต่อกระแสการเปลี่ยนแปลงของโลกโดยเฉพาะทางด้านความมั่นคง
และความเสี่ยงที่อาจจะเกิดขึ้นจากปัจจัยต่างๆ ที่ส่งผลกระทบไม่ว่าจะเป็นการโยกย้ายฐานการผลิต
ความก้าวหน้าของเทคโนโลยี รวมถึงการเปลี่ยนแปลงของสภาวะแวดล้อมโลก ซึ่งเป็นปัจจัยหลักสำคัญที่ส่งผลให้รูปแบบและโครงสร้างการผลิตต้องมีการปรับตัว
และมีการวางแผนเพื่อรับมือกับสถานการณ์ต่างๆ ที่เกิดขึ้นได้โดยไม่ส่งผลกระทบกับภาคอุตสาหกรรมมากนัก
(8) สร้างรูปแบบการเข้าถึงตลาดผ่านช่องทางใหม่ เพื่อการเข้าถึงกลุ่มเป้าหมาย (New Market Access) จากแนวโน้มการรวมประเทศต่างๆ
ของโลกในบริบทใหม่ที่จะเกิดขึ้นนั้น ส่งผลให้ประเทศต่างๆ มีการปรับเปลี่ยนโครงสร้างทั้งทางเศรษฐกิจและสังคมให้เหมาะสมกับกระแสการเปลี่ยนแปลงมากขึ้น
รวมถึงประเทศเกิดใหม่ที่มีแนวโน้มเพิ่มจานวนมากขึ้น จึงเป็นโอกาสอันดีในการสร้างตลาดใหม่
โดยการเข้าถึงตลาดเหล่านี้จาเป็นต้องอาศัยความรวดเร็ว ภาพลักษณ์ ในการสร้างตลาด รวมไปถึงช่องทางในการกระจายสินค้า
เพื่อการสร้างฐานการแข่งขันของอุตสาหกรรมให้มีความเติบโตมากยิ่งขึ้น
บริบทการเปลี่ยนแปลงปัจจัยภายในประเทศ
นอกเหนือจากบริบทของการเปลี่ยนแปลงจากปัจจัยภายนอกที่มีผลกระทบต่อภาคอุตสาหกรรมของไทยแล้ว
ยังมีบริบทและปัจจัยภายในที่ส่งผลต่อภาคอุตสาหกรรม ได้แก่
(1)
นโยบายรัฐบาล ตลอดจนแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ซึ่งปัจจุบันได้ให้ความสำคัญต่อเรื่องเศรษฐกิจเชิงสร้างสรรค์
(Innovative Economy) และการพัฒนาที่สมดุลและยั่งยืน
(Sustainable Development) เป็นต้น 10
(2) คุณภาพมาตรฐานของสินค้าอุตสาหกรรม รวมไปถึงระบบบริหารจัดการที่ได้มาตรฐาน
เพื่อเป็นการดูแลและคุ้มครองผู้บริโภค จากสินค้าหรือบริการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพของประชาชน
และสิ่งแวดล้อม
3)
กฎหมาย กฎระเบียบและข้อบังคับต่างๆ อาทิ รัฐธรรมนูญปี 50 ในมาตรา 57
และ 67
ว่าด้วยสิทธิในการรับรู้ข้อมูลและมีส่วนในการแสดงความคิดเห็นก่อนการดาเนินโครงการของภาครัฐและสิทธิในการมีส่วนร่วมบารุงรักษาและได้ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติ
ซึ่งการดาเนินโครงการที่มีผลกระทบต้องได้รับการรับฟังความคิดเห็นจากผู้มีส่วนได้ส่วนเสียเสียก่อน
หรือแนวทางปฏิบัติตามพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยหลักเกณฑ์ และวิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี
พ.ศ. 2546
(4)
ด้านสิ่งแวดล้อมและความปลอดภัยที่เชื่อมโยงกับการใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่า
ตลอดจนการดูแลและการบริหารจัดการกากของเสียที่เกิดจากภาคการผลิต เพื่อมิให้การดาเนินการใดๆ
ของภาคการผลิตสร้างความเดือดร้อนให้กับภาคส่วนอื่นๆ
(5)
เศรษฐกิจชุมชนที่เป็นเศรษฐกิจฐานรากที่ต้องส่งเสริมให้มีความแข็งแกร่ง
และเชื่อมโยงกับภาคการผลิต โดยต้นน้า คือ ภาคเกษตรและเศรษฐกิจชุมชน กลางน้าคือภาคการผลิต
และปลายน้าคือการบริการและการค้า เป็นต้น
(6)
ระบบโลจิสติกส์และห่วงโซ่อุปทาน ซึ่งส่วนนี้มีผลกระทบโดยตรงต่อต้นทุนการผลิต
และความสามารถในการแข่งขันของภาคอุตสาหกรรมไทย หากภาครัฐและภาคเอกชนให้ความสนใจร่วมกันปรับปรุงการบริหารจัดการโลจิสติกส์ทั้งระบบโลจิสติกส์ภายในโรงงาน
เช่น การบริหารจัดการกระบวนการผลิต และระบบโลจิสติกส์ภายนอกโรงงาน เช่น การจัดการขนส่งวัตถุดิบและสินค้า
การบริหารจัดการห่วงโซ่อุปทาน ให้มีประสิทธิภาพดีขึ้นเพื่อเป็นปัจจัยสนับสนุนให้ภาคอุตสาหกรรมไทยสามารถแข่งขันได้ในตลาดโลก
การเปลี่ยนแปลงภายใต้กระแสโลกาภิวัตน์ซึ่งเป็นการเปลี่ยนแปลงที่รวดเร็วและมีความซับซ้อนมากขึ้น
ก่อให้เกิดสภาวะการแข่งขันที่รุนแรงจากระบบการค้าและการลงทุนอย่างเสรี โดยเฉพาะจากประเทศที่พัฒนาแล้วส่งผลให้ประเทศที่กาลังพัฒนา
เช่น ประเทศไทย และกลุ่มประเทศในอาเซียน ต้องเผชิญกับการเปลี่ยนแปลงที่มีความท้าทายและอุปสรรคต่างๆ
ประกอบกับประเด็นด้านมาตรฐานและความปลอดภัยในระดับสากล เช่น การตระหนักถึงคุณภาพของทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมรวมถึงระบบการป้องกันและควบคุมมลภาวะทางสิ่งแวดล้อม
ที่เป็นปัจจัยเร่งให้ประเทศกาลังพัฒนาต้องให้ความสนใจในการปรับปรุงศักยภาพและคุณภาพของผลผลิตและสินค้าของประเทศ
นอกจากนี้การแข่งขันทางการค้าในตลาดโลกที่มีความหลากหลาย รวมถึงการพัฒนานวัตกรรมใหม่ๆ
ที่มีพลวัตการเปลี่ยนแปลงค่อนข้างสูงและรวดเร็ว ยังเป็นปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการแข่งขันทางด้านอุตสาหกรรมในทุกระดับ
ตลอดจนปัจจัยที่ส่งผลต่อระดับคุณภาพ หรือขีดความสามารถทางการแข่งขันของประเทศ ได้แก่
ระบบโครงสร้างสนับสนุนอุตสาหกรรมที่มีประสิทธิภาพ และแรงงาน อีกด้วย ดังนั้นจึงมีความจาเป็นอย่างมากที่จะต้องมีการปรับปรุงและพัฒนาภาพรวมของอุตสาหกรรมในทุกด้าน
ทั้งนโยบาย ยุทธศาสตร์ โครงสร้าง และระบบสนับสนุนด้านต่างๆ ที่เอื้อต่อการพัฒนาอุตสาหกรรมของประเทศอย่างยั่งยืน
11
จากบริบทของการเปลี่ยนแปลงทั้งจากปัจจัยภายนอกและปัจจัยภายในดังกล่าว
นาไปสู่การปรับปรุงนโยบายยุทธศาสตร์และกรอบทิศทางการพัฒนาอุตสาหกรรมที่ให้ความสำคัญกับการพัฒนาที่บูรณาการในทุกมิติ
ได้แก่ ความมั่นคงทางเศรษฐกิจ ความตระหนักในทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ความเท่าเทียมและเป็นธรรมในสังคม
และการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วน นอกจากนี้การพัฒนาอุตสาหกรรมในภาพรวมยังต้องให้ความสำคัญกับโครงสร้างพื้นฐานและโครงสร้างสนับสนุน
เพื่อให้เกิดฐานรากที่มั่นคงในการต่อยอดสาหรับการพัฒนาของอุตสาหกรรมรายย่อยได้บนบริบทของความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น
ไม่ว่าจะเป็นการยกระดับมาตรฐานการผลิตสินค้าให้มีคุณภาพตามความต้องการของลูกค้าในระดับสากล
การสร้างสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมในการดาเนินธุรกิจทั้งในเรื่องของแหล่งเงินทุน กฎระเบียบข้อบังคับในการผลิต
การนาเข้าและการส่งออก การส่งเสริมการใช้ทุนมนุษย์ผ่านการส่งเสริมการผลิตบนฐานนวัตกรรมและทรัพย์สินทางปัญญา
เป็นต้น
การริเริ่มของโครงการอุตสาหกรรมสีเขียวของกระทรวงอุตสาหกรรม
โครงการอุตสาหกรรมสีเขียว
(Green Industry) ของประเทศไทยเป็นการริเริ่มหลังการประชุม
Green Industry ขององค์การพัฒนาอุตสาหกรรมแห่งสหประชาชาติ
(United Nations Industrial Development Organization-UNIDO) ซึ่งเป็นองค์การที่จัดตั้งขึ้นตามมติของที่ประชุมสมัชชาสหประชาชาติ
เพื่อให้มีการนามาปฏิบัติในภาคอุตสาหกรรมเพื่อให้เป็นรูปธรรม กระทรวงอุตสาหกรรมจึงได้กำหนดแนวทางการดาเนินการ
2 ประเด็น ดังนี้
1)
กำหนดแนวทางและจัดทาอุตสาหกรรมสีเขียวให้เป็นรูปธรรมและสามารถดาเนินการได้อย่างเป็นขั้นตอนในแบบฉบับไทยๆ
ภายใต้ 2 แนวคิดหลัก คือ การปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง
(Continuous Improvement) และการพัฒนาอย่างยั่งยืน
(Sustainable Development)
2)
บูรณาการโครงการที่เกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมของทุกหน่วยงานภายในกระทรวงอุตสาหกรรมมารวมอยู่ภายใต้ร่มเงาใหญ่ของโครงการอุตสาหกรรมสีเขียว
การขับเคลื่อนอุตสาหกรรมสีเขียวของกระทรวงอุตสาหกรรมตั้งอยู่บนแนวคิดความสมัครใจของสถานประกอบการที่ต้องการดาเนินธุรกิจให้เป็นมิตรกับชุมชนและสิ่งแวดล้อมเพื่อมุ่งสู่การพัฒนาที่ยั่งยืนโดยดาเนินการอย่างเป็นระบบใน 5 ระดับ จากระดับที่ง่ายไปสู่ระดับที่ยาก ในอดีต
UNIDO ได้ริเริ่มนโยบายสนับสนุนการพัฒนาอุตสาหกรรมที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม
(Green Industry) ในปี พ.ศ. 2552 และได้เริ่มสร้างกรอบความร่วมมือระหว่างภาครัฐและเอกชน (Public
Private Partnership) ในปี พ.ศ. 2554 แต่แนวทางการส่งเสริมอุตสาหกรรมสีเขียวของ UNIDO ยังเป็นนามธรรมและขาดขั้นตอนการพัฒนาสู่การเป็นอุตสาหกรรมสีเขียว
ทาให้สถานประกอบการอุตสาหกรรมไม่ทราบว่าต้องเริ่มดาเนินการได้อย่างไร เพื่อให้แนวทางในการส่งเสริมและพัฒนาอุตสาหกรรมสีเขียวให้เป็นรูปธรรมสามารถนาไปปฏิบัติได้จริง
กระทรวงอุตสาหกรรมจึงได้นาหลักการบริหารจัดการคุณภาพทั่วทั้งองค์กร (Total
Quality Management - TQM) ผนวกกับหลักการสร้างความสมดุลระหว่าง เศรษฐกิจ
สังคม และสิ่งแวดล้อม (Triple Bottom Line) พัฒนาและปรับปรุงเป็นหลักการของ
“อุตสาหกรรมสีเขียว” บนพื้นฐานสำคัญของ
2 เสาหลัก คือ การปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง (Continuous
Improvement) และ การพัฒนาอย่างยั่งยืน (Sustainable
Development) ขององค์กร 12
ในปลายปี พ.ศ. 2553 กระทรวงอุตสาหกรรมจึงได้เริ่มดาเนินโครงการอุตสาหกรรมสีเขียวอย่างจริงจังขึ้นโดยดาเนินการทาข้อตกลงร่วม
(MOU) ระหว่างหน่วยงานต่างๆ ในสังกัดกระทรวงอุตสาหกรรม เพื่อร่วมกันส่งเสริมภาคอุตสาหกรรมในประเทศไทยให้มีการประกอบการที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมและสังคม
อันจะส่งผลให้ภาคอุตสาหกรรมมีภาพลักษณ์ที่ดี น่าเชื่อถือ ประชาชนไว้วางใจ และเป็นจุดเริ่มต้นในการพัฒนาภาคอุตสาหกรรมสู่การสร้างเศรษฐกิจสีเขียว
(Green Economy) ซึ่งจะทาให้ผลิตภัณฑ์มวลรวมสีเขียวของประเทศ
(Green GDP) มีมูลค่าสูงขึ้นด้วย และเพื่อเทิดพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวพระชนมพรรษาครบ
7 รอบ ในปี พ.ศ. 2554กระทรวงอุตสาหกรรมได้ผนึกกาลังกับทุกหน่วยงานของกระทรวงอุตสาหกรรมและสถาบันเครือข่าย
โดยเฉพาะสานักงานอุตสาหกรรมจังหวัดและนิคมอุตสาหกรรมทั่วประเทศ ส่งเสริมให้สถานประกอบการทั่วประเทศใส่ใจในการดาเนินธุรกิจที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม
และมีการพัฒนาอย่างต่อเนื่องสู่การเป็นอุตสาหกรรมสีเขียวใน 5 ระดับ ได้แก่
ระดับที่
1 ความมุ่งมั่นสีเขียว (Green Commitment) คือ การแสดงความมุ่งมั่นในรูปแบบของนโยบาย
เป้าหมายและแผนงานที่จะลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม และมีการสื่อสารภายในองค์กรให้ทราบโดยทั่วกัน
ระดับที่
2 ปฏิบัติการสีเขียว (Green Activity) คือ การดาเนินกิจกรรมตามนโยบาย เป้าหมายและแผนงานที่กำหนดเพื่อลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมอย่างเป็นรูปธรรมและสาเร็จตามความมุ่งมั่นที่ตั้งไว้
ระดับที่
3 ระบบสีเขียว (Green System) คือ การบริหารจัดการสิ่งแวดล้อมอย่างเป็นระบบ
มีการติดตาม ประเมินผลและทบทวนเพื่อการพัฒนาอย่างต่อเนื่องหรือการได้รับรางวัลด้านสิ่งแวดล้อมอันเป็นที่ยอมรับ
หรือได้รับการรับรองมาตรฐานที่เกี่ยวข้องกับการอนุรักษ์ทรัพยากรและสิ่งแวดล้อมต่างๆ
ระดับที่
4 วัฒนธรรมสีเขียว (Green Culture) คือ การที่ทุกคนในองค์กรมีจิตสานึกร่วมกันในการสงวนและรักษาไว้ซึ่งสิ่งแวดล้อมที่ดีและให้ความร่วมมือร่วมใจในทุกด้านของการประกอบกิจการให้เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมและดาเนินการต่างๆจนกลายเป็นส่วนหนึ่งของวัฒนธรรมองค์กร
ระดับที่
5 เครือข่ายสีเขียว (Green Network) คือ การขยายขอบเขตของการเป็นอุตสาหกรรมสีเขียวจากภายในองค์กรเองออกสู่ภายนอก
ตลอดโซ่อุปทาน (Supply Chain) โดยสนับสนุนให้คู่ค้าและพันธมิตรเป็นอุตสาหกรรมสีเขียวด้วย
2.2 แนวคิดและกรอบการดาเนินการของอุตสาหกรรมสีเขียว
การส่งเสริมและผลักดันให้ภาคการผลิตมุ่งสู่อุตสาหกรรมสีเขียว เพื่อการพัฒนาอย่างสมดุลและยั่งยืน
ถือเป็นหัวใจสำคัญของโครงการต่างๆ ของกระทรวงอุตสาหกรรม ที่ต้องการให้การเติบโตทางเศรษฐกิจของภาคธุรกิจอุตสาหกรรมมีความสอดคล้องกับศักยภาพ
และความเป็นไปได้ของระบบนิเวศ รวมทั้งความผาสุกของสังคม ตัวอย่างเช่น การอนุรักษ์พลังงานในกระบวนการผลิต
การใช้ทรัพยากรให้คุ้มค่าโดยใช้หลัก
3Rs และเทคโนโลยีการผลิตที่สะอาด (Clean Technology) การปรับปรุงผลิตภาพสีเขียว (Green Pro-ductivity) การออกแบบผลิตภัณฑ์รักษ์สิ่งแวดล้อม
(Eco Design) การให้การรับรองผลิตภัณฑ์ฉลากเขียว (Green
Label หรือ Eco-Label) การศึกษาและวิเคราะห์ข้อมูลวัฏจักรชีวิตผลิตภัณฑ์
(Life Cycle Analysis , LCA) การลดมลพิษ และการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก
เป็นต้น ซึ่งโครงการต่างๆ เหล่านี้เป็นเพียงส่วนหนึ่งของการดาเนินงานเชิงรุกด้านการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมของกระทรวงอุตสาหกรรมที่ผู้ประกอบการสามารถเข้าร่วมได้
เพื่อพัฒนาให้การประกอบกิจการเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมมากยิ่งขึ้น 13
“อุตสาหกรรมสีเขียว (Green
Industry) หมายถึงอุตสาหกรรมที่ยึดมั่นในการปรับปรุงกระบวนการผลิตและการบริหารจัดการสิ่งแวดล้อม
อย่างต่อเนื่อง เพื่อการประกอบกิจการที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม พร้อมกับยึดมั่นในการประกอบกิจการด้วยความรับผิดชอบต่อสังคมทั้งภายในและภายนอกองค์กรตลอดห่วงโซ่อุปทาน
เพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน”
สานักงานปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม
|
“อุตสาหกรรมสีเขียว ตั้งอยู่บน 2 เสาหลัก คือ
การปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง(Continuous Improvement) และการพัฒนาอย่างยั่งยืน (Sustainable Development)
|
กรณีศึกษาตัวอย่างสถานประกอบการที่ปรับปรุงพัฒนาจนสามารถอยู่ร่วมกับสังคมได้อย่างมีความสุข
เช่น โรงงานอุตสาหกรรมแห่งหนึ่งในจังหวัดทางภาคใต้ที่เคยได้รับการร้องเรียนจากประชาชนมาตลอด
เวลาผ่านไป 20 ปี ในวันนี้โรงงานแห่งนี้ได้รับรางวัลสิ่งแวดล้อมดีเด่นจากกระทรวงอุตสาหกรรม
ซึ่งทาให้เป็นที่แปลกใจว่าสามารถทาได้อย่างไรที่สามารถปรับปรุงแก้ไขจนสังคมและชุมชนยอมรับได้
ปัจจุบันโรงงานกลายเป็นส่วนหนึ่งของสังคมและมีกิจกรรมร่วมกันซึ่งกรณีโรงงานนี้สามารถนามาเป็นแบบอย่างการปฏิบัติได้
เพราะยังมีโรงงานอีกมากในประเทศไทยที่ไม่เห็นความสำคัญและไม่เข้าใจว่าการจัดการสิ่งแวดล้อมต้องดาเนินการอย่างไร
ส่วนใหญ่คิดว่าต้องลงทุนสูงไม่มีผลตอบแทนคืนให้กับองค์กร นอกจากนี้ ยังมีตัวอย่างที่นิคมอุตสาหกรรมไบเออร์
เมืองเลเวอร์คูเซ่น สหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมัน ซึ่งพบมีปล่องควันปล่อยควันขาวออกจากนิคมฯ
และรอบๆ ที่ตั้งโรงงานเป็นชุมชนที่มีผู้คนอาศัยอยู่อย่างหนาแน่นที่มีอพาร์ทเม้นท์สูงหลายสิบชั้น
แต่พบว่าโรงงานและชุมชนสามารถอยู่ร่วมกันได้ แบบ “We depend on each other”
คือ อยู่ด้วยการพึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกัน โดยคนอาศัยในชุมชนใกล้เคียงได้ไปทางานในโรงงานสิ่งสำคัญ
คือ เมือง ชุมชนและอุตสาหกรรม สามารถอยู่ด้วยกันอย่างผสมกลมกลืนคล้ายกับหลักอุตสาหกรรมเชิงนิเวศน์ที่การนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทยและกระทรวงอุตสาหกรรมกาลังพยายามผลักดันอยู่ในขณะนี้
ดังนั้นในการดาเนินโครงการอุตสาหกรรมสีเขียว อันดับแรกที่ต้องดาเนินการคือการสร้างการมีส่วนร่วมกับโครงการให้ได้จานวนมาก
และสองต้องให้โอกาสได้ปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง แต่มีปัญหาคือจะขายความคิดนี้ได้หรือไม่ว่าถ้าเป็นอุตสาหกรรมสีเขียวแล้วจะนาไปสู่ความยั่งยืน (Sustainable) ได้ ทั้งนี้คนทุกคนมักจะถูกตัดสินโดยบุคคลที่
3 เสมอ ยกตัวอย่างเช่น ไม่มีใครบังคับให้เราเรียนปริญญาโท แต่เพราะเห็นคนรอบข้างได้ปริญญาโทกันหมดก็เลยต้องเรียนบ้าง
เช่นเดียวกันกับอุตสาหกรรมสีเขียว ถ้าโรงงานอุตสาหกรรมรอบข้างได้รับกันหมด ก็เป็นตัวผลักดันให้ต้องทาโรงงานของตนให้เป็นอุตสาหกรรมสีเขียวบ้างเช่นกัน
ขั้นตอนของการเป็นอุตสาหกรรมสีเขียว เริ่มจากระดับที่ 1 ความมุ่งมั่นสีเขียวเป็นการเชิญชวนให้เข้ามาร่วมทาความดีโดยให้มีความตั้งมั่นที่จะเป็นอุตสาหกรรมสีเขียว
และระดับที่ 2 กิจกรรมสีเขียว โรงงานต้องเริ่มทาตามที่ได้สัญญาไว้
ระดับที่ 3 ระบบสีเขียว ต้องเริ่มออกแรงในการทาให้ได้มาตรฐานรองรับ
ส่วนระดับที่ 4 วัฒนธรรมสีเขียว ต้องทาให้เป็นวัฒนธรรมขององค์กร
โดยทาจนเป็นนิสัยติดตัว ซึ่งเมื่อทาทุกอย่างเป็นระบบระเบียบจนกลายเป็นนิสัยและเป็นวัฒนธรรม
คนรอบข้างอื่นๆ ในองค์กรที่ไม่เป็นระเบียบก็อยู่ร่วมกับเรายาก จนสุดท้ายก็ต้องปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของเขาให้เป็นระเบียบเหมือนเรา
ทั้งนี้วัฒนธรรมสีเขียวจะเป็นตัวช่วยให้กลืนสิ่งที่ไม่ดีในที่สุด แต่ทั้งนี้ต้องใช้
14
เวลาในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ส่วนระดับสุดท้ายเครือข่ายสีเขียวเนื่องจากด้วยว่าเราจะเป็นสีเขียวอยู่รายเดียวไม่ได้
รอบข้างเราก็ต้องเป็นสีเขียวด้วย
โครงการอุตสาหกรรมสีเขียวได้รับความสนใจและมีหน่วยงานที่เห็นคุณค่า
เช่น มีโรงงานสนใจขอเครื่องหมาย Green
Industry ไปติดข้างผลิตภัณฑ์ หรือหน่วยงานภาครัฐด้วยกันอย่างกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
ได้นาเรื่องอุตสาหกรรมสีเขียวของกระทรวงอุตสาหกรรมไปบรรจุอยู่ใน “แผนสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ พ.ศ. 2555-2559” เห็นว่าหลักการของอุตสาหกรรมสีเขียวมุ่งไปสู่การพัฒนาอย่างยั่งยืน โดยความยั่งยืนจะเกิดขึ้นไม่ได้ถ้าสังคมและชุมชนไม่ยอมรับ
และจะยั่งยืนอยู่ไม่ได้ถ้าไม่มีกาไรเช่นกัน โดยตัวชี้วัดทางธุรกิจแบบเดิมที่สาคัญมีอยู่
4 ตัว คือ ต้นทุน คุณภาพ การบริการ และความรวดเร็ว ซึ่งไม่มีธุรกิจไหนที่ไม่คิดเรื่องการลดต้นทุนและเพิ่มผลกาไร
แต่ทั้งนี้ธุรกิจจะไม่สามารถคงอยู่ได้อย่างยั่งยืนถ้าขาดตัวชี้วัดอีก 2 ตัวที่สำคัญ คือ นวัตกรรมการสร้างสรรค์ (Innovation and
Creativity) และความรับผิดชอบต่อสังคม (Corporate Social
Responsibility : CSR) เหตุผลที่นวัตกรรมสาคัญเพราะมีสินค้าใหม่ๆ เกิดขึ้นอยู่ตลอดเวลาซึ่งทาให้ต้องพยายามพัฒนาเพื่อให้แข่งขันได้
ส่วนสาเหตุที่ความรับผิดชอบต่อสังคมเป็นสิ่งจาเป็นกับการทาธุรกิจสมัยนี้เพราะถ้าไม่ได้รับการยอมรับจากสังคม
ธุรกิจก็ไม่สามารถยั่งยืนอยู่ได้
กระทรวงอุตสาหกรรมมีงานหลักๆ ใน
2 ส่วน คือ การกากับดูแล และการส่งเสริมพัฒนา ซึ่งต้องอาศัยทุกคนร่วมกันคิดทาอย่างไรให้อุตสาหกรรมสีเขียวไปสู่การพัฒนาอย่างยั่งยืน
ทิศทางและแนวทางในการขับเคลื่อนอุตสาหกรรมสีเขียว สอดคล้องกับนโยบายของรัฐบาล ให้อุตสาหกรรมเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม
มีความรับผิดชอบต่อสังคม อยู่ร่วมกับชุมชนได้อย่างราบรื่นและยั่งยืน ทั้งนี้กระทรวงอุตสาหกรรมในฐานะที่เป็นผู้กากับดูแลโรงงานอุตสาหกรรม
ถ้าสามารถทาให้โรงงานต่างๆดาเนินการภายใต้หลักการเหล่านี้ได้ ก็จะลดปัญหาประชาชนต่อต้านโรงงานอุตสาหกรรม
ทาให้กระทรวงฯ สามารถใช้เวลาในการทางานอื่นๆ ได้ เช่น ส่งเสริมให้เกิดการเติบโตของภาคอุตสาหกรรม
ฯลฯ แต่ถ้าหากผลักดันอุตสาหกรรมสีเขียวไม่ได้ หรือทาได้ไม่ดี ก็จะส่งผลให้กระทรวงฯ
ทางานได้ลาบาก ทาอย่างไรให้อุตสาหกรรมเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม มีความรับผิดชอบต่อสังคม
และอยู่ร่วมกับสังคมและชุมชนได้ ซึ่งเหล่านี้เป็นพื้นฐานของการเป็นอุตสาหกรรมสีเขียว
1) อุตสาหกรรมที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ทาได้โดยการปรับปรุงเทคโนโลยี ประยุกต์ใช้เทคโนโลยี 3Rs ประหยัดทรัพยากรและใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่า
(Resource Efficiency) โดยอุตสาหกรรมในอนาคตต้องเป็นอุตสาหกรรมที่นาไปสู่สังคมคาร์บอนต่า
ซึ่งอาจต้องตั้งอยู่ในพื้นที่อุตสาหกรรมเชิงนิเวศ (Eco-Industry) โดยอุตสาหกรรมที่เป็นเอกเทศหรือที่อยู่เดี่ยว ๆ อาจจะเกิดขึ้นยาก ทั้งนี้กระทรวงอุตสาหกรรมต้องพัฒนาพื้นที่อุตสาหกรรมหรือนิคมอุตสาหกรรมเชิงนิเวศขึ้นมารองรับ
2) มีความรับผิดชอบต่อสังคม หลายหน่วยงานในกระทรวงอุตสาหกรรม มีโครงการด้านนี้
เช่น โครงการ CSR-DIW ของกรมโรงงานอุตสาหกรรม,
โครงการ CSR-DPIM และโครงการเหมืองแร่สีเขียวของกรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่
ฯลฯ ภายใต้หลักความคิดที่ว่าอุตสาหกรรมต้องมีจิตสานึก ประชาชนต้องมีความเข้าใจซึ่งจะมาเชื่อมโยงกับเรื่องการอยู่ร่วมกับชุมชนได้
15
3) อยู่ร่วมกับชุมชนได้ อุตสาหกรรมต้องรักชุมชนและพื้นที่ที่อยู่ประชาชนถึงจะรักอุตสาหกรรม
โดยต้องเปิดโอกาสให้ประชาชนเข้าถึงและต้องสื่อสารกันให้เข้าใจ ดังเช่น โครงการต่างๆของกระทรวงอุตสาหกรรมที่พยายามสร้างให้เกิดระบบธรรมาภิบาล
ให้อุตสาหกรรมและชุมชนเข้าถึงข้อมูล มีความรักความเข้าใจที่ดีต่อกัน เพื่อให้ประชาชนไว้วางใจอุตสาหกรรม
ทั้งนี้ในการพัฒนาอุตสาหกรรมสีเขียวต้องอาศัยกลไกทั้ง 3 ส่วน คือ ภาครัฐ ภาคอุตสาหกรรม และภาคประชาชน
3.1) กลไกภาครัฐ
หน่วยงานภาครัฐซึ่งเป็นผู้ออกนโยบาย โดยมีเครื่องมือที่สำคัญ คือ
กฎหมายสาหรับบังคับใช้เพื่อให้โรงงานหรือภาคอุตสาหกรรมปฏิบัติตาม ทั้งนี้การบังคับใช้กฎหมายต่างๆ
เช่น การขออนุญาตตั้งโรงงาน สิทธิ์ในการสั่งแก้ไขเมื่อตรวจสอบพบว่าโรงงานดาเนินการใดไม่ถูกต้อง
การดาเนินการทางกฎหมายกรณีโรงงานไม่มีใบอนุญาตฯลฯ อาจไม่สามารถควบคุมดูแลได้อย่างทั่วถึงหรือยังมีจุดอ่อน
การบังคับใช้กฎหมายอย่างเดียวจึงไม่มีประสิทธิผลเท่าที่ควร เมื่อออกกฎหมาย/พระราชบัญญัติเรื่องใดมาแล้วก็ต้องทาความเข้าใจกับผู้ประกอบการรวมถึงชุมชนให้มีความรู้ความเข้าใจ
นอกจากนี้ควรต้องมีการสร้างฐานข้อมูลที่ทันสมัย เพื่อจะได้ทราบว่าโรงงานอะไร อยู่ที่ไหน
ยังดาเนินการอยู่หรือไม่ ปัญหาเป็นอย่างไร เพื่อประโยชน์ในการควบคุมดูแลและพัฒนาส่งเสริมโรงงานได้อย่างเหมาะสมกับประเภทหรือชนิดของโรงงานนั้นๆ
นอกจากนั้นก็ยังมีนโยบายการพัฒนาเชิงพื้นที่ การสร้างนิคมอุตสาหกรรมใหม่ๆเพิ่มขึ้นการพัฒนาพื้นที่อุตสาหกรรมเชิงนิเวศเพราะต่อไปนี้ถ้าเป็นนิคมที่ไม่มีการจัดการระบบเชิงนิเวศที่ดีก็จะถูกต่อต้าน
3.2) กลไกภาคอุตสาหกรรม
โรงงานอุตสาหกรรมซึ่งเป็นผู้ที่ต้องดาเนินการตามนโยบาย โดยที่กระทรวงอุตสาหกรรมมีนโยบายในการพัฒนาอุตสาหกรรมให้เป็นอุตสาหกรรมสีเขียวและเปิดโอกาสให้โรงงานอุตสาหกรรมทุกโรงงานสมัครเข้าร่วม
ซึ่งโรงงานต้องมีการสร้างจิตสานึกในเรื่องสิ่งแวดล้อมและสังคมชุมชน มีการยกระดับมาตรฐานสถานประกอบการ
และการปรับใช้เทคโนโลยี
3.3) กลไกภาคประชาชน
สิ่งสาคัญที่สุดคือต้องการให้ประชาชนมีความรู้ ความเข้าใจ มีจิตสานึก
และมีทัศนคติที่ดีต่อระบบอุตสาหกรรม รวมถึงต้องมีการปรับพฤติกรรม เช่น การสนับสนุนอุตสาหกรรมที่ผลิตสินค้าที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม
การซื้อสินค้าฉลากเขียว เป็นต้น
2.3 อุตสาหกรรมสีเขียวการตลาดแห่งอนาคต
(Green Ocean)
หลักการของ Green
ocean เน้นในการสร้างความต้องการหรืออุปสงค์ขึ้นมาใหม่
(Demand creation) โดยไม่สนใจและให้ความสาคัญกับคู่แข่งเดิมๆ ที่อยู่ในอุตสาหกรรม
เป็นการสร้างความต้องการของลูกค้าและอุตสาหกรรมใหม่ขึ้นมา ก่อให้เกิดประโยชน์หรือคุณค่าทั้งต่อองค์กรเองและลูกค้า
โดยลูกค้าจะได้รับคุณค่าที่แตกต่างจากสินค้าอื่นๆ ในตลาด ในขณะที่องค์กรจะลดต้นทุนในส่วนที่ไม่จาเป็นและนาไปสู่การเติบโตขององค์กร
การตลาดแห่งอนาคต คือ ความสามารถในการบริหารจัดการและการวิเคราะห์ข้อมูลที่จะช่วยให้เข้าถึงผู้บริโภค
คู่แข่ง และเข้าใจสถานการณ์ความเปลี่ยนแปลงทางสังคม เศรษฐกิจและสิ่งแวดล้อมที่อาจมีผลต่อการประกอบกิจการ
ทาให้สามารถนาข้อมูลมาใช้ 16
ในการวางแผนกลยุทธ์ได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น
แนวความคิดเกี่ยวกับกลยุทธ์ Green
ocean จุดให้ประเทศเกิดกระแสการตื่นตัวในเรื่องของการสร้างความต้องการสินค้าในตลาดที่ไร้การแข่งขัน
คือ ทาอย่างไรให้สินค้าเป็นที่ต้องการของผู้บริโภคโดยใช้แนวทางในการสร้างมูลค่าเพิ่มจากนวัตกรรมในแบบใหม่ๆ
ควบคู่กับการลดต้นทุนการผลิตในสิ่งที่ไม่ก่อให้เกิดคุณค่าต่อองค์กรและลูกค้า หรืออีกนัยเรื่องที่เราแสวงหาวิธีการที่ทาอย่างไรให้สินค้าเราขายได้
ภายใต้โลกที่ไร้พรมแดน และมีนวัตกรรมใหม่ๆ และลดต้นทุนให้ได้
อย่างไรก็ตาม เมื่อสภาพแวดล้อมทางธรรมชาติมีแนวโน้มเปลี่ยนไปในทางที่ก่อให้เกิดความเสี่ยงต่อสุขภาพพลานามัย
และความปลอดภัยของประชากรโลก ทาให้หลายประเทศร่วมกันหารือถึงแนวทางในการแก้ไขป้องกันความเสียหายที่เกิดจากการทาลายสิ่งแวดล้อม
ซึ่งจะเห็นได้จากการออกกฎบัตรเกียวโตว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก
โดยตั้งเป้าร่วมกันว่าจะลดลงร้อยละ
5.2 ภายในปี พ.ศ. 2555 รวมทั้งการออกมาตรฐานสากลที่เกี่ยวกับการจัดการสิ่งแวดล้อม
ISO 14000 มาตรฐานความรับผิดชอบต่อสังคม ISO 26000 หรือ มาตรฐานการจัดการพลังงาน ISO 50001 ทาให้วิธีคิดของนักธุรกิจเปลี่ยนไป
กลยุทธ์ต่างๆ ก็ต้องเปลี่ยนไปด้วยจากจุดเริ่มต้นดังกล่าว ทาให้เศรษฐกิจและสังคมของโลกได้เปลี่ยนไปสู่การพัฒนาที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมมากขึ้น
เพื่อเป็นการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติให้คนรุ่นหลังๆ
การพัฒนาอย่างยั่งยืน
(Sustainable Development) ไปกับสามส่วนคือ เศรษฐกิจ สังคม สิ่งแวดล้อม
ไปพร้อมกันเพื่อสอดรับกับการพัฒนาอย่างยั่งยืนในโลก ไม่ว่าจะเป็นมาตรฐานเรื่อง
SA 8000 (Social Accountability) คำนึงถึงความเป็นอยู่และคุณภาพชีวิตของผู้ประกอบการ
แรงงาน มาตรฐาน ISO 26000 เพื่อจะต้องมีความรับผิดชอบต่อสังคม
ไม่ว่าจะเป็นมาตรฐาน ISO 14000 เรื่องสิ่งแวดล้อม และมาตรฐาน
ISO 50001 เรื่องประหยัดพลังงานเพื่อช่วยให้กิจการสามารถลดต้นทุนอย่างได้ผลเพราะฉะนั้นต้นทุนคุณภาพสิ่งแวดล้อมต้องไปด้วยกันหมด
เมื่อไม่นานองค์กร UNIDO ของสหประชาชาติได้มีนโยบายประกาศออกมาว่า
ต่อจากนี้การพัฒนาต้องอยู่บนพื้นฐานของการเติบโตอย่างยั่งยืน (Inclusive
Growth) คือ ภาคเอกชนและภาคราชการจะต้องเติบโตไปอย่างมีความรู้สึกรับผิดชอบที่ต้องมีการแบ่งปัน
เพื่อลดความเหลื่อมล้าของภาคส่วนต่างๆ Inclusive Growth คือ การพัฒนาการเติบโตโดยที่ไม่ได้โตคนเดียวหรือเก็บทรัพยากรต่างๆ
ไว้ใช้เพียงคนเดียว พนักงานหรือคนงาน ชุมชน และสังคมก็ได้รับประโยชน์ร่วมกัน เป็นการเติบโตขึ้นมาโดยที่ภาคส่วนอื่นๆได้รับประโยชน์
มีการแบ่งปันจากทรัพยากรที่มีอยู่อย่างจากัดที่ทุกคนมีความเป็นเจ้าของร่วมกัน จากผลการวิจัยของอเมริกาบอกว่าในอีก
40 ปีข้างหน้า ถ้าผลิตภัณฑ์ใดที่ออกมาแล้วไม่รับผิดชอบต่อสังคมหรือ วงจรชีวิตของผลิตภัณฑ์ไม่คานึงถึงผลต่อสิ่งแวดล้อม
ของเหล่านี้จะหายไปจากโลก นี่คือกระแสและแนวโน้มของโลก ทุกคนจะยอมจ่ายเงินมากขึ้นโดยคานึงถึงสิ่งแวดล้อมมากขึ้น
ทุกคนมีจิตสานึกกับสิ่งแวดล้อมตัวอย่างที่ชัดเจนผู้ประกอบการต้องลงทุนไปเกือบ
2 ล้านบาท เพื่อปรับปรุงสภาพสิ่งแวดล้อม ติดตั้งระบบดับเพลิงทั้งหมด
ระดับที่ 4 ของสิ่งแวดล้อมของกรีน อุตสาหกรรมสีเขียวเป็นจุดหนึ่งที่แทรกเข้ามากับกระแสโลกนี้ทั้งใบไม่ใช่ของเราอย่างเดียว
แต่มาจากพัฒนาการทางความคิดของโลกใบนี้ทั้งใบจนมาถึงของเรา กระทรวงอุตสาหกรรม บอกว่าอีก
20 ปี ข้างหน้า โรงงานแบบไหนจะอยู่รอดต่อไปอีกในสิบปีข้างหน้า การตลาดแห่งอนาคตเป็นการตลาดที่ปราศจากสีเขียวไม่ได้
เป็นการตลาดที่ปราศจากความรับผิดชอบต่อสังคมไม่ได้ต้องเป็นการตลาดที่เปี่ยมล้นด้วยคุณธรรมและความรับผิดชอบต่อสังคมเรื่องการตลาด
Green Ocean ไม่พูดถึงคุณภาพ ไม่พูดถึงสีเขียวไม่ได้อีกต่อไป 17
ประเทศไทยเรามีเศรษฐกิจพอเพียงของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
เป็นสิ่งที่ทาให้ธุรกิจของเราเกิดขึ้น คงอยู่ และยั่งยืนในเรื่องของเศรษฐกิจพอเพียง
สาหรับภาคอุตสาหกรรม มอก.9999 อีก 20 ปี ข้างหน้าของอุตสาหกรรมไทยเราเดินตามกรอบของยุทธศาสตร์ของประเทศ คือเติบโตและแข่งขันได้
ภายใต้ Green Growth เติบโตแบบเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม และเติบโตแบบแบ่งปัน
เป็นการเติบโตแบบลดความเหลื่อมล้าในการเติบโตสามลักษณะนี้ เชื่อมโยงด้วยกระบวนการกลไกของภาครัฐ
กลไกบริหารจัดการของภาคเอกชนเพื่อทาให้ 3 สิ่ง ได้แก่ การเติบโตแบบแข่งขันได้
เติบโตแบบสีเขียว และเติบโตแบบแบ่งปัน โดยมีกระบวนการภายในโครงสร้างยึดโยงตั้งแต่ปี
2555 เป็นการเติบโตระยะกลาง ระยะสั้น ระยะยาว ทุกอย่างเริ่มจากปีฐาน
คือ ปี 2555 นับเป็นปีที่ 1 นับไปอีก
5 ปี ถึงปี 2559 คือการใช้ความรู้ความสามารถเป็นการสร้างอนาคตอุตสาหกรรมไทยโดยเฉพาะอุตสาหกรรมที่ใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่นอุตสาหกรรมไหนใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่นต้องรีบพัฒนากระบวนการองค์ความรู้ที่เป็นของเรา
อุตสาหกรรมท่องเที่ยวอุตสาหกรรมหลายๆ อย่างที่เป็นของเรา โดยใช้ฐานความรู้เป็นตัวตั้งแล้วสร้างองค์ประกอบขึ้นมา
เช่น เครื่องหอมต่างๆ ผ้าแพรวาที่เป็นภูมิปัญญาท้องถิ่น เช่น ของดีแต่ละจังหวัด การนาองค์ความรู้ไปใช้ในการทาอุตสาหกรรมแปรรูปสินค้าการเกษตร
สร้างครัวไทยสู่ครัวโลก การนาเอา Innovation เข้ามา การเอาภูมิปัญญา
ท้องถิ่นไปสู่สากล โดยอาศัยความรู้ความสามารถด้วยนวัตกรรม
การมุ่งสู่อุตสาหกรรมสีเขียวให้ทั่วโลกยอมรับ
วันนี้อุตสาหกรรมสีเขียวตั้งอยู่บนสองเสาหลัก ต้องมีการปรับปรุงเปลี่ยนแปลงอย่างต่อเนื่องในกระบวนการผลิตเพื่อให้การผลิตของเราเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม
ต้องมีวิญญาณของการปรับปรุงอย่างต่อเนื่องเพื่อให้การประกอบกิจการของเราเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม
สองการประกอบกิจการมีวิญญาณความรับผิดชอบต่อสังคม เพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน ข้อหนึ่งปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง
ข้อสองรับผิดชอบต่อสังคมเพื่อให้เกิดการพัฒนาอย่างยั่งยืน ข้อหนึ่งสำคัญที่สุดคือการปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง
การพัฒนาอุตสาหกรรมมี 5 ระดับ คือ 1. ความมุ่งมั่นสีเขียว 2. การปฏิบัติการ สีเขียว
3. ระบบสีเขียว 4. วัฒนธรรมสีเขียว 5. เครือข่ายสีเขียว
ขั้นตอน 5 พัฒนา ยิงปืนนัดเดียวได้นกหลายตัว
เช่น เราได้ผลิตภัณฑ์ฉลากเขียว ได้ความรับผิดชอบต่อสังคม CSR ฉบับกรมโรงงาน ได้โรงงานดีเด่นด้านสิ่งแวดล้อม ได้ EMS ใบรับรอง ISO 14000 สามารถนามาขออุตสาหกรรมสีเขียวระดับ
3 ได้ สามารถนาเอารางวัล วุฒิบัตรที่กระทรวงอุตสาหกรรมมอบให้มาจัดเข้าอุตสาหกรรมสีเขียว
ท่านสามารถนาตราสัญลักษณ์อุตสาหกรรมสีเขียวจัดแสดงหน้าโรงงานได้ จุดหมายปลายทางของอุตสาหกรรมสีเขียวก็คือการพัฒนาอย่างยั่งยืน
เกิดขึ้น คงอยู่ และยั่งยืนขณะนี้มีการขอตราสัญลักษณ์อุตสาหกรรมสีเขียวลงไปในกล่องในบรรจุภัณฑ์มากมาย
และเริ่มพัฒนาสู่การรับรองเครื่องหมายอุตสาหกรรมสีเขียวที่สำคัญที่สุดคือแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียงของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
ซึ่งกระทรวงอุตสาหกรรมน้อมนามาใช้สาหรับภาคอุตสาหกรรม โดยมี ดร.สุเมธ ตันติเวชกุล เป็นประธานที่ปรึกษา มีสถาบันเศรษฐกิจพอเพียง มีสมาคมเศรษฐกิจพอเพียงทุกแห่งเข้ามาร่วมในการร่างมาตรฐานเศรษฐกิจพอเพียงเป็นมาตรฐาน
มอก.9999 โดยยึดปรัชญาของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เศรษฐกิจพอเพียงภาคอุตสาหกรรม
มี 3 องค์ประกอบ 2 เงื่อนไข ความมีเหตุผล
ความพอประมาณ การมีภูมิคุ้มกัน บน 2 เงื่อนไข คือ ความรู้คู่คุณธรรม
คุณธรรมเป็นตัวบอกว่าควรทาหรือไม่ควรทา เพราะฉะนั้นเมื่อเรานาหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงเข้ามากับภาคอุตสาหกรรมทุกรูปแบบ
ทุกขนาด จะเริ่มรู้ว่าเป็นตัวประกันได้ว่าธุรกิจจะไปได้อย่าง 18
ยั่งยืน คุณธรรมครอบคลุมทุกอย่างคือไม่เอาเปรียบสังคม
อะไรควรทาไม่ควรทา เพราะฉะนั้นมาตรฐานเศรษฐกิจพอเพียงเป็นมาตรฐาน มอก.9999 คือต้องมีส่วนร่วมเคารพผลประโยชน์ของผู้มีส่วนได้เสีย
ชุมชน คนงาน ต้องบริหารแบบองค์รวม ครบวงจร ต้นน้า กลางน้า ปลายน้า
ณ วันนี้กระทรวงอุตสาหกรรมมีความพร้อมที่จะเป็นที่พึ่งของผู้ประกอบการอย่างแท้จริง
ข้าราชการทุกคนสามารถให้คาแนะนาได้ทุกเรื่อง เป็นแนวทางที่กระทรวงอุตสาหกรรมพยายามจะชักชวนผู้ประกอบการตั้งแต่เริ่มสร้างองค์ความรู้
พัฒนานวัตกรรมใหม่ๆ และไปสู่การพัฒนาอย่างยั่งยืน รวมถึงการน้อมนาเอาหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมาเป็นหลักชัยในการประกอบกิจการ
โดยสานักงานปลัดกระทรวงอุตสาหกรรมได้จัดตั้งกลุ่มงานขึ้นภายใต้สานักนโยบายและยุทธศาสตร์เพื่อเป็นศูนย์กลางในการประสานงานโครงการและกิจกรรมต่าง
ๆ ภายใต้ยุทธศาสตร์ที่ 4 การส่งเสริมสถานประกอบการสู่อุตสาหกรรมสีเขียวของกระทรวงอุตสาหกรรมที่เกี่ยวกับการส่งเสริมและพัฒนาอุตสาหกรรมสีเขียวให้การประกอบกิจการเป็นมิตรกับสังคม
ชุมชน สิ่งแวดล้อม และผลักดันให้ประเทศมุ่งสู่เศรษฐกิจสีเขียว (Green
Economy) อย่างมีประสิทธิภาพและเป็นระบบมากยิ่งขึ้น ประกอบกับปัจจุบันมีผู้ประกอบการเข้าร่วมโครงการอุตสาหกรรมสีเขียวในระดับต่างๆเพิ่มขึ้นมาก
ต้องมีขั้นตอนดาเนินการและบริหารจัดการ การตรวจติดตามผลการรับรองรวมทั้งการพิจารณาออกใบรับรองจานวนมาก
ซึ่งเป็นภารกิจสำคัญของการผลักดันให้ภาคอุตสาหกรรมเกิดความยั่งยืน อีกทั้งอุตสาหกรรมสีเขียวได้ปรากฏเป็นหนึ่งในยุทธศาสตร์ของหน่วยงานต่างๆ
ดังนี้
1.
แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 11 ของสานักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
สานักนายกรัฐมนตรี
2.
แผนจัดการคุณภาพสิ่งแวดล้อม พ.ศ. 2555
- 2559 ของกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
3.
แผนการจัดการมลพิษ พ.ศ. 2555 - 2559 กรมควบคุมมลพิษ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
นอกจากนี้ ยังมีความสำคัญในการจัดทาแผนแม่บทการพัฒนาอุตสาหกรรมสีเขียว
ปี พ.ศ. 2557 – 2561 และการจัดทาตัวชี้วัดผลผลิตมวลรวมสีเขียว (Green GDP) ซึ่งเป็นตัวชี้วัดของ กพร. ที่กระทรวงอุตสาหกรรมจะต้องดาเนินการร่วมกับกระทรวงและหน่วยงานต่างๆ
ที่มีส่วนเกี่ยวข้องตามมติคณะรัฐมนตรี พ.ศ. 2555 19
2.4 ประโยชน์ที่ได้รับและสิทธิประโยชน์
ปัจจุบันกระแสการอนุรักษ์ทรัพยากร พลังงาน และสิ่งแวดล้อมได้รับการตอบรับจากทุกภาคส่วนทั่วโลก
ทั้งนี้เพราะแหล่งพลังงานของโลกซึ่งได้แก่ น้ามันและก๊าซลดลงอย่างรวดเร็วเกินกว่าที่คาดการณ์ไว้
ประกอบกับความตื่นกลัวในเรื่องของภัยธรรมชาติ ซึ่งส่วนหนึ่งเกิดจากภาคอุตสาหกรรมที่เป็นผู้ปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจก (Greenhouse Gas) และการทาลายคุณภาพของน้าและดินที่เป็นแหล่งอาหารของพืชและสัตว์
ก่อให้เกิดปัญหาการขาดแคลนอาหารของมนุษย์และปัจจัยสำคัญต่อการดารงชีพของสิ่งมีชีวิตในระบบนิเวศ
ดังนั้น ภาคธุรกิจอุตสาหกรรมจึงถูกมองในแง่ลบจากสังคม ชุมชน และประชาชนโดยรอบว่าเป็นแหล่งก่อเกิดมลพิษและความเดือดร้อน
การปรับตัวของภาคอุตสาหกรรมให้มีกระบวนการผลิตที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมจึงเป็นหนทางเดียวที่จะทาให้สถานประกอบการสามารถอยู่ร่วมกับชุมชนและสิ่งแวดล้อมได้อย่างยั่งยืน
ประโยชน์ที่สถานประกอบการพัฒนาสู่อุตสาหกรรมสีเขียวจะได้รับ ได้แก่
•
• ลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและชุมชน
ลดข้อร้องเรียนจากผลกระทบจากการประกอบกิจการโรงงาน ลดความเสี่ยงในการรับผิดชอบในอนาคต
•
• เกิดภาพลักษณ์ และทัศนคติที่ดีต่ออุตสาหกรรมที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม
ส่งผลให้เกิดความเข้าใจที่ดีและการยอมรับระหว่างอุตสาหกรรมและชุมชนที่อยู่โดยรอบ
•
• ชุมชนโดยรอบได้รับความเป็นธรรม
เข้าถึงโอกาสในการมีชีวิตที่ดีขึ้นจากการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมในชุมชน จากการเกิดอุตสาหกรรมสีเขียว
•
• มีการว่าจ้างแรงงานที่เป็นธรรม
คนงานมีความปลอดภัย และมีความสุขกับการทางานในสภาพแวดล้อมที่ดี
•
• ลดการใช้ทรัพยากรและพลังงาน
ประหยัดต้นทุนการดาเนินธุรกิจ สร้างโอกาสในการแข่งขัน
•
• สร้างโอกาสทางการตลาดโดยเน้นประเด็น
“สีเขียว” ของผลิตภัณฑ์และกระบวนการผลิตซึ่งกาลังจะเป็นที่ยอมรับและต้องการของผู้บริโภคทั่วโลก
•
• สร้างมูลค่าเพิ่มทางเศรษฐกิจของประเทศซึ่งไม่ส่งผลกระทบต่อสังคม
ชุมชน และสิ่งแวดล้อม
สิทธิประโยชน์ของอุตสาหกรรมสีเขียว
สิทธิประโยชน์ที่สถานประกอบการอุตสาหกรรมจะได้รับเมื่อพัฒนาสู่อุตสาหกรรมสีเขียวจะได้รับ
ได้แก่
•
• อุตสาหกรรมสีเขียว ระดับที่
2 ขึ้นไป สามารถนาตราสัญลักษณ์ไปติดบนผลิตภัณฑ์ได้
•
• สามารถแสดงสินค้าและจัดบูธในงานของกระทรวงอุตสาหกรรม
•
• สามารถเผยแพร่และโฆษณาผลิตภัณฑ์ในจุลสารอุตสาหกรรมสีเขียวได้
•
• สามารถกู้เงินในอัตราดอกเบี้ยต่ำได้ (Soft Loan)
ข้อกำนดอุตสาหกรรมสีเขียว
กระทรวงอุตสาหกรรมจัดทาข้อกำหนดอุตสาหกรรม เพื่อส่งเสริมและผลักดันให้ผลประกอบการอุตสาหกรรมได้มีการพัฒนาและปรับปรุงอย่างต่อเนื่องเพื่อเข้าสู่การเป็นอุตสาหกรรมสีเขียวไว้ 5 ระดับ ดังนี้
เกณฑ์กำหนดอุตสาหกรรมสีเขียว ระดับที่ 1 : ความมุ่งมั่นสีเขียว (Green
Commitment)
ข้อ 1 องค์กรต้องกำหนดนโยบายด้านสิ่งแวดล้อม ซึ่งครอบคลุมถึงความมุ่งมั่นที่จะดาเนินการใดๆที่เกี่ยวข้องกับ
(ก) การลดผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม หรือการป้องกันมลพิษ
(Prevention of Pollution) หรือ
(ข) การใช้ทรัพยากรอย่างยั่งยืน (Sustainable
Resource Use) หรือ
(ค) การลดผลกระทบต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ
(Climate Change Mitigation and Adaptation) หรือ
(ง) การปกป้องและฟื้นฟูธรรมชาติ (Protection
and Restoration of the Natural Environment)
ข้อ 2 องค์กรต้องมีการสื่อสารนโยบายด้านสิ่งแวดล้อม ให้บุคลากรในองค์กรทราบ 21
เกณฑ์กำหนดอุตสาหกรรมสีเขียว ระดับที่ 2 : ปฏิบัติการสีเขียว (Green Activity)
ข้อ 1 องค์กรต้องกำหนดนโยบายด้านสิ่งแวดล้อม ซึ่งครอบคลุมถึงความมุ่งมั่นที่จะดาเนินการใดๆ ที่เกี่ยวข้องกับกิจกรรมด้านสิ่งแวดล้อมต่างๆ
อย่างน้อยกิจกรรมใดกิจกรรมหนึ่ง ดังนี้
(ก) การลดผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม หรือการป้องกันมลพิษ
(Prevention of Pollution) หรือ
(ข) การใช้ทรัพยากรอย่างยั่งยืน (Sustainable
Resource Use) หรือ
(ค) การลดผลกระทบต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ
(Climate Change Mitigation and Adaptation) หรือ
(ง) การปกป้องและฟื้นฟูธรรมชาติ (Protection
and Restoration of the Natural Environment) และสื่อสารนโยบายด้านสิ่งแวดล้อมให้บุคลากรในองค์กรทราบ
ข้อ 2 องค์กรจัดทาแผนงานด้านสิ่งแวดล้อม เพื่อลดผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมหรือการป้องกันมลพิษ หรือการใช้ทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพและอย่างยั่งยืน
หรือลดผลกระทบต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ หรือการปกป้องและฟื้นฟูธรรมชาติ โดยแผนงานด้านสิ่งแวดล้อมต้องประกอบด้วยวัตถุประสงค์
เป้าหมาย ขั้นตอนการปฏิบัติ ผู้รับผิดชอบ และกรอบระยะเวลาแล้วเสร็จ
ข้อ 3 องค์กรต้องนาแผนงานด้านสิ่งแวดล้อมไปปฏิบัติให้เกิดประสิทธิผล
เกณฑ์กำหนดอุตสาหกรรมสีเขียว ระดับที่ 3 : ระบบสีเขียว (Green System)
ข้อ 1 นโยบายด้านสิ่งแวดล้อม
ผู้บริหารสูงสุดขององค์กรต้องกำหนดนโยบายด้านสิ่งแวดล้อมซึ่งต้องครอบคลุมถึงความมุ่งมั่นที่จะดาเนินการเพื่อ
(ก) การลดผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม หรือการป้องกันมลพิษ
(Prevention of Pollution) หรือ
(ข) การใช้ทรัพยากรอย่างยั่งยืน (Sustainable
Resource Use) หรือ
(ค) การลดผลกระทบต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ
(Climate Change Mitigation and Adaptation) หรือ
(ง) การปกป้องและฟื้นฟูธรรมชาติ (Protection
and Restoration of the Natural Environment) และสื่อสารนโยบายด้านสิ่งแวดล้อมให้บุคลากรทั้งหมดซึ่งทางานให้หรือในนามขององค์กรทราบ
ข้อ 2 การวางแผน
(1)
องค์กรต้องชี้บ่งประเด็นด้านสิ่งแวดล้อมซึ่งเกิดจากกิจกรรมผลิตภัณฑ์
และการบริการขององค์กรและพิจารณา ประเด็นด้านสิ่งแวดล้อมซึ่งทาให้เกิดผลกระทบที่มีนัยสำคัญต่อสิ่งแวดล้อม
(2)
องค์กรต้องชี้บ่งและติดตามสืบค้นข้อกำหนดของกฎหมายและข้อกำหนดอื่นๆ ด้านสิ่งแวดล้อมทั้งหมดที่เกี่ยวข้องกับประเด็นด้านสิ่งแวดล้อม
(3)
องค์กรต้องกาหนดวัตถุประสงค์และเป้าหมายด้านสิ่งแวดล้อมซึ่งสอดคล้องกับนโยบาย
กฎหมาย และประเด็นด้านสิ่งแวดล้อมที่มีนัยสำคัญ 22
(4) องค์กรต้องจัดทาแผนงานด้านสิ่งแวดล้อมเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์และเป้าหมาย
โดยแผนงานต้องมีรายละเอียดเกี่ยวกับผู้รับผิดชอบในทุกระดับและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
และกำหนดวิธีการและระยะเวลาแล้วเสร็จ
(5)
องค์กรต้องมีการดาเนินการตามแผนงานด้านสิ่งแวดล้อม โดยมีการกระจายและชี้แจงแผนงานด้านสิ่งแวดล้อมให้ผู้เกี่ยวข้องรับทราบและมีความเข้าใจ
เพื่อให้มีการดาเนินการตามแผนงานที่กำหนดไว้
(6)
องค์กรต้องมีการติดตามผลการดาเนินการตามแผนงานด้านสิ่งแวดล้อมที่จัดทาไว้
(7)
องค์กรต้องมีการทบทวนวัตถุประสงค์ เป้าหมาย และแผนงานด้านสิ่งแวดล้อมเป็นระยะ
ข้อ 3 การนาไปปฏิบัติ
(1)
องค์กรต้องจัดสรรทรัพยากรให้เพียงพอต่อการบริหารจัดการด้านสิ่งแวดล้อม
(2)
องค์กรต้องมีการฝึกอบรมและการสร้างจิตสานึกให้กับบุคลากรที่ทางานให้องค์กรหรือทางานในนามองค์กรเพื่อให้เกิดความตระหนักต่อประเด็นด้านสิ่งแวดล้อมและผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม
(3)
องค์กรต้องกาหนดช่องทางและวิธีการสื่อสารข้อมูลด้านสิ่งแวดล้อมให้กับบุคคลภายในองค์กรและบุคคลภายนอกองค์กร
(4)
องค์กรต้องจัดทาขั้นตอนการดาเนินงานในการควบคุมเอกสารที่ถูกกำหนดโดยระบบการจัดการด้านสิ่งแวดล้อม
(5)
องค์กรต้องจัดทาขั้นตอนการดาเนินงานเพื่อควบคุมการปฏิบัติในการลดผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม
ลดผลกระทบต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และการใช้ทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพและอย่างยั่งยืน
(6)
องค์กรต้องจัดทาขั้นตอนการดาเนินงานรองรับสถานการณ์ฉุกเฉิน หรืออุบัติภัยที่มีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและชุมชน
ข้อ 4 การติดตาม ประเมินผล
(1)
องค์กรต้องจัดทาขั้นตอนการดาเนินงานในการเฝ้าติดตาม/ตรวจวัด คุณภาพสิ่งแวดล้อม และเครื่องมือที่นามาใช้ในการเฝ้าติดตามและตรวจวัดต้องได้รับทวนสอบและบำรุงรักษาอย่างเหมาะสม
(2)
องค์กรต้องจัดทาขั้นตอนในการดาเนินการประเมินความสอดคล้องของระบบการจัดการด้านสิ่งแวดล้อมกับข้อกำหนดของกฎหมายที่เกี่ยวข้องตามช่วงเวลาที่กำหนด
(3)
องค์กรต้องจัดทาขั้นตอนการดาเนินงานสาหรับการดาเนินการกับข้อบกพร่องด้านสิ่งแวดล้อมที่เกิดขึ้นแล้วหรืออาจจะเกิดขึ้น
และปฏิบัติการแก้ไขและป้องกัน
(4)
องค์กรต้องมีการชี้บ่ง จัดเก็บ ป้องกัน และกำหนดอายุการจัดเก็บบันทึกที่เกี่ยวข้องกับการดาเนินงานด้านสิ่งแวดล้อม
(5)
องค์กรต้องดาเนินการตรวจประเมินภายในระบบการจัดการด้านสิ่งแวดล้อมตามช่วงเวลาที่กาหนด
เพื่อให้มั่นใจว่ามีการนาระบบการจัดการด้านสิ่งแวดล้อมไปปฏิบัติให้เกิดประสิทธิผล และสอดคล้องกับข้อกำหนดต่างๆ
23
ข้อ
5 การทบทวนและรักษาระบบ
ผู้บริหารสูงสุดขององค์กรต้องทบทวนระบบการจัดการด้านสิ่งแวดล้อมขององค์กรตามช่วงเวลาที่กาหนด
เพื่อให้มั่นใจว่าเป็นไปตามข้อกำหนดของกฎหมายที่เกี่ยวข้อง และระบบการจัดการด้านสิ่งแวดล้อมยังคงมีความเหมาะสม
และเกิดประสิทธิผลอย่างต่อเนื่อง
เกณฑ์กำหนดอุตสาหกรรมสีเขียว ระดับที่ 3 (Green System) สาหรับวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม
และวิสาหกิจชุมชน
เกณฑ์กำหนดอุตสาหกรรมสีเขียว ระดับที่ 3 นี้ ปรับปรุงขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2558 โดยสานักงานปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม และสถาบันรับรองมาตรฐานไอเอสโอ
มีวัตถุประสงค์เพื่อใช้เป็นเกณฑ์กำหนดอุตสาหกรรมสีเขียว ระดับที่ 3 ให้กับวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม และวิสาหกิจชุมชน และโรงงานอุตสาหกรรมที่ไม่ได้มีใบรับรองระบบการจัดการสิ่งแวดล้อม
เช่น ISO 14001, ISO 50001 เป็นต้น
ข้อ 1 บริบทขององค์กร
(1)
องค์กรควรพิจารณาทาความเข้าใจบริบทขององค์กร พิจารณาสภาพแวดล้อมภายในและภายนอกที่มีผลกระทบต่อระบบการจัดการสิ่งแวดล้อม
(2)
องค์กรควรบ่งชี้กลุ่มผู้มีส่วนได้เสียที่เกี่ยวข้องกับระบบการจัดการสิ่งแวดล้อม
และพิจารณาความต้องการและความคาดหวังของกลุ่มผู้มีส่วนได้เสีย
ข้อ 2 ความเป็นผู้นา
(1)
ผู้บริหารสูงสุดขององค์กรต้องแสดงให้เห็นถึงความเป็นผู้นาและความมุ่งมั่นที่เกี่ยวข้องกับระบบการจัดการสิ่งแวดล้อม
(2)
ผู้บริหารสูงสุดขององค์กรต้องกำหนดนโยบายด้านสิ่งแวดล้อมซึ่งต้องครอบคลุมถึงความมุ่งมั่นที่จะดาเนินการ
เพื่อ
(ก) การลดผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม หรือการป้องกันมลพิษ
(Prevention of Pollution) หรือ
(ข) การใช้ทรัพยากรอย่างยั่งยืน (Sustainable
Resource Use) หรือ
(ค) การลดผลกระทบต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ
(Climate Change Mitigation and Adaptation) หรือ
(ง) การปกป้องและฟื้นฟูธรรมชาติ (Protection
and Restoration of the Natural Environment)
โดยต้องจัดทาเอกสารและสื่อสารนโยบายด้านสิ่งแวดล้อมให้บุคลากรทั้งหมด
ซึ่งทางานให้หรือในนามขององค์กรทราบ รวมทั้งพร้อมเปิดเผยต่อผู้มีส่วนได้เสีย
(3)
ผู้บริหารสูงสุดขององค์กรต้องมั่นใจว่าความรับผิดชอบและอำนาจหน้าที่สาหรับบทบาทหน้าที่ต่างๆ
ได้มีการมอบหมายและสื่อสารเป็นที่เข้าใจในองค์กร 24
ข้อ
3 การวางแผน
(1)
องค์กรต้องชี้บ่งประเด็นด้านสิ่งแวดล้อม ซึ่งเกิดจากกิจกรรมผลิตภัณฑ์
และการบริการขององค์กร และพิจารณาประเด็นด้านสิ่งแวดล้อม ซึ่งทาให้เกิดผลกระทบที่มีนัยสำคัญต่อสิ่งแวดล้อม
(2)
องค์กรต้องชี้บ่งและติดตามสืบค้นข้อกำหนดของกฎหมายและข้อกำหนดอื่นๆ ด้านสิ่งแวดล้อมทั้งหมดที่เกี่ยวข้องกับประเด็นด้านสิ่งแวดล้อม
(3)
องค์กรต้องกำหนดวัตถุประสงค์และเป้าหมายด้านสิ่งแวดล้อม ซึ่งสอดคล้องกับนโยบาย
กฎหมาย และประเด็นด้านสิ่งแวดล้อมที่มีนัยสำคัญ
(4)
องค์กรต้องจัดทาแผนงานด้านสิ่งแวดล้อม เพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์และเป้าหมาย
โดยแผนงานต้องมีรายละเอียดเกี่ยวกับผู้รับผิดชอบในทุกระดับและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
และกำหนดวิธีการและระยะเวลาแล้วเสร็จ
ข้อ 4 การสนับสนุน
(1)
องค์กรต้องพิจารณากำหนดและจัดหาทรัพยากรที่จาเป็นสาหรับการจัดการด้านสิ่งแวดล้อมและปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง
(2)
องค์กรต้องกำหนดความรู้ความสามารถที่จาเป็นสาหรับบุคลากรที่ทางานให้องค์กรหรือทางานนามองค์กร
ซึ่งมีผลต่อสมรรถนะด้านสิ่งแวดล้อมและกฎหมายและข้อกำหนดอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง และให้มั่นใจว่าบุคลากรเหล่านี้มีความรู้ความสามารถบนพื้นฐานของการศึกษา
การฝึกอบรม หรือประสบการณ์ที่เหมาะสม
(3)
องค์กรต้องทาให้มั่นใจว่าบุคลากรที่ทางานภายใต้การควบคุมขององค์กรมีความตระหนักด้านระบบการจัดการสิ่งแวดล้อม
(4)
องค์กรต้องสื่อสารข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับระบบการจัดการสิ่งแวดล้อม รวมทั้งการเปลี่ยนแปลงระบบการจัดการสิ่งแวดล้อมให้กับบุคลากรภายในองค์กร
(5)
องค์กรควรจัดทาเอกสารและปรับปรุงเอกสาร โดยได้รับการทบทวนและอนุมัติตามความเหมาะสม
รวมทั้งควรมีระบบการควบคุมเอกสาร
ข้อ 5 การดาเนินการ
(1)
องค์กรต้องจัดทาขั้นตอนการดาเนินงาน เพื่อควบคุมการดาเนินการกับประเด็นด้านสิ่งแวดล้อมที่มีผลกระทบที่มีนัยสำคัญต่อสิ่งแวดล้อม
(2)
องค์กรต้องจัดทาขั้นตอนการดาเนินงานรองรับสถานการณ์ฉุกเฉิน หรืออุบัติภัยที่มีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและชุมชน
ข้อ 6 การติดตามประเมินผล
(1)
องค์กรต้องเฝ้าระวัง ติดตาม และตรวจวัดคุณภาพสิ่งแวดล้อม และติดตามผลการดาเนินงานตามแผนงานด้านสิ่งแวดล้อมที่ได้จัดทา
และเครื่องมืออุปกรณ์ที่ใช้ในการเฝ้าระวังและตรวจวัดได้รับการสอบเทียบหรือทวนสอบและบารุงรักษาอย่างเหมาะสม
(2)
องค์กรต้องประเมินความสอดคล้องของระบบการจัดการสิ่งแวดล้อมกับกฎหมายที่เกี่ยวข้องตามช่วงเวลาที่กาหนดและจัดเก็บบันทึกเป็นหลักฐาน
25
(3) องค์กรต้องดาเนินการตรวจประเมินภายในระบบการจัดการด้านสิ่งแวดล้อมตามช่วงเวลาที่กำหนด
เพื่อให้มั่นใจว่ามีการนาระบบการจัดการด้านสิ่งแวดล้อมไปปฏิบัติให้เกิดประสิทธิผลและสอดคล้องกับข้อกำหนดต่างๆ
(4)
ผู้บริหารสูงสุดขององค์กรต้องทบทวนระบบการจัดการด้านสิ่งแวดล้อมขององค์กรตามช่วงเวลาที่กำหนดเพื่อให้มั่นใจว่าเป็นไปตามข้อกำหนดของกฎหมายที่เกี่ยวข้อง
และระบบจัดการด้านสิ่งแวดล้อมยังคงมีความเหมาะสม และเกิดประสิทธิผลอย่างต่อเนื่อง
ข้อ 7 การปรับปรุง
(1)
องค์กรต้องดาเนินการกับข้อบกพร่องด้านสิ่งแวดล้อมที่เกิดขึ้น และปฏิบัติการแก้ไข
โดยวิเคราะห์สาเหตุ ดาเนินการกาจัดสาเหตุของข้อบกพร่องเพื่อไม่ให้เกิดขึ้นซ้า และจัดเก็บบันทึกเป็นหลักฐาน
(2)
องค์กรต้องปรับปรุงระบบการจัดการสิ่งแวดล้อมอย่างต่อเนื่อง ตามความเหมาะสมและมีประสิทธิผล
ที่มา : คู่มือการขอการรับรองอุตสาหกรรมสีเขียวระดับที่
3 : ระบบสีเขียว (Green Industry) สาหรับวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม
และวิสาหกิจชุมชน ของสานักงานปลัดกระทรวงอุตสาหกรรมและสถาบันรับรองมาตรฐานไอเอสโอ ปี
2558 (ISBN : 978-616-265-141-0)
เกณฑ์กำหนดอุตสาหกรรมสีเขียว ระดับที่ 4 : วัฒนธรรมสีเขียว (Green Culture)
ข้อ 1 องค์กรต้องมีระบบการจัดการด้านสิ่งแวดล้อมเป็นไปตามเกณฑ์กำหนดระดับที่ 3 ทุกข้อ
ข้อ 2 องค์กรต้องมีการสร้างวัฒนธรรมองค์กรด้านสิ่งแวดล้อมและความปลอดภัยที่เกี่ยวข้องกับลักษณะการประกอบกิจการ อุตสาหกรรมขององค์กร
และนามาปฏิบัติให้เกิดประสิทธิผลโดยให้ครอบคลุมตามหลักการของมาตรฐานความรับผิดชอบต่อสังคม ISO 26000 ดังต่อไปนี้
2.1
องค์กรต้องมีความรับผิดชอบสาหรับผลกระทบจากองค์กรที่มีต่อสิ่งแวดล้อมและความปลอดภัยที่เกี่ยวข้องกับลักษณะการประกอบกิจการอุตสาหกรรมขององค์กร
โดยต้องมีความรับผิดชอบต่อ
(1)
ผลกระทบจากการตัดสินใจและการดาเนินการต่างๆ ขององค์กรต่อสังคม และสิ่งแวดล้อมโดยเฉพาะผลกระทบด้านลบที่มีนัยสำคัญ
(2)
การดาเนินการเพื่อการป้องกันผลกระทบด้านลบที่เกิดขึ้นโดยไม่ได้ตั้งใจ
เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดซ้า
2.2
องค์กรต้องมีความโปร่งใสในการตัดสินใจและการดาเนินการต่างๆที่มีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและความปลอดภัย
องค์กรต้องมีการเปิดเผยอย่างชัดเจน ถูกต้อง และครบถ้วน โดย
(1)
ผู้ที่ได้รับผลกระทบจากการดาเนินงานขององค์กร สามารถเข้าถึงข้อมูลได้โดยตรงและง่ายต่อความเข้าใจ
(2)
ข้อมูลต้องเหมาะสมกับช่วงเวลาเป็นข้อเท็จจริง ชัดเจน และมีความน่าเชื่อถือ
เพื่อให้ผู้ที่เกี่ยวข้องสามารถประเมินผลได้อย่างถูกต้อง
2.3
องค์กรต้องมีการส่งเสริมให้เกิดการปฏิบัติอย่างมีจริยธรรมด้านสิ่งแวดล้อมและความปลอดภัยอย่างจริงจังโดย
(1)
ประกาศกาหนดค่านิยมและหลักการต่างๆ ด้านสิ่งแวดล้อมและความปลอดภัยขององค์กรให้ชัดเจน
26
(2) ดาเนินการตามโครงสร้างการบริหารที่ช่วยส่งเสริมให้เกิดการปฏิบัติอย่างมีจริยธรรมด้านสิ่งแวดล้อมและความปลอดภัยภายในองค์กร
(3)
มีกลไกในการกากับดูแล และการควบคุมต่างๆ เพื่อเฝ้าติดตามให้การสนับสนุน
และการบังคับให้เกิดการปฏิบัติอย่างมีจริยธรรมด้านสิ่งแวดล้อมและความปลอดภัย
(4)
มีการกระตุ้นและส่งเสริมให้เกิดการปฏิบัติอย่างมีจริยธรรมด้านสิ่งแวดล้อมและความปลอดภัย
(5)
มีการป้องกัน หรือแก้ไขการเกิดผลประโยชน์ทับซ้อนที่สามารถนาไปสู่การปฏิบัติอย่างไม่มีจริยธรรมด้านสิ่งแวดล้อมตลอดทั่วทั้งองค์กร
(6)
มีรายงานผลการปฏิบัติอย่างมีจริยธรรมด้านสิ่งแวดล้อมและความปลอดภัย
2.4
องค์กรต้องเคารพ พิจารณา และตอบสนองต่อผลประโยชน์ของผู้มีส่วนได้เสีย
ด้านประเด็นสิ่งแวดล้อมและความปลอดภัย
2.5
องค์กรต้องปฏิบัติให้เป็นไปตามกฎหมายและข้อกำหนดต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับด้านสิ่งแวดล้อมและความปลอดภัย
2.6
องค์กรต้องเคารพต่อการปฏิบัติตามแนวทางสากลในด้านสิ่งแวดล้อมและความปลอดภัยในสถานการณ์ที่กฎหมายหรือการดาเนินการตามกฎหมายยังไม่พอเพียงสาหรับการปกป้องสิ่งแวดล้อมได้องค์กรต้องผลักดันให้เกิดความเคารพต่อการปฏิบัติตามแนวทางของสากล
2.7
องค์กรต้องเคารพต่อสิทธิมนุษยชนในด้านสิ่งแวดล้อมและความปลอดภัยที่ดี
และให้การยอมรับถึงความสำคัญและความเป็นสากลของสิทธิมนุษยชนในด้านสิ่งแวดล้อมและความปลอดภัย
ข้อ 3 องค์กรต้องจัดทารายงานผลการดาเนินกิจกรรมด้านสิ่งแวดล้อมเพื่อเปิดเผยต่อสาธารณะ
เกณฑ์กำหนดอุตสาหกรรมสีเขียว ระดับที่ 5 : เครือข่ายสีเขียว (Green Network)
ข้อ 1 องค์กรต้องมีระบบการจัดการด้านสิ่งแวดล้อมและมีการสร้างวัฒนธรรมองค์กรเป็นไปตามเกณฑ์กำหนดอุตสาหกรรมสีเขียว ระดับที่ 4 ทุกข้อ
ข้อ 2 องค์กรต้องดาเนินการส่งเสริม สร้าง และสานสัมพันธ์กิจกรรมด้านสิ่งแวดล้อมกับผู้มีส่วนได้เสีย
(Stake Holder) ที่ครอบคลุมทั้งโซ่อุปทาน
(Supply Chain) ชุมชน และผู้บริโภค และต้องทาให้ประสบความสำเร็จเป็นที่ประจักษ์
และมีการพัฒนา อย่างต่อเนื่องและยั่งยืน โดย
(1)
ต้องส่งเสริมให้โซ่อุปทาน (Supply Chain) มุ่งสู่อุตสาหกรรมสีเขียว
และนามาปฏิบัติให้เกิดประสิทธิผล โดยต้องดาเนินการให้ครอบคลุมทั้งโซ่อุปทานและต้องมีการพัฒนาอย่างต่อเนื่องและยั่งยืน
(2)
ต้องส่งเสริมการมีส่วนร่วมของชุมชน การพัฒนาชุมชน และต้องร่วมกับชุมชนในการกระตุ้นจิตสานึกและส่งเสริมความรู้
ความเข้าใจต่อการบริโภคที่ยั่งยืน โดยให้ความสำคัญและใส่ใจต่อสิ่งแวดล้อม
(3)
ต้องให้ความรู้และสร้างความตระหนักแก่ผู้บริโภคในการบริโภคที่ยั่งยืน
ข้อ 3 องค์กรต้องจัดทารายงานการดาเนินการต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการส่งเสริม สร้าง
และสานสัมพันธ์กิจกรรมด้านสิ่งแวดล้อมกับผู้มีส่วนได้เสีย และสรุปรายงานผลความสำเร็จเพื่อเผยแพร่
แนวทางการปฏิบัติตามข้อกำหนด อุตสาหกรรมสีเขียว
แนวทางการปฏิบัติตามเกณฑ์กำหนดอุตสาหกรรมสีเขียว
1) แนวทางปฏิบัติเพื่อพัฒนาเข้าสู่อุตสาหกรรมสีเขียว
ระดับที่ 1 : ความมุ่งมั่นสีเขียว
เกณฑ์กาหนดอุตสาหกรรมสีเขียว ระดับที่ 1
ข้อ 1 องค์กรต้องกาหนดนโยบายด้านสิ่งแวดล้อม ซึ่งครอบคลุมถึงความมุ่งมั่นที่จะดาเนินการใดๆ ที่เกี่ยวข้องกับ
(ก) การลดผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม หรือการป้องกันมลพิษ
(Prevention of Pollution) หรือ
(ข) การใช้ทรัพยากรอย่างยั่งยืน (Sustainable
Resource Use) หรือ
(ค) การลดผลกระทบต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ
(Climate Change Mitigation and Adaptation) หรือ
(ง) การปกป้องและฟื้นฟูธรรมชาติ (Protection
and Restoration of the Natural Environment)
ข้อ 2 องค์กรต้องมีการสื่อสารนโยบายด้านสิ่งแวดล้อม ให้บุคลากรในองค์กรทราบ
แนวทางปฏิบัติสาหรับผู้ประกอบการอุตสาหกรรม
•
• นโยบายด้านสิ่งแวดล้อมเป็นการประกาศความมุ่งมั่นของผู้บริหารระดับสูงอย่างเป็นทางการ
โดยผู้บริหารระดับสูงต้องมั่นใจว่านโยบายด้านสิ่งแวดล้อมที่กาหนดขึ้น
•
- เหมาะสมกับลักษณะ ขนาด และผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมจากกิจกรรมสินค้า
และการบริการ
•
- มุ่งมั่นปรับปรุงอย่างต่อเนื่องและป้องกันการเกิดมลภาวะ
•
- มุ่งมั่นปฏิบัติให้สอดคล้องกับกฎหมายและข้อกาหนดอื่นๆ
ที่เกี่ยวข้องกับประเด็นด้านสิ่งแวดล้อม
•
- ให้กรอบในการกาหนดและทบทวนวัตถุประสงค์และเป้าหมายด้านสิ่งแวดล้อม
•
- จัดทาเป็นลายลักษณ์อักษร นาไปปฏิบัติและรักษาไว้
•
- สื่อสารให้ทุกคนที่ทางานให้องค์กร
หรือทางานในนามขององค์กร
•
- เปิดเผยต่อสาธารณชนได้
•
• ผู้บริหารระดับสูงขององค์กรต้องกำหนดนโยบายด้านสิ่งแวดล้อมและจัดทาเป็นลายลักษณ์อักษร
พร้อมทั้งลงนามในประกาศนโยบายด้านสิ่งแวดล้อม สาหรับการกำหนดนโยบายด้านสิ่งแวดล้อมควรมุ่งเน้นไปในทิศทางของการลดผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม
การป้องกันผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม การใช้ทรัพยากรอย่างยั่งยืน การลดผลกระทบต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ
และการป้องกันและฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติ
28
•
• ผู้บริหารระดับสูงขององค์กรต้องเผยแพร่และทาความเข้าใจนโยบายด้านสิ่งแวดล้อมให้กับทุกคนที่ทางานให้กับองค์กร
หรือทางานในนามขององค์กร เพื่อให้นานโยบายไปปฏิบัติอย่างจริงจังและสม่ำเสมอ โดยอาจใช้วิธีการใดวิธีการหนึ่งตามความเหมาะสม
เช่น การติดประกาศ การประชุมชี้แจง การฝึกอบรม การเผยแพร่ผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ เป็นต้น
•
• ผู้บริหารระดับสูงขององค์กรต้องกำหนดวิธีการในการเฝ้าติดตามว่าทุกคนที่ทางานให้กับองค์กรมีความเข้าใจและนานโยบายไปปฏิบัติได้อย่างมีประสิทธิผล
•
• องค์กรมีการเปิดเผยและสื่อสารนโยบายด้านสิ่งแวดล้อมให้กับสาธารณชนทั่วไป
และเผยแพร่ต่อชุมชนโดยรอบเพื่อแสดงให้เห็นถึงความมุ่งมั่นด้านสิ่งแวดล้อม โดยอาจใช้วิธีการใดวิธีการหนึ่งตามความเหมาะสม
ตัวอย่างการกำหนดนโยบายด้านสิ่งแวดล้อม 29
2) แนวทางปฏิบัติเพื่อพัฒนาเข้าสู่อุตสาหกรรมสีเขียว
ระดับที่ 2 : ปฏิบัติการสีเขียว
เกณฑ์กำหนดอุตสาหกรรมสีเขียว ระดับที่ 2
ข้อ 1 องค์กรต้องกำหนดนโยบายด้านสิ่งแวดล้อม ซึ่งครอบคลุมถึงความมุ่งมั่นที่จะดาเนินการใดๆ ที่เกี่ยวข้องกับ
(ก) การลดผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม หรือการป้องกันมลพิษ
(Prevention of Pollution) หรือ
(ข) การใช้ทรัพยากรอย่างยั่งยืน (Sustainable
Resource Use) หรือ
(ค) การลดผลกระทบต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ
(Climate Change Mitigation and Adaptation) หรือ
(ง) การปกป้องและฟื้นฟูธรรมชาติ (Protection
and Restoration of the Natural Environment) และสื่อสารนโยบายด้านสิ่งแวดล้อมให้บุคลากรในองค์กรทราบ
แนวทางปฏิบัติสาหรับผู้ประกอบการอุตสาหกรรม
•
• นโยบายด้านสิ่งแวดล้อมเป็นการประกาศความมุ่งมั่นของผู้บริหารระดับสูงอย่างเป็นทางการ
โดยผู้บริหารระดับสูงต้องมั่นใจว่านโยบายด้านสิ่งแวดล้อมที่กำหนดขึ้น
•
- เหมาะสมกับลักษณะ ขนาด และผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมจากกิจกรรม
สินค้า และการบริการ
•
- มุ่งมั่นปรับปรุงอย่างต่อเนื่องและป้องกันการเกิดมลภาวะ
•
- มุ่งมั่นปฏิบัติให้สอดคล้องกับกฎหมายและข้อกำหนดอื่นๆ
ที่เกี่ยวข้องกับประเด็นด้านสิ่งแวดล้อม
•
- ให้กรอบในการกำหนดและทบทวนวัตถุประสงค์และเป้าหมายด้านสิ่งแวดล้อม
•
- จัดทาเป็นลายลักษณ์อักษรนาไปปฏิบัติและรักษาไว้
•
- สื่อสารให้ทุกคนที่ทางานให้องค์กร
หรือทางานในนามขององค์กร
•
- เปิดเผยต่อสาธารณชนได้
•
• ผู้บริหารระดับสูงขององค์กรต้องกำหนดนโยบายด้านสิ่งแวดล้อมและจัดทาเป็นลายลักษณ์อักษร
พร้อมทั้งลงนามในประกาศนโยบายด้านสิ่งแวดล้อม สาหรับการกำหนดนโยบายด้านสิ่งแวดล้อมควรมุ่งเน้นไปในทิศทางของการลดผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม
การป้องกันผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม การใช้ทรัพยากรอย่างยั่งยืน การลดผลกระทบต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ
และการป้องกันและฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติ
•
• ผู้บริหารระดับสูงขององค์กรต้องเผยแพร่และทาความเข้าใจนโยบายด้านสิ่งแวดล้อมให้กับทุกคนที่ทางานให้กับองค์กรหรือทางานในนามขององค์กร
เพื่อให้นานโยบายไปปฏิบัติอย่างจริงจังและสม่ำเสมอ โดยอาจใช้วิธีการใดวิธีการหนึ่งตามความเหมาะสม
เช่น การติดประกาศ การประชุมชี้แจง การฝึกอบรม การเผยแพร่ผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ เป็นต้น
•
• ผู้บริหารระดับสูงขององค์กรต้องกำหนดวิธีการในการเฝ้าติดตามว่าทุกคนที่ทางานให้กับองค์กรมีความเข้าใจและนานโยบายไปปฏิบัติได้อย่างมีประสิทธิผล
30
•
• องค์กรควรเปิดเผยและสื่อสารนโยบายด้านสิ่งแวดล้อมให้กับสาธารณชนทั่วไป
และเผยแพร่ต่อชุมชนโดยรอบ เพื่อแสดงให้เห็นถึงความมุ่งมั่นด้านสิ่งแวดล้อม โดยอาจใช้วิธีการใดวิธีการหนึ่งตามความเหมาะสม
เกณฑ์กำหนดอุตสาหกรรมสีเขียว ระดับที่ 2 (ต่อ)
ข้อ 2 องค์กรต้องจัดทาแผนงานด้านสิ่งแวดล้อม เพื่อลดผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมหรือการป้องกันมลพิษ หรือการใช้ทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพและอย่างยั่งยืน
หรือลดผลกระทบต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ หรือการปกป้องและฟื้นฟูธรรมชาติ โดยแผนงานด้านสิ่งแวดล้อมต้องประกอบด้วยวัตถุประสงค์
เป้าหมาย ขั้นตอนการปฏิบัติ ผู้รับผิดชอบ และกรอบระยะเวลาแล้วเสร็จ
ข้อ 3 องค์กรต้องนาแผนงานด้านสิ่งแวดล้อมไปปฏิบัติให้เกิดประสิทธิผล
แนวทางปฏิบัติสาหรับผู้ประกอบการอุตสาหกรรม
•
• องค์กรต้องมีการทบทวนกิจกรรมต่างๆภายในองค์กรว่ามีกิจกรรมใดบ้างที่ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและดาเนินการจัดลาดับความสำคัญโดยพิจารณาจากผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมที่มีนัยสำคัญ
•
• ดาเนินการเลือกกิจกรรมที่มีผลกระทบที่มีนัยสำคัญอย่างน้อย
1 กิจกรรม กำหนดวัตถุประสงค์และเป้าหมายเพื่อจะลดผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม
•
• องค์กรต้องกำหนดวัตถุประสงค์และเป้าหมายให้สอดคล้องกับนโยบาย
กฎหมาย และประเด็นด้านสิ่งแวดล้อมที่มีนัยสำคัญ จัดทาเป็นลายลักษณ์อักษร โดยวัตถุประสงค์ควรมีความเฉพาะเจาะจง
ชัดเจน ส่วนเป้าหมายควรจัดทาเป็นเป้าหมายรวม และมีการกระจายเป็นเป้าหมายย่อยในแต่ละหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
เป้าหมายควรมีองค์ประกอบดังนี้
•
- เฉพาะเจาะจง
(Specific)
•
- วัดผลได้
(Measurable)
•
- บรรลุได้
(Achievable)
•
- สัมพันธ์กับนโยบาย
(Relevant)
•
- กำหนดเวลาแล้วเสร็จ
(Time)
•
• องค์กรต้องจัดทาแผนงานด้านสิ่งแวดล้อมเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์และเป้าหมาย
โดย
•
- รวบรวมรายละเอียดและข้อมูลในเรื่องที่เกี่ยวข้องที่จะส่งผลกระทบต่อวัตถุประสงค์และเป้าหมาย
เช่น ปัญหาเกิดจากสาเหตุใด มีหน่วยงานใดเกี่ยวข้องบ้าง เพื่อใช้เป็นข้อมูลประกอบการจัดทาแผนงาน
•
- กำหนดวิธีการดาเนินการโดยละเอียดที่จะให้บรรลุตามวัตถุประสงค์และเป้าหมาย
•
- กำหนดเวลาแล้วเสร็จของแผนงานและระยะเวลาในการดาเนินงานแต่ละขั้นตอน
•
- กำหนดผู้รับผิดชอบแผนงานโดยรวม
และผู้รับผิดชอบในแต่ละขั้นตอนของแผนงาน
•
- จัดเตรียมทรัพยากรที่จาเป็นต้องใช้
เช่น เครื่องมืออุปกรณ์ บุคลากร ค่าใช้จ่าย
•
- ผู้มีอำนาจพิจารณาอนุมัติ
31
•
• องค์กรต้องมีการนาแผนงานด้านสิ่งแวดล้อมไปปฏิบัติให้เกิดประสิทธิผล
รวมทั้งควรกาหนดวิธีการเฝ้าติดตาม และการบันทึกผลการดาเนินงานตามแผนงานด้านสิ่งแวดล้อม
•
• ผู้บริหารระดับสูงควรมีการทบทวนและปรับปรุงนโยบายด้านสิ่งแวดล้อม
ให้เหมาะสมกับสภาพการณ์ที่เปลี่ยนแปลงด้วย
ตัวอย่างการจัดทาแผนงานด้านสิ่งแวดล้อม แผนงานจัดการสิ่งแวดล้อม EMP No : 01/2559
|
ผู้รับผิดชอบแผนงาน : คุณกิตติกร สีสะอาด
|
|||||||||||||||
ชื่อแผนงาน : โครงการประหยัดกระดาษ
|
||||||||||||||||
ผู้อนุมัติแผนงาน : คุณอนุรักษ์ สิ่งแวดล้อม
|
งบประมาณที่ใช้ : 3,000 บาท
|
วันที่อนุมัติแผนงาน : 4 สิงหาคม 2559
|
กำหนดเสร็จสิ้นแผนงาน : 31 ตุลาคม 2559
|
|||||||||||||
วัตถุประสงค์ เพื่อให้การดาเนินการโครงการประหยัดกระดาษ เป็นไปตามเป้าหมายตามที่กำหนดและสร้างความตระหนักให้กับพนักงานในการช่วยการประหยัดค่าใช้จ่ายให้กับบริษัทฯ
|
เป้าหมาย ลดการใช้กระดาษลงจากเดิม 10% ของอัตราการใช้กระดาษ ตั้งแต่ปี
2558 ของแต่ละเดือน โดยเปรียบเทียบกับการใช้กระดาษในปี
2559 ของแต่ละเดือน...........โดยคำนวณการใช้กระดาษ
(รีม)
|
ตัวชี้วัด จานวนกระดาษที่ลดลงในแต่ละเดือน
|
||||||||||||||
ลาดับที่
|
ขั้นตอนการดาเนินงาน
|
ผู้รับผิดชอบ
|
2559
|
กำหนดเสร็จ
|
||||||||||||
สิงหาคม
|
กันยายน
|
ตุลาคม
|
||||||||||||||
1
|
2
|
3
|
4
|
1
|
2
|
3
|
4
|
1
|
2
|
3
|
4
|
|||||
เกณฑ์กำหนดอุตสาหกรรมสีเขียว ระดับที่ 3 (ต่อ)
ข้อ 3 การนาไปปฏิบัติ
(1) องค์กรต้องจัดสรรทรัพยากรให้เพียงพอต่อการบริหารจัดการด้านสิ่งแวดล้อม
(2) องค์กรต้องมีการฝึกอบรมและการสร้างจิตสานึกให้กับบุคลากรที่ทางานให้องค์กรหรือทางานในนามองค์กรเพื่อให้เกิดความตระหนักต่อประเด็นด้านสิ่งแวดล้อมและผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม
(3) องค์กรต้องกำหนดช่องทางและวิธีการสื่อสารข้อมูลด้านสิ่งแวดล้อมให้กับบุคคลภายในองค์กรและบุคคลภายนอกองค์กร
(4) องค์กรต้องจัดทาขั้นตอนการดาเนินงานในการควบคุมเอกสารที่ถูกกำหนดโดยระบบการจัดการด้านสิ่งแวดล้อม
(5) องค์กรต้องจัดทาขั้นตอนการดาเนินงานเพื่อควบคุมการปฏิบัติในการลดผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม
ลดผลกระทบต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และการใช้ทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพและอย่างยั่งยืน
(6) องค์กรต้องจัดทาขั้นตอนการดาเนินงานรองรับสถานการณ์ฉุกเฉิน
หรืออุบัติภัยที่มีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและชุมชน
แนวทางปฏิบัติสาหรับผู้ประกอบการอุตสาหกรรม
•
• องค์กรต้องจัดทาขั้นตอนการดาเนินงานในการเฝ้าติดตามและวัดผลของค่าต่างๆ
ให้ครอบคลุมค่าต่างๆ ของการปฏิบัติงานที่เกิดผลกระทบที่สำคัญต่อสิ่งแวดล้อม บันทึกข้อมูลของการเฝ้าติดตามและตรวจวัด
รวมทั้งเครื่องมือวัดและอุปกรณ์ที่ใช้ในการเฝ้าติดตาม และตรวจวัดต้องได้รับการสอบเทียบ
หรือทวนสอบ และได้รับการบำรุงรักษา และจัดเก็บบันทึกได้
•
• องค์กรต้องกำหนดขั้นตอนการดาเนินงานที่ระบุถึงความถี่และวิธีการสาหรับการประเมินความสอดคล้องกับกฎหมายและข้อกำหนดอื่นๆ
ที่เกี่ยวข้อง ดาเนินการประเมินความสอดคล้องกับกฎหมายและข้อกำหนดอื่นๆ ตามระยะเวลาและ
วิธีการที่กำหนดไว้ บันทึก ผลการประเมินความสอดคล้อง และรายงานผลการประเมินความสอดคล้องให้ผู้เกี่ยวข้อง
•
• องค์กรต้องกำหนดขั้นตอนการดาเนินงานสาหรับการดาเนินการกับข้อบกพร่องที่เกิดขึ้นแล้ว
หรืออาจจะเกิดขึ้นและปฏิบัติการแก้ไข และป้องกัน โดยต้องประกอบด้วยขั้นตอนการแจ้งให้มีการแก้ไขและป้องกันข้อบกพร่อง
การดาเนินการเบื้องต้นกับข้อบกพร่อง การค้นหาสาเหตุที่แท้จริง การดาเนินการป้องกันการเกิดข้อบกพร่องซ้า
การทบทวนและปรับปรุงสิ่งที่เกี่ยวข้องและการบันทึกผลการดาเนินการ
•
• องค์กรต้องกำหนดขั้นตอนการดาเนินงานสาหรับการชี้บ่ง
จัดเก็บ ป้องกัน เรียกใช้งาน กาหนดอายุจัดเก็บและทาลายบันทึกโดยบันทึกต่างๆ ต้องสามารถอ่านได้ง่าย
ชี้บ่งและตอบกลับได้
•
• องค์กรต้องกำหนดขั้นตอนการดาเนินงานสาหรับการตรวจประเมินภายในเพื่อตรวจสอบว่าระบบการจัดการสิ่งแวดล้อมสอดคล้องกับแผนงานสาหรับการจัดการสิ่งแวดล้อม
มีการนาไปปฏิบัติและคงไว้อย่างเหมาะสม โดยขั้นตอนหลักประกอบด้วยการจัดเตรียมผู้ประเมินภายใน
การวางแผนการตรวจประเมินภายใน การดาเนินการตรวจประเมินภายใน การรายงานผลการตรวจประเมินภายใน
การตรวจติดตามผลการแก้ไขและป้องกัน และสรุปผลเพื่อนาเข้าทบทวนโดยฝ่ายบริหาร
เกณฑ์กำหนดอุตสาหกรรมสีเขียว ระดับที่ 3 (ต่อ)
ข้อ 5 การทบทวนและรักษาระบบ
ผู้บริหารสูงสุดขององค์กรต้องทบทวนระบบการจัดการด้านสิ่งแวดล้อมขององค์กรตามช่วงเวลาที่กำหนดเพื่อให้
มั่นใจว่าเป็นไปตามข้อกำหนดของกฎหมายที่เกี่ยวข้อง และระบบการจัดการด้านสิ่งแวดล้อมยังคงมีความเหมาะสม
และเกิดประสิทธิผลอย่างต่อเนื่อง
แนวทางปฏิบัติสาหรับผู้ประกอบการอุตสาหกรรม
•
• ผู้บริหารระดับสูงต้องทบทวนระบบการจัดการสิ่งแวดล้อมตามช่วงระยะเวลาที่กำหนดเพื่อให้มั่นใจว่าระบบยังคงมีความเหมาะสม
พอเพียง และเกิดประสิทธิผล
•
• มีการประเมินถึงโอกาสในการปรับปรุงและความจาเป็นในการเปลี่ยนแปลงต่อระบบการจัดการสิ่งแวดล้อม
นโยบายสิ่งแวดล้อม วัตถุประสงค์และเป้าหมายด้านสิ่งแวดล้อม
•
• มีการจัดเก็บบันทึกการทบทวน
แนวทางปฏิบัติเพื่อพัฒนาเข้าสู่อุตสาหกรรมสีเขียว ระดับที่ 3 : ระบบสีเขียว สาหรับวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม
และวิสาหกิจชุมชน
เกณฑ์กำหนดอุตสาหกรรมสีเขียว ระดับที่ 3
ข้อ 1 บริบทขององค์กร
1.1. การทาความเข้าใจบริบทขององค์กร
องค์กรควรพิจารณาสภาพแวดล้อมภายนอกและสภาพแวดล้อมภายในที่มีผลกระทบต่อระบบการจัดการสิ่งแวดล้อม
แนวทางปฏิบัติสาหรับผู้ประกอบการการอุตสาหกรรม
•
• องค์กรควรพิจารณาสภาพแวดล้อมภายนอก
ซึ่งอาจรวมถึงข้อมูลวัฒนธรรม สังคม การเมือง การเงิน เทคโนโลยี เศรษฐกิจ สิ่งแวดล้อม
ที่มีผลกระทบต่อระบบการจัดการสิ่งแวดล้อมโดยข้อมูลอาจมาจากแหล่งภายนอก เช่น สื่อต่างๆ
ลูกค้า ผู้ส่งมอบ หุ้นส่วน กลุ่มชุมชน ผลงานวิจัย รายงานเศรษฐกิจ และอื่นๆ
•
• องค์กรควรพิจารณาสภาพแวดล้อมภายใน
ซึ่งอาจมาจากข้อมูลโครงสร้างองค์กรขีดความสามารถ การปฏิบัติตามกฎหมาย วัฒนธรรมองค์กร
งบประมาณ สถานภาพทางการเงินที่มีผลกระทบต่อระบบการจัดการสิ่งแวดล้อม โดยข้อมูลอาจมาจากแหล่งข้อมูลภายใน
เช่น ข้อมูลทางบัญชี ข้อมูลทรัพยากรบุคคล ผลการดาเนินงาน รายงานข้อบกพร่องที่ผ่านมาและอื่นๆ
เกณฑ์กำหนดอุตสาหกรรมสีเขียว ระดับที่ 3 (ต่อ)
1.2. การทาความเข้าใจความต้องการและความคาดหวังของผู้มีส่วนได้เสีย
องค์กรควรชี้บ่งกลุ่มผู้มีส่วนได้เสียที่เกี่ยวข้องกับระบบการจัดการสิ่งแวดล้อม
และพิจารณาความต้องการและความคาดหวังของกลุ่มผู้มีส่วนได้เสียดังกล่าว
แนวทางปฏิบัติสาหรับผู้ประกอบการอุตสาหกรรม
•
• องค์กรควรชี้บ่งผู้มีส่วนได้เสียภายนอกเกี่ยวข้องกับระบบการจัดการสิ่งแวดล้อม
เช่น หน่วยงาน ภาครัฐ ผู้ส่งมอบ ลูกค้า ชุมชนใกล้เคียง ผู้ถือหุ้น และอื่นๆ ซึ่งอาจเป็นบุคคล
กลุ่มบุคคล หรือองค์กร
•
• องค์กรควรชี้บ่งผู้มีส่วนได้เสียภายในที่เกี่ยวข้องกับระบบการจัดการสิ่งแวดล้อม
เช่น พนักงาน ลูกจ้าง
•
• องค์กรควรพิจารณาความต้องการและความคาดหวังของกลุ่มผู้มีส่วนได้เสียที่เกี่ยวข้องกับระบบการจัดการสิ่งแวดล้อม
เช่น นักลงทุนคาดหวังว่าความเสี่ยงและโอกาสที่มีผลกระทบต่อการดาเนินงานจะต้องถูกจัดการเพื่อปกป้องผลตอบกลับจากการลงทุน
ชุมชนใกล้เคียงคาดหวังความรับผิดชอบ ความซื่อสัตย์และความรวดเร็วในการดาเนินงานด้านสิ่งแวดล้อม
38
เกณฑ์กำหนดอุตสาหกรรมสีเขียว ระดับที่ 3 (ต่อ)
2. ความเป็นผู้นา
2.1 ความเป็นผู้นาและความมุ่งมั่น
ผู้บริหารสูงสุดแสดงให้เห็นถึงความเป็นผู้นาและความมุ่งมั่นที่เกี่ยวข้องกับระบบการจัดการสิ่งแวดล้อม
โดยความเป็นผู้นาและความมุ่งมั่น ควรรวมถึง
-
การเป็นผู้รับผิดชอบต่อประสิทธิผลของระบบการจัดการสิ่งแวดล้อม
-
มั่นใจว่ามีการจัดสรรทรัพยากรที่จาเป็นเพียงพอ
-
สื่อสารถึงความสำคัญของระบบการจัดการสิ่งแวดล้อม
-
สนับสนุนบุคลากรเข้ามามีส่วนร่วมในระบบจัดการสิ่งแวดล้อม
-
ส่งเสริมการปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง
แนวทางปฏิบัติสาหรับผู้ประกอบการอุตสาหกรรม
•
• ผู้บริหารควรติดตามผลการดาเนินงานด้านสิ่งแวดล้อม
เช่น การบรรลุตามวัตถุประสงค์และเป้าหมาย การดาเนินการสอดคล้องกับกฎหมายและข้อกำหนดอื่นๆ
ด้านสิ่งแวดล้อม และพิจารณาดาเนินการทันทีต่อผลการดาเนินงานด้านสิ่งแวดล้อม ได้แก่
การปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง หรือการปฏิบัติการแก้ไข
•
• ผู้บริหารควรกำหนด จัดหาและบารุงรักษาทรัพยากรที่จาเป็น
สาหรับการจัดทา นาไปปฏิบัติบารุงรักษาและปรับปรุงระบบการจัดการด้านสิ่งแวดล้อม ซึ่งรวมถึงความเพียงพอ
พร้อมใช้
•
• ผู้บริหารควรกำหนดช่องทางการสื่อสารที่เหมาะสม
เช่น ป้ายประชาสัมพันธ์ หนังสือเวียน อินทราเน็ต หรือช่องทางอื่น เพื่อสื่อสารข้อมูลระบบการจัดการสิ่งแวดล้อม
เช่น ผลการดาเนินงาน
•
• ผู้บริหารควรกำหนดหน้าที่ความรับผิดชอบที่เหมาะสมกับความรู้ความสามารถ
เพื่อให้บุคลากรสามารถเข้ามามีส่วนร่วมในระบบการจัดการสิ่งแวดล้อม
•
• ผู้บริหารควรส่งเสริมการปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง
ผ่านช่องทางต่างๆ เช่น การตัดสินใจช่องทางทบทวนโดยฝ่ายบริหาร การแข่งขันการเสนอผลงานสาหรับนาไปใช้ปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง
เกณฑ์กำหนดอุตสาหกรรมสีเขียว ระดับที่ 3 (ต่อ)
2.2 นโยบายด้านสิ่งแวดล้อม
ผู้บริหารสูงสุดขององค์กรต้องกำหนดนโยบายด้านสิ่งแวดล้อม ที่ครอบคลุมถึงความมุ่งมั่นที่จะดาเนินการเพื่อ
a)
การลดผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม หรือการป้องกันมลพิษ
(Prevention of pollution) หรือ
b)
การใช้ทรัพยากรอย่างยั่งยืน (Sustainable resource use) หรือ
c)
การลดผลกระทบต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (Climate change
mitigation and adaptation) หรือ
d)
การปกป้องและฟื้นฟูธรรมชาติ (Protection and restoration of
the natural environment) นโยบายด้านสิ่งแวดล้อมต้องจัดทาเป็นเอกสารและสื่อสารให้บุคลากรขององค์กรทราบ
รวมถึงพร้อมเปิดเผยต่อผู้มีส่วนได้เสีย 39
เกณฑ์กำหนดอุตสาหกรรมสีเขียว ระดับที่ 3 (ต่อ)
โดยนโยบายด้านสิ่งแวดล้อมควร
-
เหมาะสมกับบริบทขององค์กร และผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมของกิจกรรม ผลิตภัณฑ์และบริการ
-
ให้กรอบสาหรับการกำหนดและทบทวนวัตถุประสงค์สิ่งแวดล้อม
-
รวมถึงความมุ่งมั่นในการบรรลุผลต่อกฎหมายและข้อกำหนดอื่นๆ ด้านสิ่งแวดล้อมที่เกี่ยวข้องกับประเด็นสิ่งแวดล้อม
-
รวมถึงความมุ่งมั่นในการปรับปรุงระบบการจัดการสิ่งแวดล้อมอย่างต่อเนื่อง
แนวทางปฏิบัติสาหรับผู้ประกอบการอุตสาหกรรม
•
• ผู้บริหารระดับสูงสุดขององค์กรต้องกำหนดนโยบายด้านสิ่งแวดล้อมและจัดทาเป็นลายลักษณ์อักษร
พร้อมทั้งลงนามในประกาศนโยบายด้านสิ่งแวดล้อม
•
• สาหรับการกำหนดนโยบายด้านสิ่งแวดล้อมควรมุ่งเน้นไปในทิศทางของการลดผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม
การป้องกันผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม การใช้ทรัพยากรอย่างยั่งยืน การลดผลกระทบต่อการต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ
และการป้องกันและฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติ
•
• ผู้บริหารระดับสูงขององค์กรต้องเผยแพร่และทาความเข้าใจนโยบายด้านสิ่งแวดล้อมให้กับทุกคนที่ทางานให้กับองค์กร
หรือทางานในนามขององค์กร เพื่อให้นานโยบายไปปฏิบัติอย่างจริงจังและสม่ำเสมอ โดยอาจใช้วิธีการใดวิธีการตามความเหมาะสม
เช่น การติดประกาศ การประชุมชี้แจง การฝึกอบรม การเผยแพร่ผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ เป็นต้น
•
• องค์กรควรเปิดเผยและสื่อสารนโยบายด้านสิ่งแวดล้อมให้กับผู้มีส่วนได้เสียที่องค์กรชี้บ่งรวมถึงสาธารณชนทั่วไป
และเผยแพร่ต่อชุมชนโดยรอบ เพื่อแสดงให้เห็นถึงความมุ่งมั่นด้านสิ่งแวดล้อม โดยอาจใช้วิธีการใดวิธีการหนึ่งตามความเหมาะสม
•
• นโยบายควรกาหนดกรอบชัดเจนถึงความมุ่งเน้นด้านสิ่งแวดล้อมที่องค์กรจะจัดการ
เกณฑ์กำหนดอุตสาหกรรมสีเขียว ระดับที่ 3 (ต่อ)
2.3 บทบาทหน้าที่ ความรับผิดชอบและอำนาจหน้าที่ในองค์กร
ผู้บริหารสูงสุดต้องมั่นใจว่า ความรับผิดชอบและอำนาจหน้าที่สาหรับบทบาทหน้าที่ต่างๆ
ได้มีการมอบหมายและสื่อสารเป็นที่เข้าใจในองค์กร
โดยความรับผิดชอบและอำนาจหน้าที่ ควรรวมถึง
-
ความรับผิดชอบและอำนาจหน้าที่ที่เป็นไปตามข้อกำหนดของเกณฑ์ฉบับนี้
-
รายงานสมรรถนะของระบบการจัดการสิ่งแวดล้อมต่อผู้บริหารสูงสุด 40
แนวทางปฏิบัติสาหรับผู้ประกอบการอุตสาหกรรม
•
• ผู้บริหารสูงสุดต้องกำหนดความรับผิดชอบ
และอำนาจหน้าที่ สาหรับบทบาทหน้าที่ต่างๆในองค์กร เพื่อให้บุคลากรในองค์กรรู้บทบาท
อำนาจ หน้าที่ และความรับผิดชอบ ต่อระบบการจัดการด้านสิ่งแวดล้อม เช่น หนังสือมอบหมายงาน
ใบพรรณนางาน
•
• ควรรับผิดชอบและอำนาจหน้าที่ที่กำหนดนั้น
ควรรวมถึงความรับผิดชอบและอำนาจหน้าที่ที่ระบุตามมาตรฐาน และหน้าที่รายงานสมรรถนะของระบบการจัดการสิ่งแวดล้อมต่อผู้บริหารสูงสุด
เกณฑ์กำหนดอุตสาหกรรมสีเขียว ระดับที่ 3 (ต่อ)
3. การวางแผน
3.1. การปฏิบัติการเพื่อดาเนินการกับความเสี่ยงและโอกาส
3.1.1. ทั่วไป
ในการวางแผนสาหรับระบบการจัดการสิ่งแวดล้อม องค์กรควรพิจารณาบริบทขององค์กร
ความต้องการและความคาดหวังของผู้มีส่วนได้เสีย และควรชี้บ่งความเสี่ยงและโอกาสที่เกี่ยวข้องกับ
-
ประเด็นด้านสิ่งแวดล้อม (ข้อ 3.1.2)
-
กฎหมายและข้อกำหนดอื่นๆด้านสิ่งแวดล้อม (ข้อ
3.1.3)
และควรวางแผนดาเนินการกับความเสี่ยงและโอกาสตามความเหมาะสม
แนวทางปฏิบัติสาหรับผู้ประกอบการอุตสาหกรรม
•
• องค์กรควรพิจารณาบริบทขององค์กร
ซึ่งรวมถึงสภาพแวดล้อมภายในและสภาพแวดล้อมภายนอก และความต้องการและความคาดหวังของผู้มีส่วนได้เสีย
และชี้บ่งความเสี่ยงและโอกาสที่จะมีผลกระทบต่อประเด็นด้านสิ่งแวดล้อม กฎหมายและข้อกำหนดอื่นๆด้านสิ่งแวดล้อม
ได้แก่ ความเสี่ยงและโอกาสที่มีผลต่อการดาเนินงานด้านสิ่งแวดล้อม ได้แก่ ความเสี่ยงและโอกาสที่มีผลต่อการดาเนินงานด้านสิ่งแวดล้อมการปฏิบัติตามกฎหมายและข้อกำหนดอื่นๆ
ด้านสิ่งแวดล้อม และการบรรลุวัตถุประสงค์เป้าหมายด้านสิ่งแวดล้อม
•
• องค์กรควรวางแผนดาเนินการกับความเสี่ยง
เช่น การหลีกเลี่ยงความเสี่ยง การลดโอกาสเกิดความเสี่ยง การลดผลกระทบ การกำหนดมาตรการควบคุมการดาเนินงาน
อาจเป็นวิธีเดียวหรือหลายวิธีผสมผสานกัน
•
• องค์กรควรวางแผนดาเนินการกับโอกาส
เช่น การนาไปสู่การปรับปรุงอย่างต่อเนื่องระบบต่อไป
เกณฑ์กำหนดอุตสาหกรรมสีเขียว ระดับที่ 3 (ต่อ)
3.1.2. ประเด็นด้านสิ่งแวดล้อม
องค์กรต้องชี้บ่งประเด็นด้านสิ่งแวดล้อมซึ่งเกิดจากทุกกิจกรรม ผลิตภัณฑ์และการบริการขององค์กรและพิจารณากำหนดประเด็นด้านสิ่งแวดล้อมซึ่งทาให้เกิดผลกระทบที่มีนัยสำคัญต่อสิ่งแวดล้อม
เกณฑ์กำหนดอุตสาหกรรมสีเขียว ระดับที่ 3 (ต่อ)
องค์กรต้องจัดทาเอกสาร เกี่ยวกับ
- ประเด็นด้านสิ่งแวดล้อมและผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมที่เกี่ยวข้อง
- เกณฑ์ที่ใช้เพื่อการพิจารณาประเด็นด้านสิ่งแวดล้อมที่มีนัยสำคัญ
- ประเด็นด้านสิ่งแวดล้อมที่มีนัยสำคัญ
โดยการชี้บ่งประเด็นด้านสิ่งแวดล้อม ควรพิจารณา
- ผลิตภัณฑ์และบริการที่องค์กรสามารถควบคุมและสามารถมีอิทธิพลต่อผลิตภัณฑ์และบริการนั้น
(ถ้ามี)
- มุมมองวัฏจักรชีวิต (Life cycle) (ถ้ามี) การเปลี่ยนแปลง รวมถึงแผนหรือการพัฒนาใหม่ หรือปรับเปลี่ยนกิจกรรม
ผลิตภัณฑ์และบริการ
- สภาวะผิดปกติ และสถานการณ์ฉุกเฉินอย่างสมเหตุสมผล
องค์กรควรสื่อสารประเด็นด้านสิ่งแวดล้อมที่มีนัยสำคัญภายในองค์กรตามความเหมาะสม
แนวทางปฏิบัติสาหรับผู้ประกอบการอุตสาหกรรม
•
• องค์กรต้องมีขั้นตอนการดาเนินงานในการชี้บ่งประเด็นด้านสิ่งแวดล้อมจากกิจกรรม
ผลิตภัณฑ์และบริการภายใต้ขอบข่ายระบบการจัดการสิ่งแวดล้อม และดาเนินการประเมินหาประเด็นที่ทาให้เกิดผลกระทบที่มีนัยสำคัญ
•
• ควรจัดทาเอกสารที่ระบุเกณฑ์ประเมินประเด็นด้านสิ่งแวดล้อม
เพื่อกำหนดประเด็นด้านสิ่งแวดล้อมที่มีนัยสำคัญ
•
• ควรจัดทาเอกสารระบุประเด็นด้านสิ่งแวดล้อมที่องค์กรชี้บ่งและผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมที่เกี่ยวข้องกับประเด็นด้านสิ่งแวดล้อมนั้น
•
• ควรจัดทาเอกสารระบุประเด็นด้านสิ่งแวดล้อมที่มีนัยสำคัญ
•
• การชี้บ่งประเด็นด้านสิ่งแวดล้อม
ควรชี้บ่งครอบคลุมผลิตภัณฑ์และบริการที่องค์กรสามารถควบคุมได้ และสามารถมีอิทธิพลต่อผลิตภัณฑ์และบริการนั้น
(ถ้ามี) เช่น กิจกรรมอยู่นอกการควบคุมองค์กร แต่องค์กรสามรถขอความร่วมมือให้ผู้ควบคุมกิจกรรมนั้นจัดการด้านสิ่งแวดล้อมได้
เช่น การจ้างผู้รับเหมาขนส่งอยู่นอกการควบคุม แต่องค์กรสามารถขอความร่วมมือผู้รับเหมาได้
ดังนั้นจึงควรชี้บ่งประเด็นด้านสิ่งแวดล้อมจากกิจกรรมขนส่งด้วย
•
• การชี้บ่งประเด็นด้านสิ่งแวดล้อม
ควรชี้บ่งครอบคลุมผลิตภัณฑ์และบริการตลอดวัฏจักรชีวิต (Life cycle) (ถ้ามี) เช่น ชี้บ่งประเด็นด้านสิ่งแวดล้อม ตั้งแต่วัตถุดิบหรือทรัพยากรธรรมชาติ
การผลิต การขนส่ง การใช้ ไปจนถึงการกาจัด
•
• องค์กรมีการเปลี่ยนแปลง
รวมถึงแผนหรือการพัฒนาใหม่ หรือปรับเปลี่ยนกิจกรรมผลิตภัณฑ์และบริการ ควรได้รับการชี้บ่งประเด็นด้านสิ่งแวดล้อมเพิ่มเติม
เกณฑ์กำหนดอุตสาหกรรมสีเขียว ระดับที่ 3 (ต่อ)
6.3. การทบทวนโดยฝ่ายบริหาร
ผู้บริหารสูงสุดขององค์กรต้องทบทวนระบบการจัดการสิ่งแวดล้อมขององค์กรตามช่วงเวลาที่กำหนดเพื่อให้มั่นใจว่าเป็นไปตามกฎหมายและข้อกำหนดอื่นๆ
ด้านสิ่งแวดล้อมที่เกี่ยวข้องและระบบการจัดการสิ่งแวดล้อมยังคงความเหมาะสม และเกิดประสิทธิผลอย่างต่อเนื่อง
และจัดเก็บบันทึกไว้เป็นหลักฐาน
ข้อมูลสาหรับการทบทวนโดยฝ่ายบริหาร ควรรวมถึง
- การติดตามผลของการดาเนินการจากการทบทวนโดยฝ่ายบริหารครั้งก่อน
- การเปลี่ยนแปลงที่เกี่ยวข้องกับระบบการจัดการสิ่งแวดล้อม
เช่น บริบทขององค์กร กฎหมายและข้อกำหนดอื่นๆ ด้านสิ่งแวดล้อมที่เกี่ยวข้อง ประเด็นด้านสิ่งแวดล้อมที่มีนัยสำคัญและความเสี่ยง
- วัตถุประสงค์และแผนงานด้านสิ่งแวดล้อม
- ผลการดาเนินงานด้านสิ่งแวดล้อมขององค์กร เช่น ผลการตรวจประเมินภายในและผลการตรวจประเมินโดยหน่วยงานภายนอก
ผลการประเมินความสอดคล้องผลการปฏิบัติการแก้ไข
ผลลัพธ์ของการทบทวนโดยฝ่ายบริหารควรรวมถึง
- ผลสรุปที่เกี่ยวกับประสิทธิผลของระบบการจัดการสิ่งแวดล้อม
- การตัดสินใจที่เกี่ยวข้องกับโอกาสการปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง
- การตัดสินใจเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงระบบการจัดการสิ่งแวดล้อม
รวมถึงทรัพยากร
- การดาเนินการเมื่อวัตถุประสงค์ไม่บรรลุผล 50
แนวทางปฏิบัติสาหรับผู้ประกอบการอุตสาหกรรม
•
• ผู้บริหารระดับสูงต้องเป็นผู้นาในการทบทวนระบบการจัดการสิ่งแวดล้อมตามช่วงระยะเวลาที่กำหนดเพื่อให้มั่นใจว่าระบบยังคงมีความเหมาะสม
พอเพียง และเกิดประสิทธิผล มีการประเมินถึงโอกาสในการปรับปรุงและความจาเป็นในการเปลี่ยนแปลงต่อระบบการจัดการสิ่งแวดล้อม
นโยบายสิ่งแวดล้อม วัตถุประสงค์และเป้าหมายด้านสิ่งแวดล้อม มีการจัดเก็บบันทึกการทบทวน
•
• หัวข้อการทบทวนควรประกอบด้วย
การติดตามผลของการดาเนินการจากการทบทวนโดยฝ่ายบริหารครั้งก่อน การเปลี่ยนแปลงที่เกี่ยวข้องกับระบบการจัดการสิ่งแวดล้อม
เช่น บริบทขององค์กร กฎหมายและข้อกำหนดอื่นๆ ด้านสิ่งแวดล้อมที่เกี่ยวข้อง ประเด็นด้านสิ่งแวดล้อมที่มีนัยสำคัญ
และความเสี่ยง วัตถุประสงค์และแผนงานด้านสิ่งแวดล้อม และผลการดาเนินงานด้านสิ่งแวดล้อมขององค์กร
เช่น ผลการตรวจประเมินภายใน และผลการตรวจประเมินโดยหน่วยงานภายนอก ผลการประเมินความสอดคล้อง
ผลการปฏิบัติการแก้ไข
•
• ภายหลังการทบทวนโดยฝ่ายบริหารแล้ว
ผู้บริหารสูงสุดควรมีการตัดสินใจ และมีคาสั่งที่รวมถึงผลสรุปที่เกี่ยวกับประสิทธิผลของระบบการจัดการสิ่งแวดล้อม
การตัดสินใจที่เกี่ยวข้องกับโอกาสการปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง การตัดสินใจเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงระบบการจัดการสิ่งแวดล้อม
รวมถึงทรัพยากร การดาเนินการเมื่อวัตถุประสงค์ไม่บรรลุผล
เกณฑ์กำหนดอุตสาหกรรมสีเขียว ระดับที่ 3 (ต่อ)
7. การปรับปรุง
7.1. ข้อบกพร่องและปฏิบัติการแก้ไข
องค์กรต้องดาเนินการกับข้อบกพร่องด้านสิ่งแวดล้อมที่เกิดขึ้น และปฏิบัติการแก้ไข
โดยวิเคราะห์สาเหตุของข้อบกพร่อง ดาเนินการกาจัดสาเหตุของข้อบกพร่องเพื่อไม่ให้เกิดขึ้นซ้า
และจัดเก็บบันทึกไว้เป็นหลักฐาน
แนวทางปฏิบัติสาหรับผู้ประกอบการอุตสาหกรรม
•
• องค์กรต้องกำหนดขั้นตอนการดาเนินงานสาหรับการดาเนินการกับข้อบกพร่องที่เกิดขึ้นแล้วหรืออาจจะเกิดขึ้น
และปฏิบัติการแก้ไขและป้องกัน โดยต้องประกอบด้วยขั้นตอนการแจ้งให้มีการแก้ไขและป้องกันข้อบกพร่อง
การดาเนินการเบื้องต้นกับข้อบกพร่อง การค้นหาสาเหตุที่แท้จริง การดาเนินการป้องกันการเกิดข้อบกพร่องซ้า
การทบทวนและปรับปรุงสิ่งที่เกี่ยวข้องและการบันทึกผลการดาเนินการ
เกณฑ์กำหนดอุตสาหกรรมสีเขียว ระดับที่ 3 (ต่อ)
7.2. การปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง
องค์กรต้องปรับปรุงระบบการจัดการสิ่งแวดล้อมอย่างต่อเนื่อง ตามความเหมาะสมและมีประสิทธิผล
แนวทางปฏิบัติสาหรับผู้ประกอบการอุตสาหกรรม
•
• องค์กรต้องปรับปรุงระบบการจัดการสิ่งแวดล้อมอย่างต่อเนื่อง
โดยอาจนาผลจากการดาเนินงานที่ผ่านมา การพิจารณาบริบทขององค์กร การประเมินโอกาส และผลการทบทวนโดยฝ่ายบริหาร
เป็นต้น
51
4) แนวทางปฏิบัติเพื่อพัฒนาเข้าสู่อุตสาหกรรมสีเขียว
ระดับที่ 4 : วัฒนธรรมสีเขียว
เกณฑ์กำหนดอุตสาหกรรมสีเขียว ระดับที่ 4
ข้อ 1 องค์กรต้องมีระบบการจัดการด้านสิ่งแวดล้อมเป็นไปตามเกณฑ์กาหนดระดับที่ 3 ทุกข้อ
แนวทางปฏิบัติสาหรับผู้ประกอบการอุตสาหกรรม
•
• องค์กรต้องจัดทาระบบการจัดการสิ่งแวดล้อม
ตามมาตรฐาน มอก./ISO 14001 หรือตามมาตรฐานอื่นๆ ที่เทียบเท่า
เกณฑ์กำหนดอุตสาหกรรมสีเขียว ระดับที่ 4 (ต่อ)
ข้อ 2 องค์กรต้องมีการสร้างวัฒนธรรมองค์กรด้านสิ่งแวดล้อมและความปลอดภัยที่เกี่ยวข้องกับลักษณะการประกอบกิจการอุตสาหกรรมขององค์กรและนามาปฏิบัติให้เกิดประสิทธิผล
โดยให้ครอบคลุมตามหลักการของมาตรฐานความรับผิดชอบต่อสังคม ISO 26000 ดังต่อไปนี้
2.1
องค์กรต้องมีความรับผิดชอบสาหรับผลกระทบจากองค์กรที่มีต่อสิ่งแวดล้อมและความปลอดภัย
โดยต้องมีความรับผิดชอบต่อ
(1)
ผลกระทบจากการตัดสินใจและการดาเนินการต่างๆ ขององค์กรต่อสังคม และสิ่งแวดล้อมโดยเฉพาะผลกระทบด้านลบที่มีนัยสำคัญ
(2)
การดาเนินการเพื่อการป้องกันผลกระทบด้านลบที่เกิดขึ้นโดยไม่ได้ตั้งใจเพื่อป้องกันไม่ให้เกิดซ้า
แนวทางปฏิบัติสาหรับผู้ประกอบการอุตสาหกรรม
•
• องค์กรต้องมีกระบวนการสร้างวัฒนธรรมองค์กร
และนาไปปฏิบัติให้เกิดประสิทธิผล ตัวอย่างขั้นตอนการสร้างวัฒนธรรม ได้แก่
•
- มีกระบวนการเพื่อให้บุคลากรภายในองค์กรเกิดความเชื่อร่วมกันเกี่ยวกับความสามารถขององค์กรในการดาเนินการลดผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม
ลดผลกระทบต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และการใช้ทรัพยากรอย่างยั่งยืน
•
- มีกระบวนการในการสร้างค่านิยมและจิตสานึกด้านสิ่งแวดล้อม
•
- มีกิจกรรมส่งเสริมการมีส่วนร่วมของบุคลากรที่จะสะท้อนถึงการแสดงออกของค่านิยมด้านสิ่งแวดล้อม
•
- มีการกำหนดแนวทางสาหรับการปฏิบัติเพื่อให้พฤติกรรมคงอยู่อย่างยั่งยืนจนกลายเป็นวัฒนธรรมองค์กรในการให้ความสำคัญและใส่ใจต่อสิ่งแวดล้อม
•
- มีการกำหนดวิธีการในการประเมินความคงอยู่ของวัฒนธรรมองค์กรด้านสิ่งแวดล้อมเหมาะสมกับสถานการณ์ที่มีการเปลี่ยนแปลง
•
• องค์กรต้องมีการกำหนดวิธีการในการประเมินผลกระทบจากการตัดสินใจและการดาเนินการต่างๆ
ขององค์กรต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม โดยเฉพาะผลกระทบด้านลบที่มีนัยสำคัญ
52
•
• องค์กรต้องมีการประเมินผลกระทบด้านลบที่มีนัยสำคัญต่อสังคมและสิ่งแวดล้อมในกรณีที่มีการตัดสินใจเกี่ยวกับการพัฒนาและ/หรือปรับปรุงเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์/บริการ กระบวนการผลิต
เครื่องจักร/อุปกรณ์ สถานที่ประกอบการกลยุทธ์ทางธุรกิจ
•
• องค์กรต้องจัดทาแผนงานหรือกำหนดมาตรการเพื่อรองรับและป้องกันผลกระทบด้านลบที่มีนัยสำคัญ
•
• องค์กรต้องมีการทบทวนและทวนสอบมาตรการป้องกันผลกระทบที่มีนัยสำคัญเป็นระยะ
เพื่อให้มั่นใจว่ายังคงเหมาะสมกับสถานการณ์ที่มีการเปลี่ยนแปลง
•
• ในกรณีที่เกิดข้อผิดพลาดจากการทางานขึ้น
องค์กรต้องมีการกำหนดมาตรการอย่างเหมาะสมในการแก้ไขสิ่งที่ผิดพลาดนั้น และดาเนินการปฏิบัติการป้องกันเพื่อไม่ให้เกิดข้อผิดพลาดขึ้นซ้าอีก
และบันทึกผลการดาเนินการต่างๆ
เกณฑ์กำหนดอุตสาหกรรมสีเขียว ระดับที่ 4 (ต่อ)
2.2
องค์กรต้องมีความโปร่งใสในการตัดสินใจและการดาเนินการต่างๆ ที่มีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและความปลอดภัย
องค์กรต้องมีการเปิดเผยอย่างชัดเจน ถูกต้อง และครบถ้วน โดย
(1)
ผู้ที่ได้รับผลกระทบจากการดาเนินงานขององค์กร สามารถเข้าถึงข้อมูลได้โดยตรงและง่ายต่อความเข้าใจ
(2)
ข้อมูลต้องเหมาะสมกับช่วงเวลา เป็นข้อเท็จจริง ชัดเจน และมีความน่าเชื่อถือ
เพื่อให้ผู้ที่เกี่ยวข้องสามารถประเมินผลได้อย่างถูกต้อง
แนวทางปฏิบัติสาหรับผู้ประกอบการอุตสาหกรรม
•
• องค์กรต้องมีการชี้บ่งผู้มีส่วนได้เสียในแต่ละภาคส่วนให้ชัดเจน
พร้อมทั้งผลกระทบที่จะเกิดขึ้นกับผู้มีส่วนได้เสียในแต่ละภาคส่วน ตัวอย่างผู้มีส่วนได้เสีย
เช่น พนักงานและครอบครัว ผู้ถือหุ้น ผู้ส่งมอบ/ผู้รับจ้างช่วง
ผู้แทนจาหน่าย ลูกค้า หน่วยงานราชการ ชุมชน
•
• องค์กรต้องจำแนกสารสนเทศเกี่ยวกับผลกระทบต่างๆ
และต้องจัดเตรียมให้ผู้มีส่วนได้เสียในแต่ละภาคส่วนรับทราบ
•
• องค์กรต้องมีการจัดเตรียมสารสนเทศเพื่อให้ผู้ที่ได้รับผลกระทบสามารถเข้าถึงได้โดยตรงและง่ายต่อการเข้าใจ
นอกจากนี้สารสนเทศต้องมีความเหมาะสมกับช่วงเวลา เป็นข้อเท็จจริง และนาเสนอในลักษณะที่มีความชัดเจน
และมีความน่าเชื่อถือ เพื่อทาให้ผู้มีส่วนได้เสียแต่ละส่วนสามารถประเมินผลได้อย่างถูกต้องเกี่ยวกับผลกระทบที่ได้รับจากการตัดสินใจและการดาเนินการต่างๆ
ขององค์กร
•
• องค์กรต้องมีขั้นตอนการดาเนินงานเพื่อให้มั่นใจว่าสารสนเทศได้มีการปรับปรุงให้เป็นปัจจุบันและมีความถูกต้อง
53
เกณฑ์กำหนดอุตสาหกรรมสีเขียว ระดับที่ 4 (ต่อ)
2.3
องค์กรต้องมีการส่งเสริมให้เกิดการปฏิบัติอย่างมีจริยธรรมด้านสิ่งแวดล้อม
อย่างจริงจัง โดย
(1)
ประกาศกำหนดค่านิยมและหลักการต่างๆ ด้านสิ่งแวดล้อมขององค์กรให้ชัดเจน
(2)
ดาเนินการตามโครงสร้างการบริหารที่ช่วยส่งเสริมให้เกิดการปฏิบัติอย่างมีจริยธรรมด้านสิ่งแวดล้อมภายในองค์กร
(3)
มีกลไกในการกากับดูแล และการควบคุมต่างๆ เพื่อเฝ้าติดตามให้การสนับสนุน
และการบังคับให้เกิดการปฏิบัติอย่างมีจริยธรรมด้านสิ่งแวดล้อม
(4)
มีการกระตุ้นและส่งเสริมให้เกิดการปฏิบัติอย่างมีจริยธรรมด้านสิ่งแวดล้อม
(5)
มีการป้องกันหรือแก้ไขการเกิดผลประโยชน์ทับซ้อนที่สามารถนาไปสู่การปฏิบัติอย่างไม่มีจริยธรรมด้านสิ่งแวดล้อมตลอดทั่วทั้งองค์กร
(6)
มีรายงานผลการปฏิบัติอย่างมีจริยธรรมด้านสิ่งแวดล้อม
แนวทางปฏิบัติสาหรับผู้ประกอบการอุตสาหกรรม
•
• พฤติกรรมขององค์กรต้องอยู่บนพื้นฐานของการมีค่านิยมที่เกี่ยวกับความซื่อสัตย์
ความเท่าเทียม และความยุติธรรม ค่านิยมเหล่านี้ยังหมายรวมถึงข้อกังวลสาหรับชุมชนและสิ่งแวดล้อม
และความมุ่งมั่นที่จะดาเนินการกับผลกระทบที่เกิดขึ้นจากการตัดสินใจและการดาเนินการต่างๆ
ขององค์กรต่อผลประโยชน์ของผู้มีส่วนได้เสีย
•
• องค์กรต้องมีการชี้บ่งและกำหนดค่านิยมและหลักการต่างๆ
ด้านสิ่งแวดล้อมขององค์กร
•
• องค์กรต้องมีการจัดโครงสร้างการบริหารที่ช่วยส่งเสริมให้เกิดการปฏิบัติอย่างมีจริยธรรมด้านสิ่งแวดล้อมภายในองค์กร
ซึ่งรวมทั้งในกระบวนการตัดสินใจและการมีปฏิสัมพันธ์กับหน่วยงานอื่นๆ
•
• องค์กรต้องกำหนดและรักษาไว้ซึ่งกลไกในการกากับดูแล
และการควบคุมต่างๆ เพื่อคอยเฝ้าติดตาม ให้การสนับสนุน และการบังคับให้เกิดการปฏิบัติอย่างมีจริยธรรม
•
• องค์กรต้องกำหนดและรักษาไว้ซึ่งกลไกในการกระตุ้นและการส่งเสริมให้เกิดการปฏิบัติตามมาตรฐานของการปฏิบัติอย่างมีจริยธรรมที่เกี่ยวข้องกับสิ่งแวดล้อมอย่างสม่ำเสมอ
•
• องค์กรต้องกำหนดและรักษาไว้ซึ่งกลไกในการป้องกัน
หรือแก้ไขการเกิดผลประโยชน์ทับซ้อนที่สามารถจะนาไปสู่การปฏิบัติอย่างไม่มีจริยธรรมตลอดทั่วทั้งองค์กร
•
• องค์กรต้องกำหนดและรักษาไว้ซึ่งกลไกในการให้ความช่วยเหลือในการทารายงานเกี่ยวกับการปฏิบัติอย่างมีจริยธรรม
และไม่มีจริยธรรมโดยปราศจากความหวาดกลัวจากการถูกข่มขู่
เกณฑ์กำหนดอุตสาหกรรมสีเขียว ระดับที่ 4 (ต่อ)
ข้อ 3 องค์กรต้องจัดทารายงานผลการดาเนินกิจกรรมด้านสิ่งแวดล้อมเพื่อเปิดเผยต่อสาธารณะ
แนวทางปฏิบัติสาหรับผู้ประกอบการอุตสาหกรรม
•
• องค์กรต้องมีการชี้บ่งและรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับผลการดาเนินกิจกรรมด้านสิ่งแวดล้อม
•
• องค์กรต้องมีกระบวนการในการตัดสินใจว่าข้อมูลเกี่ยวกับผลการดาเนินกิจกรรมด้านสิ่งแวดล้อมใดที่ต้องมีการเปิดเผยต่อสาธารณะ
•
• องค์กรต้องจัดทารายงานผลการดาเนินกิจกรรมด้านสิ่งแวดล้อมเพื่อเปิดเผยต่อสาธารณะ
ซึ่งอาจอยู่ในรายงานประจาปีขององค์กร หรือใช้ช่องทางสื่ออิเล็กทรอนิกส์
•
• องค์กรต้องกำหนดช่องทางหรือวิธีการในการเผยแพร่รายงานผลการดาเนินกิจกรรมด้านสิ่งแวดล้อมให้ผู้มีส่วนได้เสียรับทราบและเข้าถึงได้โดยง่าย
เกณฑ์กำหนดอุตสาหกรรมสีเขียว ระดับที่ 5 (ต่อ)
ข้อ 2 องค์กรต้องดาเนินการส่งเสริม สร้าง และสานสัมพันธ์กิจกรรมด้านสิ่งแวดล้อมกับผู้มีส่วนได้เสีย
(Stake Holder) ที่ครอบคลุมทั้งโซ่อุปทาน (Supply Chain) ชุมชน และผู้บริโภค
และต้องทาให้ประสบความสาเร็จที่เป็นรูปธรรมและมีการพัฒนาอย่างต่อเนื่องและยั่งยืน โดย
(1) ต้องส่งเสริมให้โซ่อุปทาน (Supply Chain) มุ่งสู่อุตสาหกรรมสีเขียว และนามาปฏิบัติให้เกิดประสิทธิผล โดยต้องดาเนินการให้ครอบคลุมทั่งโซ่อุปทาน
และต้องมีการพัฒนาอย่างต่อเนืองและยั่งยืน
(2) ต้องส่งเสริมการมีส่วนร่วมของชุมชน การพัฒนาชุมชน และต้องร่วมกับชุมชนในการกระตุ้นจิตสานึกและส่งเสริมความรู้ความเข้าใจต่อการบริโภคที่ยั่งยืน
โดยให้ความสำคัญและใส่ใจต่อสิ่งแวดล้อม
(3) ต้องให้ความรู้และสร้างความตระหนักแก่ผู้บริโภคในการบริโภคที่ยั่งยืน
แนวทางปฏิบัติสาหรับผู้ประกอบการอุตสาหกรรม
•
• องค์กรต้องมีการชี้บ่งผู้มีส่วนได้เสียกับการดาเนินธุรกิจขององค์กร
•
• องค์กรต้องมีการกำหนดและรักษาไว้ซึ่งกลไกในการส่งเสริม
สร้าง และสานกิจกรรมด้านสิ่งแวดล้อมกับผู้มีส่วนได้เสีย
•
• องค์กรต้องมีการจัดทาโครงการหรือแผนงานที่เกี่ยวข้องกับกิจกรรมด้านสิ่งแวดล้อมร่วมกับผู้มีส่วนได้เสียกับองค์กร
ตามศักยภาพและความพร้อมของผู้มีส่วนได้เสียในการเข้าร่วมกิจกรรมด้านสิ่งแวดล้อมกับองค์กร
•
• องค์กรต้องกำหนดและรักษาไว้ซึ่งกลไกในการส่งเสริมให้โซ่อุปทานขององค์กรมุ่งสู่อุตสาหกรรมสีเขียว
โดยอย่างน้อย ต้องครอบคลุมถึงผู้ผลิตวัตถุดิบโดยตรงให้กับองค์กร (Supplier)
ผู้รับจ้างช่วงงานขององค์กร (Subcontractor) ผู้ส่งมอบบริการโดยตรงให้กับองค์กร
(Service Provider)
•
• องค์กรต้องมีการจัดทาโครงการหรือแผนงานที่เกี่ยวข้องส่งเสริม
สร้างและสานสัมพันธ์กิจกรรมด้านสิ่งแวดล้อมกับโซ่อุปทานขององค์กร โดยอย่างน้อยต้องครอบคลุมถึงผู้ผลิตวัตถุดิบโดยตรงให้กับองค์กร
(Supplier) ผู้รับจ้างช่วงงานขององค์กร (Subcontractor) ผู้ส่งมอบบริการโดยตรงให้กับองค์กร (Service Provider)
58
•
• องค์กรควรมีการวางแผนงานส่งเสริมผู้ที่อยู่ในโซ่อุปทานในการส่งมอบวัตถุดิบ/บริการ ที่ไม่ได้ส่งมอบให้ องค์กรโดยตรง แต่เป็นผู้ส่งมอบในลาดับถัดๆ ไป รวมทั้งผู้ค้าส่ง
และผู้ค้าปลีก เข้าร่วมกิจกรรมด้าน สิ่งแวดล้อม เพื่อให้เกิดการปรับปรุงอย่างต่อเนื่องและมีการพัฒนาอย่างยั่งยืน
•
• องค์กรต้องมีการจัดทาโครงการหรือแผนงานที่เกี่ยวข้องส่งเสริม
สร้าง และสานสัมพันธ์กิจกรรมด้าน สิ่งแวดล้อมกับชุมชนที่มีโอกาสได้รับผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมจากการดาเนินงานต่างๆ
ขององค์กร เพื่อสร้างจิตสานึกด้านสิ่งแวดล้อมและสร้างความเข้าใจในการบริโภคอย่างยั่งยืน
•
• องค์กรต้องมีกิจกรรมหรือวิธีการในการสร้างความรู้ความเข้าใจ
และสร้างจิตสานึกให้กับผู้บริโภคซึ่งเป็น กลุ่มลูกค้าขององค์กรผู้แทนจาหน่ายสินค้าขององค์กร
(Trade Agency) หรือผู้ใช้ผลิตภัณฑ์ขององค์กร ให้ตระหนักถึงการบริโภคที่ยั่งยืน
เกณฑ์กำหนดอุตสาหกรรมสีเขียว ระดับที่ 5 (ต่อ)
ข้อ 3 องค์กรต้องจัดทารายงานการดาเนินการต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการส่งเสริม สร้าง
และสานสัมพันธ์ กิจกรรมด้านสิ่งแวดล้อมกับผู้มีส่วนได้เสีย และสรุปรายงานผลความสำเร็จเพื่อเผยแพร่
แนวทางปฏิบัติสาหรับผู้ประกอบการอุตสาหกรรม
•
• องค์กรต้องมีการรวบรวมข้อมูลผลการดาเนินการต่างๆ
ที่เกี่ยวข้องกับการส่งเสริม สร้าง และสาน สัมพันธ์กิจกรรมด้านสิ่งแวดล้อมกับ ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย
โซ่อุปทาน ชุมชน และผู้บริโภค
•
• องค์กรต้องจัดทาสรุปรายงานผลการดาเนินการต่างๆ
เพื่อแสดงให้เห็นถึงผลความสำเร็จของการ ดาเนินการ
•
• องค์กรต้องกำหนดวิธีการในการเผยแพร่รายงานการดาเนินการต่างๆ
หลักเกณฑ์และเงื่อนไข การรับรองอุตสาหกรรมสีเขียว
กระทรวงอุตสาหกรรมให้บริการรับรองอุตสาหกรรมสีเขียวโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อต้องการส่งเสริม
สนับสนุน และผลักดันให้องค์กร สถานประกอบการอุตสาหกรรม โรงงานอุตสาหกรรม หรือ สถานประกอบการเหมืองแร่ของประเทศไทยประสบความสำเร็จอย่างยั่งยืนในการบริหารจัดการผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม
ผลกระทบต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และการใช้ทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพและยั่งยืน
โดยในการดาเนินการรับรองของกระทรวงอุตสาหกรรมมุ่งเน้นให้ความช่วยเหลือและกระตุ้นให้มีการพัฒนาและยกระดับการบริหารจัดการด้านสิ่งแวดล้อม
และนาไปปฏิบัติให้เกิดประสิทธิผลและประสิทธิภาพอย่างจริงจังและต่อเนื่อง
7.1 ขอบข่าย
เอกสารนี้กำหนดขอบข่ายระดับอุตสาหกรรมสีเขียว นิยาม คุณสมบัติของผู้สมัคร
การรับรอง เงื่อนไขสาหรับผู้ได้รับการรับรองเงื่อนไขสาหรับผู้ได้รับการรับรองการตรวจติดตามผลและการตรวจประเมินใหม่
การเพิกถอนการรับรอง การยกเลิกการรับรอง การอุทธรณ์ การร้องเรียน และการโต้แย้งการรักษาความลับ
การแจ้งการเปลี่ยนแปลง และอื่นๆ รวมทั้งรูปแบบใบสมัครใบรับรอง และวิธีแสดงตราสัญลักษณ์การรับรองอุตสาหกรรมสีเขียว
ในภาคผนวก
7.2 ระดับอุตสาหกรรมสีเขียว
อุตสาหกรรมสีเขียว มี 5 ระดับ ดังต่อไปนี้
ระดับที่ 1 ความมุ่งมั่นสีเขียว (Green
Commitment) หมายถึง องค์กรที่มีความมุ่งมั่นที่จะลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและมีการสื่อสารภายในองค์กรให้ทราบโดยทั่วกัน
ระดับที่ 2 ปฏิบัติการสีเขียว (Green
Activity) หมายถึง องค์กรที่มีการดาเนินกิจกรรมเพื่อลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมได้สำเร็จตามความมุ่งมั่นที่ตั้งไว้
ระดับที่ 3 ระบบสีเขียว (Green System) หมายถึง
องค์กรที่มีการบริหารจัดการสิ่งแวดล้อมอย่างเป็นระบบ มีการติดตามประเมินผล และทบทวนเพื่อการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง
รวมถึงการได้รับรางวัลด้านสิ่งแวดล้อมที่เป็นที่ยอมรับ และการรับรองมาตรฐานด้านสิ่งแวดล้อมต่างๆ
ระดับที่ 4 วัฒนธรรมสีเขียว (Green
Culture) หมายถึง องค์กรที่ทุกคนในองค์กรให้ความร่วมมือร่วมใจดาเนินงานอย่างเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมในทุกด้านของการประกอบกิจการ
จนกลายเป็นส่วนหนึ่งของวัฒนธรรมองค์กร
ระดับที่ 5 เครือข่ายสีเขียว (Green
Network) หมายถึง องค์กรที่แสดงถึงการขยายเครือข่ายตลอดโซ่อุปทานสีเขียวโดยสนับสนุนให้คู่ค้าและพันธมิตรเข้าสู่กระบวนการรับรองอุตสาหกรรมสีเขียวด้วยรายละเอียดเกณฑ์กำหนดอุตสาหกรรมสีเขียวเป็นไปตามที่คณะอนุกรรมการประกาศกำหนด
68
7.3 คุณสมบัติของผู้สมัคร
ผู้สมัครต้องมีคุณสมบัติ ดังนี้
-
เป็นนิติบุคคลหรือบุคคลที่ได้รับใบอนุญาตประกอบกิจการโรงงาน ผู้รับประทานบัตรเหมืองแร่
หรือกิจการได้รับการจดทะเบียนการค้าในการประกอบธุรกิจทางด้านอุตสาหกรรม หรือเหมืองแร่
-
ไม่เป็นผู้ถูกเพิกถอนการรับรองอุตสาหกรรมสีเขียวมาก่อน เว้นแต่พ้นระยะเวลา
6 เดือนมาแล้ว
-
ต้องดาเนินงานสอดคล้องตามกฎหมายที่เกี่ยวข้อง
7.4 การรับรอง
1)
ผู้สมัครต้องยื่นใบสมัครต่อกระทรวงอุตสาหกรรม ตามแบบใบสมัครรับการรับรองอุตสาหกรรมสีเขียว
ที่กาหนดในภาคผนวก 8.2 พร้อมหลักฐาน
และเอกสารต่างๆ ตามที่ระบุไว้
2)
เมื่อกระทรวงอุตสาหกรรมได้รับใบสมัครแล้ว จะดาเนินการตามขั้นตอนในการตรวจสอบ/ตรวจประเมินเพื่อการรับรองอุตสาหกรรมสีเขียว ดังนี้
2.1)
พิจารณาใบสมัครและรายละเอียดต่างๆ ของผู้สมัคร
หากมีรายละเอียดที่จาเป็นต้องปรับปรุงแก้ไขจะแจ้งเป็นหนังสือให้ผู้สมัครทราบ
2.2)
กรณียื่นขอรับการรับรองอุตสาหกรรมสีเขียวระดับที่ 1 ถึง ระดับที่
3 เจ้าหน้าที่ในสังกัดหน่วยงานส่วนกลางหรือเจ้าหน้าที่ในสังกัดหน่วยงานภูมิภาคที่ได้รับมอบหมาย
จะดาเนินการประเมินเอกสารเอกสารตามเกณฑ์กำหนดอุตสาหกรรมสีเขียวระดับที่ 1 หรือระดับที่ 2 หรือระดับที่
3 ตามที่ประสงค์ขอรับการรับรอง
และสรุปผลการประเมินเอกสารเสนอหัวหน้าหน่วยงานส่วนกลางหรือหัวหน้าหน่วยงานส่วนภูมิภาคที่ได้รับมอบอำนาจเพื่อพิจารณาอนุมัติให้การรับรอง
2.3)
กรณียื่นขอรับการรับรองอุตสาหกรรมสีเขียวระดับที่ 4 หรือระดับที่ 5 จะมีการแต่งตั้งคณะผู้ประเมิน และดาเนินการตรวจประเมินตามเกณฑ์กำหนดอุตสาหกรรมสีเขียวระดับที่
4 หรือระดับที่ 5 ที่ประสงค์ขอรับการรับรอง และสรุปผลการประเมินนาเสนอคณะอนุกรรมการเพื่อพิจารณาอนุมัติให้การรับรอง
3)
เมื่อคณะอนุกรรมการ หรือหัวหน้าหน่วยงานส่วนกลาง หรือหัวหน้าหน่วยงานส่วนภูมิภาคได้พิจารณาอนุมัติให้การรับรองแล้ว
กระทรวงอุตสาหกรรมจะออกใบรับรองให้โดย
(3.1)
ใบรับรองให้เป็นไปตามตัวอย่างที่กำหนดใน ภาคผนวก 8.2
(3.2)
ใบรับรอง กำหนดอายุใบรับรองแต่ละระดับ ดังนี้
•
ใบรับรองอุตสาหกรรมสีเขียวระดับที่ 1 มีอายุ
1 ปี
•
ใบรับรองอุตสาหกรรมสีเขียวระดับที่ 2 มีอายุ
2 ปี
•
ใบรับรองอุตสาหกรรมสีเขียวระดับที่ 3, 4 และ 5
มีอายุ 3 ปี
(3.3)
ไม่สามารถโอนใบรับรองให้กับผู้อื่นได้
4)
การแสดงตราสัญลักษณ์การรับรองให้เป็นไปตามที่กำหนดไว้ใน ภาคผนวก
8.3 69
7.5 เงื่อนไขสาหรับผู้ได้รับการรับรอง
ผู้ได้รับการรับรองต้องปฏิบัติตามเงื่อนไขดังต่อไปนี้
1)
ผู้ได้รับการรับรองต้องรักษาไว้ซึ่งกิจกรรมหรือระบบที่ได้รับการรับรองตามเกณฑ์กาหนดอุตสาหกรรมสีเขียวในแต่ละระดับที่ได้รับการรับรองตลอดระยะเวลาที่ได้รับการรับรอง
2)
ผู้ได้รับการรับรองสามารถอ้างถึงการรับรองเฉพาะระดับที่ได้รับการรับรองเท่านั้น
3)
หากผู้ได้รับการรับรองมีการเปลี่ยนแปลงแก้ไขกิจกรรมหรือระบบในสาระสำคัญให้แจ้งกระทรวงอุตสาหกรรมทราบ
4)
หากผู้ได้รับการรับรองโอนกิจการหรือย้ายสถานที่ประกอบการ ใบรับรองถือว่าหมดอายุ
ให้ผู้ได้รับการรับรองแจ้งกระทรวงอุตสาหกรรมทราบ เพื่อดาเนินการตรวจประเมินเพื่อเสนอคณะอนุกรรมการพิจารณาให้การรับรองใหม่พร้อมกับยกเลิกใบรับรองฉบับเดิม
5)
ผู้ได้รับการรับรองต้องไม่นาใบรับรองหรือตราสัญลักษณ์การรับรองไปใช้ในทางที่ทาให้เกิดความเสียหาย
หรืออาจทาให้เกิดความเข้าใจผิดในการได้รับการรับรอง
6)
ผู้ได้รับการรับรองต้องยุติการใช้สิ่งพิมพ์สื่อโฆษณาที่มีการอ้างถึงการได้รับการรับรองนั้นอยู่ทั้งหมด
เมื่อมีการเพิกถอนหรือการยกเลิกการรับรองไม่ว่าจะด้วยสาเหตุใด
7)
ผู้ได้รับการรับรองต้องระบุให้ชัดเจนในการติดต่อสื่อสารกับลูกค้าว่าใบรับรองหรือการได้รับการรับรองไม่สามารถนาไปใช้ในนัยว่ากระทรวงอุตสาหกรรมให้ความเห็นชอบต่อผลิตภัณฑ์หรือบริการด้วย
8)
ผู้ได้รับการรับรองต้องให้ความร่วมมือแก่กระทรวงอุตสาหกรรมในการตรวจประเมินทุกครั้ง
9)
ผู้ได้รับการรับรองต้องส่งมอบเอกสารหลักฐานต่างๆ ให้แก่กระทรวงอุตสาหกรรมเมื่อได้รับการร้องขอ
10)
ผู้ได้รับการรับรองต้องจัดให้มีมาตรการและจัดหาอุปกรณ์ป้องกันอุบัติภัยที่จาเป็นแก่เจ้าหน้าที่ของกระทรวงอุตสาหกรรมในการตรวจประเมินทุกครั้ง
เพื่อให้เกิดความปลอดภัยในการปฏิบัติหน้าที่
11)
ผู้ได้รับการรับรองต้องจัดทาและเก็บรักษาบันทึกข้อร้องเรียน และผลการดาเนินการกับข้อร้องเรียนทั้งหมดที่เกี่ยวข้องกับกิจกรรมและระบบที่ได้รับการรับรองไว้
และต้องมอบบันทึกข้อร้องเรียนและผลการดาเนินการให้กับสานักงานฯ เมื่อได้รับการร้องขอ
12)
หากผู้ได้รับการรับรองประสงค์จะยกเลิกการรับรองให้แจ้งเป็นลายลักษณ์อักษรให้กระทรวงอุตสาหกรรมทราบล่วงหน้าไม่น้อยกว่า
90 วัน
7.6 การตรวจติดตามผลและการต่ออายุการรับรอง
1)
กระทรวงอุตสาหกรรม จะตรวจติดตามผลกิจกรรมหรือระบบที่ได้รับการรับรองในแต่ละระดับอย่างน้อยปีละ
1 ครั้ง หรือตามความเหมาะสม หากครบกำหนดการตรวจติดตามแล้วไม่ยินยอมให้ไปตรวจติดตามภายใน
30 วัน กระทรวงอุตสาหกรรมจะยกเลิกการรับรอง
2)
กระทรวงอุตสาหกรรม อาจดาเนินการตรวจติดตามผลก่อนครบกำหนดการตรวจติดตามปกติได้
สาหรับกรณีต่อไปนี้ 70
(1) มีเหตุอันทาให้สงสัยว่าสมรรถนะการดูแลด้านสิ่งแวดล้อมลดหย่อนลง
ไม่เป็นไปตามระดับที่ได้รับการรับรอง
(2)
มีการเปลี่ยนแปลงในสาระสำคัญที่มีผลต่อกิจกรรม
และการดาเนินการของผู้ได้รับการรับรอง เช่น การเปลี่ยนโครงสร้างองค์กรที่สำคัญ เป็นต้น
(3)
เมื่อมีการวิเคราะห์ข้อร้องเรียนหรือข้อมูล
แล้วเห็นว่า ผู้ได้รับการรับรองไม่ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขฉบับนี้
3)
ในการตรวจติดตามผลอาจตรวจประเมินกิจกรรมหรือระบบที่ได้รับการรับรองทั้งหมด
หรือเพียงบางส่วนตามความเหมาะสม
4)
การต่ออายุการรับรอง
(1)
ใบรับรองอุตสาหกรรมสีเขียวระดับที่ 1 ไม่สามารถต่ออายุการรับรองในระดับเดิมได้
(2)
ใบรับรองอุตสาหกรรมสีเขียวระดับที่ 2 สามารถต่ออายุการรับรองในระดับเดิมได้ แต่ต้องเป็นปฏิบัติการสีเขียวที่ไม่ซ้ากับปฏิบัติการสีเขียวที่ได้รับการรับรองเดิม
(3)
ใบรับรองอุตสาหกรรมสีเขียวระดับที่ 3 ถึง 5 สามารถต่ออายุการรับรองในระดับเดิมได้
5)
กระทรวงอุตสาหกรรมจะดาเนินการเพื่อต่ออายุการรับรอง โดยการตรวจประเมินใหม่เมื่อใบรับรองสิ้นอายุ
ทั้งนี้ต้องได้รับแจ้งจากผู้ได้รับการรับรองเป็นลายลักษณ์อักษรล่วงหน้าไม่น้อยกว่า
90 วัน ก่อนใบรับรองสิ้นอายุว่ามีความประสงค์ขอให้มีการรับรองอย่างต่อเนื่องโดยดาเนินการตรวจประเมินเอกสาร
หรือตรวจประเมินระบบทั้งหมดตามขั้นตอนในการตรวจประเมินเพื่อการรับรองอุตสาหกรรมสีเขียว
7.7 การเพิกถอนการรับรอง
หากผู้ได้รับการรับรองไม่สามารถรักษากิจกรรมหรือระบบการจัดการด้านสิ่งแวดล้อมตามที่ได้รับการรับรอง
และ/หรือไม่ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขต่างๆ
ที่กำหนด คณะอนุกรรมการอาจพิจารณาดาเนินการเพิกถอนการรับรองในกรณีใดกรณีหนึ่ง หรือหลายกรณีดังนี้
1)
ไม่ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขที่คณะอนุกรรมการกำหนด
2)
ไม่ปฏิบัติตามเกณฑ์กำหนดอุตสาหกรรมสีเขียวระดับที่ได้รับการรับรองในสาระสำคัญ
3)
มีข้อร้องเรียนที่คณะอนุกรรมการพิจารณาแล้วเห็นว่า อาจทาให้เกิดความเสียหายต่อการรับรอง
7.8 การยกเลิกการรับรอง
ผู้ได้รับการรับรอง จะถูกยกเลิกในกรณี ดังต่อไปนี้
1)
ผู้ได้รับการรับรองเลิกประกอบกิจการ
2)
ผู้ได้รับการรับรองเป็นบุคคลล้มละลาย
3)
ผู้ได้รับการรับรองแจ้งขอยกเลิกการรับรองเป็นลายลักษณ์อักษร
4)
กระทรวงอุตสาหกรรมมีการประกาศแก้ไข หรือยกเลิกเกณฑ์กำหนดอุตสาหกรรมสีเขียวที่ได้ให้การรับรอง
71
5) ผู้ได้รับการรับรองไม่ยินยอมให้กระทรวงอุตสาหกรรม
ทาการตรวจติดตามภายใน 30 วัน นับจากวันที่ครบกำหนดการตรวจติดตามที่กระทรวงอุตสาหกรรมมีหนังสือแจ้งให้ทราบ
7.9 การอุทธรณ์ การร้องเรียน และการโต้แย้ง
1)
การอุทธรณ์ต่อการตัดสิน หรือการดาเนินการใดๆ ที่มีผลกับผู้สมัครหรือผู้ได้รับการรับรอง
2)
ผู้สมัครหรือผู้ได้รับการรับรอง สามารถยื่นอุทธรณ์ได้ภายใน
30 วัน นับตั้งแต่วันที่กระทรวงอุตสาหกรรม มีหนังสือแจ้งผลการพิจารณา
หรือการดาเนินการให้ทราบ โดยการยื่นอุทธรณ์ให้ยื่นเป็นลายลักษณ์อักษรต่อประธานคณะอนุกรรมการ
(1)
กระทรวงอุตสาหกรรม จะแต่งตั้งคณะพิจารณาอุทธรณ์ที่ประกอบด้วยกลุ่มบุคคลเพื่อดาเนินการพิจารณาคาอุทธรณ์และแจ้งผลการพิจารณาให้ทราบภายใน 60 วัน นับตั้งแต่วันที่กระทรวงอุตสาหกรรมได้รับคาอุทธรณ์
(2)
ระหว่างการพิจารณาคาอุทธรณ์ยังไม่สิ้นสุดให้ถือว่าผลการพิจารณาเดิมยังมีผลใช้บังคับอยู่
(3)
ผลการพิจารณาของคณะพิจารณาอุทธรณ์ให้ถือเป็นที่สิ้นสุด
(4)
ผู้ยื่นคาอุทธรณ์ต้องเป็นผู้รับภาระค่าใช้จ่ายต่างๆ
ในการพิจารณาอุทธรณ์ทั้งหมด ยกเว้นกรณีที่คาอุทธรณ์เป็นผลเนื่องจากความผิดพลาดของกระทรวงอุตสาหกรรม
3)
การร้องเรียนและการโต้แย้ง การร้องเรียนและการโต้แย้งให้ยื่นเป็นลายลักษณ์อักษรต่อกระทรวงอุตสาหกรรมหรือประธานคณะอนุกรรมการเพื่อจะได้ดาเนินการหาข้อยุติตามขั้นตอนการดาเนินงานของกระทรวงอุตสาหกรรมต่อไป
7.10 การรักษาความลับ
กระทรวงอุตสาหกรรม จะเก็บรักษาข้อมูลและเอกสารต่างๆ ที่ได้รับจากผู้สมัคร
หรือผู้ได้รับการรับรองไว้เป็นความลับ แต่จะไม่รับผิดชอบต่อความเสียหายใดๆ ที่เกิดขึ้นกับผู้สมัคร
หรือผู้ได้รับการรับรองอันเนื่องมาจากการเปิดเผยความลับโดยบุคคลอื่น เว้นแต่จะเกิดขึ้นจากการกระทาของกระทรวงอุตสาหกรรม
7.11 การแจ้งการเปลี่ยนแปลง
1)
ในกรณีที่มีการแก้ไขหลักเกณฑ์และเงื่อนไขใดๆ ที่เกี่ยวข้องกับการรับรอง
กระทรวงอุตสาหกรรมจะแจ้งให้ผู้สมัคร หรือผู้ได้รับการรับรองทราบ
2)
ผู้ได้รับการรับรองต้องปรับปรุงแก้ไขตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขใหม่ ให้ถูกต้องภายในระยะเวลาที่กาหนด
จากนั้นกระทรวงอุตสาหกรรมจะทาการตรวจสอบการปรับปรุงแก้ไขของผู้ได้รับการรับรอง
7.12 อื่นๆ
1)
กระทรวงอุตสาหกรรมไม่รับผิดชอบในการกระทาใดๆ ของผู้ได้รับการรับรองที่ได้กระทาไปโดยไม่สุจริต
หรือไม่ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขที่กำหนด
2)
คณะอนุกรรมการฯ จะพิจารณาเพื่อออกใบรับรองฉบับใหม่ให้กับผู้ได้รับการรับรองในกรณีดังต่อไปนี้
72
(1) ใบรับรองฉบับเดิมสิ้นอายุ
และได้ดาเนินการตามข้อ 7.6 แล้ว
(2)
ใบรับรองฉบับเดิมชารุด หรือสูญหาย
(3)
ผู้ได้รับการรับรองจดทะเบียนเปลี่ยนแปลงชื่อใหม่และไม่มีผลกระทบต่อระบบการจัดการที่ได้รับการรับรอง
ใบรับรองที่ออกใหม่ตามข้อ (2) และข้อ (3) มีอายุเท่ากับอายุใบรับรองฉบับเดิมที่ยังเหลืออยู่
3)
กระทรวงอุตสาหกรรม จะทาการเผยแพร่รายชื่อผู้ได้รับการรับรองให้สาธารณชนทราบในเว็บไซต์กระทรวงอุตสาหกรรมและหน่วยงานในกากับ
โครงการ อุตสาหกรรมสีเขียว นครปฐม เมืองใหม่
ตอบลบ