การจัดรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมของไต้หวัน
(Farmland Readjustment)
นางชนนันท์ ศรีทองสุข ศรีพันธุ์
นักกฎหมายกฤษฎีกาชำนาญการพิเศษ
ไต้หวันตั้งอยู่ระหว่างทะเลจีนตะวันออกและทะเลจีนใต้ ห่างจากจีนแผ่นดินใหญ่
ประมาณ ๑๖๐ กิโลเมตร ประกอบด้วยเกาะหลัก ๆ และเกาะเล็กเกาะน้อยอื่น ๆ หลายเกาะ ปัจจุบัน
ไต้หวันปกครองโดยระบอบสาธารณรัฐ๑ (แบบกึ่งประธานาธิบดี (Semi-presidential republic))
โดยมีประธานาธิบดีซึ่งมาจากการเลือกตั้งเป็นประมุขของประเทศ และมีนายกรัฐมนตรีซึ่งมาจากการ
แต่งตั้งของประธานาธิบดีเป็นหัวหน้าคณะรัฐบาล โดยตามรัฐธรรมนูญของไต้หวันได้กำหนดให้มี
การปกครองแบบ ๕ สภา (Yuan) คือ สภาบริหาร (The Executive Yuan) สภานิติบัญญัติ
(The Legislative Yuan) สภาตุลาการ (The Judicial Yuan) สภาตรวจสอบและคัดเลือก
(The Examination Yuan) และสภาควบคุม (The Control Yuan) ทั้งนี้ โดยสภาบริหาร
(The Executive Yuan) หรือคณะรัฐมนตรี จะเป็นองค์กรบริหารสูงสุดที่รับผิดชอบการดำเนิน
นโยบายและการบริหารราชการแผ่นดิน
๑. แนวคิดเกี่ยวกับการจัดรูปที่ดิน
โดยที่ในอดีตไต้หวันได้เผชิญหน้ากับความกดดันจากสภาพเศรษฐกิจที่มี
การพัฒนาขึ้นอย่างรวดเร็วและการจ้างแรงงานที่สูงขึ้น อันเป็นผลมาจากการเป็นสมาชิกขององค์การ
การค้าโลก (World Trade Organization–WTO) ที่มีนโยบายการค้าเสรี จึงทำให้รัฐบาลไต้หวัน
ต้องเข้าไปให้การช่วยเหลือ ส่งเสริม และสนับสนุนการดำเนินการทางภาคการเกษตรให้มากยิ่งขึ้น
เพื่อให้ผลผลิตทางการเกษตรสามารถแข่งขันกับประเทศต่าง ๆ ได้ ซึ่งในการนี้ รัฐบาลไต้หวัน
จึงเล็งเห็นถึงความจำเป็นในการปรับปรุงพื้นที่ทางการเกษตรให้มีความเหมาะสมยิ่งขึ้น จึงได้มี
การประสานและดำเนินงานร่วมกันกับองค์กรเกษตรกร (farmer’s organization) และองค์กรอื่น ๆ
เพื่อพิจารณาปรับลดจำนวนที่ดิน (land) ที่ไม่ประสบผลสำเร็จในด้านการเกษตรกรรม โดยการ
ปรับเปลี่ยนที่ดินเหล่านั้นไปใช้เพื่อการอื่นที่เหมาะสมกว่า และดำเนินการรวบรวม (consolidating)
ที่ดินให้เป็นแปลงใหญ่ เพื่อให้ง่ายต่อการพัฒนาพื้นที่เพื่อทำการเกษตรของเกษตรกร ทั้งนี้ ภายใต้
แผนการดำเนินงานตามกฎหมายว่าด้วยการพัฒนาภาคการเกษตร (The Agricultural Development
* บทความวิชาการประกอบการพิจารณาแต่งตั้งนักกฎหมายกฤษฎีกา ชั้นที่ ๑
๑ส า ธ า ร ณ รัฐ ป ร ะ ช า ช น จีน (The People’s Republic of China) ถือ ว่า ไ ต้ห วัน
(The Republic of China (Taiwan)) เป็นมณฑลหนึ่งของจีน ซึ่งประเทศไทยเองก็ยอมรับว่า สาธารณรัฐประชาชนจีน
เป็นรัฐบาลที่ถูกต้องเพียงรัฐบาลเดียวของจีน โดยไต้หวันเป็นเพียงส่วนหนึ่งที่ไม่อาจแบ่งแยกได้ของจีนตามกรอบ
“นโยบายจีนเดียว” แต่ประเทศไทยยังคงมีการติดต่อทางด้านการค้า การลงทุน การท่องเที่ยว การศึกษา
วิทยาศาสตร์ วัฒนธรรมและแรงงานกับไต้หวัน โดยผ่านทางสำนักงานเศรษฐกิจและวัฒนธรรมไทเป (Taipei
Economic and Cultural Office) ซึ่งเป็นสำนักงานตัวแทนของไต้หวันที่ตั้งอยู่ในประเทศไทย
๒
Act (1973), as amended on December 8, 2010) ที่จัดทำ ขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์๒ เพื่อให้มี
การพัฒนาภาคการเกษตรที่ยั่งยืน ส่งเสริมให้มีการใช้ประโยชน์ที่ดินเพื่อทำการเกษตร (farmland)๓
ที่เหมาะสม ปรับปรุงโครงสร้างวิสาหกิจการเกษตร สร้างเสถียรภาพในการค้าขายสินค้าเกษตร
เพิ่มรายได้และสวัสดิการให้แก่เกษตรกร รวมทั้งพัฒนามาตรฐานความเป็นอยู่ของเกษตรกรให้ดีขึ้น
๒. กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการจัดรูปที่ดิน
กฎหมายและกฎระเบียบที่เกี่ยวข้องกับที่ดิน (Land law) ของไต้หวันมีหลายฉบับ
ทั้งกฎหมายเกี่ยวกับการบริหารจัดการที่ดิน (land administration) เช่น Land Administration
Agent Act, (2001) กฎหมายเกี่ยวกับมูลค่าที่ดิน (land value) เช่น The Equalization of Land
Rights Act, (1954), และ Real Estate Appraiser Act, (2000) กฎหมายเกี่ยวกับการจดทะเบียน
ที่ดิน (land registration) เช่น The Land Act และกฎหมายเกี่ยวกับการใช้ประโยชน์ในที่ดิน (land
utilization) ไ ด้แ ก่ Rural Community Land Readjustment Act, (2000) แล ะ Farmland
Readjustment Act, (1980) โดยกฎหมายเกี่ยวกับการใช้ประโยชน์ในที่ดินจะเป็นกฎหมายที่ว่าด้วย
การจัดรูปที่ดินโดยเฉพาะ จำนวน ๒ ฉบับ คือ (๑) กฎหมายว่าด้วยการจัดรูปที่ดินในชุมชนชนบท
(Rural Community Land Readjustment Act, (2000)) ซึ่งมีการแก้ไขเพิ่มเติมเพียงครั้งเดียวในปี
ค.ศ. ๒๐๐๒ (พ.ศ. ๒๕๔๕) และ (๒) กฎหมายว่าด้วยการจัดรูปที่ดินการเกษตร (Farmland
Readjustment Act, (1980)) ซึ่งมีการแก้ไขเพิ่มเติมเพียงครั้งเดียวในปี ค.ศ. ๒๐๐๐ (พ.ศ. ๒๕๔๓)
อย่างไรก็ดี โดยที่ไต้หวันมีกฎหมายกลางว่าด้วยการพัฒนาภาคการเกษตร (The Agricultural
Development Act (1973) อันเป็นกฎหมายกลางที่กำหนดกรอบนโยบาย หลักการในการบริหาร
๒ใน Article 1 ของ the Agricultural Development Act ได้กำ หนดวัตถุประสงค์ของ
กฎหมายไว้อย่างชัดเจนว่า “The Agricultural Development Act” is enacted to ensure the sustainable
developments of agriculture, to address agricultural globalization and liberalization, to promote
reasonable utilization of farmlands, to adjust the structures of agricultural enterprises, to stabilize
the sale of agricultural production, to advance the income and welfare of farmers and to
promote the living standards of farmers. Matters not provided herein shall be governed by other
applicable laws.
๓ใน Article 3 ของ the Agricultural Development Act ได้กำ หนดว่า “Agricultural
land” หมายความถึง land, that is not designated as a urban land or as a land that is in the scope of
urban agricultural zones or reserved zones, is used for the purposes as follows in accordance
with relevant laws:
(a) Farming, forestry, aquaculture, animal husbandry and conservation.
(b) Farmhouses, barns, storage and warehousing facilities, solar yards, collecting
sites, farm road, irrigation, drainage systems and other agricultural use that are seen as an integral
part of farming managements (c) Warehouses, freezing/chilling facilities, agricultural machinery
centers, sites of manufacture of silk/breeding silkworms, collecting sites and inspection stations
that are directly provided for agricultural use/purposes, and the properties of which are owned
by farmers’ organizations or cooperative farms.
๓
จัดการและพัฒนาการเกษตรกรรม๔ โดยเฉพาะกรณีเกี่ยวกับการจัดทำแผนการใช้ประโยชน์และการ
จัดการพื้นที่ทางการเกษตรอย่างเป็นองค์รวม โดยมีสภาการเกษตร (The Council of Agriculture)
ในฐานะหน่วยงานส่วนกลาง และรัฐบาลส่วนท้องถิ่น (city government และ county or
municipal government) เป็นหน่วยงานที่มีอำนาจหน้าที่รับผิดชอบ (Competent authority)
การดำเนินการดังกล่าว๕ ซึ่งการดำเนินการใด ๆ ที่เกี่ยวกับการจัดรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมนั้นถือว่า
เป็นการใช้ประโยชน์ในทรัพยากรธรรมชาติของประเทศ การดำเนินการที่เกี่ยวข้องกับเรื่องดังกล่าว
จึงต้องอยู่ภายใต้บังคับของกฎหมายว่าด้วยการพัฒนาภาคการเกษตร (The Agricultural
Development Act) ด้วย
๓. กระบวนการและขั้นตอนในการจัดรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม
๓.๑ การดำเนินการตามกฎหมายว่าด้วยการพัฒนาภาคการเกษตร (The
Agricultural Development Act (1973), as amended on December 8, 2010) : ได้กำหนด
หลักการและแนวทางการดำเนินการเกี่ยวกับการใช้ประโยชน์ในพื้นที่ทางการเกษตร โดยกำหนดให้
รัฐบาลของทุกระดับที่เกี่ยวข้องจัดทำแผนการบริหารจัดการและงบประมาณประจำปี (annual
administrative plans and budgets) โดยรัฐบาลกลางจะต้องให้การสนับสนุนทางการเงิน
ที่สอดคล้องกับความต้องการงบประมาณดังกล่าวเมื่อมีกรณีจำเป็น ทั้งนี้ ในการดำเนินการเกี่ยวกับ
การใช้ประโยชน์ในพื้นที่ทางการเกษตรนั้นจะมีแนวทางและขั้นตอนในการดำเนินการโดยสรุป ดังนี้
(๑) หน่วยงานผู้รับผิดชอบอาจกำหนดแผนทั่วไปสำหรับการใช้ประโยชน์
ในพื้นที่ทางการเกษตรโดยพิจารณาตามความเหมาะสมของลักษณะการใช้ประโยชน์ในพื้นที่
ทางการเกษตรนั้นประกอบกับสภาพสิ่งแวดล้อมทางธรรมชาติ องค์ประกอบทางสังคมและเศรษฐกิจ
เงื่อนไขทางเทคโนโลยีและความอ่อนแอ (vulnerability) ของเกษตรกร โดยแผนงานดังกล่าวจะต้อง
สอดคล้องกับแผนการจำแนกการใช้ประโยชน์ในที่ดิน (land-use zoning) ที่กำหนดไว้ในกฎหมาย
ว่าด้วยผังเมืองภาค (regional planning law) และกฎหมายว่าด้วยผังเมือง (urban planning law) ด้วย
และในการนี้ เขตการปกครอง (district) ที่ถูกกำหนดอยู่ในแผนทั่วไปจะต้องทำการทบทวนแผนทั่วไป
ดังกล่าวทุกห้าปี โดยกรณีอาจมีความจำเป็นต้องมีการปรับปรุงแก้ไขแผนทั่วไปเพื่อให้สอดคล้องกับ
การเปลี่ยนแปลงและการพัฒนาของท้องถิ่นด้วย
(๒) หน่วยงานส่วนกลางจะต้องประสานหลักการและแนวทางการพัฒนา
ในภาพรวมตามแผนประเทศ กำหนดจำนวนรวมของพื้นที่ทางการเกษตรที่เป็นที่ต้องการ และจำนวน
พื้นที่ทางการเกษตรที่มีการเปลี่ยนแปลง รวมทั้งให้ข้อคิดเห็น เสนอแนะ เกี่ยวกับวิธีปฏิบัติในเรื่อง
ดังกล่าวอย่างสม่ำเสมอ
๔ใน Article 3 ของ the Agricultural Development Act กำ หนดให้คำ ว่า “เกษตรกรรม”
หมายความว่า การใช้ประโยชน์ในทรัพยากรธรรมชาติ และเครื่องมือและเทคโนโลยีทางการเกษตร เพื่อให้เกิดการ
ผลิตและการจำหน่ายผลิตผลทางการกสิกรรม การป่าไม้ การเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ และการปศุสัตว์
๕ใน Article 2 กำ หนดว่า “competent authority” หมายความว่า the Council of
Agriculture, the Executive Yuan at the central government, the city government, and the county
or municipal government at the county or municipality level.
๔
(๓) หน่วยงานผู้รับผิดชอบด้านการบริหารที่ดิน (land administration)
จะต้องจัดทำแผนภาพรวมร่วมกับหน่วยงานด้านการชลประทานเพื่อการเกษตรกรรม และประสาน
การดำเนินการตามแผนงานร่วมกัน เพื่อเป็นการสนับสนุนการจัดรูปที่ดินเพื่อทำการเกษตร
(๔) หน่วยงานผู้รับผิดชอบจะต้องจัดทำแผนภาพรวมเพื่อการบริหารจัดการ
พื้นที่รับน้ำ (watershed) ร่วมกับหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งประสานงานและสนับสนุนให้มีการ
ก่อสร้างและการบำรุงรักษาโครงการภาคการเกษตรและระบบสาธารณูปโภคต่าง ๆ เช่น การอนุรักษ์
ดินและน้ำ การคุ้มครองพื้นที่รับน้ำ การป้องกันอุทกภัยและสิ่งกำ บังลม การพัฒนาพื้นที่
ทางการเกษตร ท่าเรือประมง ทางลำ เลียงสู่พื้นที่ทางการเกษตร และระบบการจัดสรรน้ำ
การชลประทาน และทางน้ำเพื่อการเกษตร
๓.๒ การดำเนินการตามกฎหมายว่าด้วยการจัดรูปที่ดินการเกษตร (Farmland
Readjustment Act (1980, as amended on November 8, 2000): ซึ่งเป็นกฎหมายว่าด้วย
การจัดรูปที่ดินการเกษตรเป็นการเฉพาะ ได้กำหนดองค์กร/หน่วยงานผู้รับผิดชอบ (competent
authority) ตามกฎหมายนี้ ได้แก่ กระทรวงมหาดไทย (Ministry of Interior) ในฐานะหน่วยงาน
ในระดับรัฐบาลกลาง และรัฐบาลส่วนท้องถิ่น ได้แก่ เทศบาลพิเศษ (government of the special
municipality) และเทศบาลนคร (county/city government) ทั้งนี้ โดยให้หน่วยงานผู้รับผิดชอบ
ของเทศบาลพิเศษหรือเทศบาลนครนั้นจัดให้มีการจัดตั้ง “คณะกรรมการจัดรูปที่ดินการเกษตร”
(Farmland Readjustment Commission) เพื่อทำหน้าที่ในการดำเนินการจัดรูปที่ดินการเกษตร
และจัดให้มีการจัดตั้ง “คณะกรรมการประสานงานการจัดรูปที่ดินการเกษตร” (Farmland
Readjustment Coordination Commission) เพื่อทำหน้าที่ในการให้ความช่วยเหลือด้านการ
ประสานงานในเขตโครงการจัดรูปที่ดิน โดยแนวทางปฏิบัติของคณะกรรมการประสานงานการจัดรูป
ที่ดินการเกษตรนั้นให้จัดทำและประกาศโดยกระทรวงมหาดไทยในฐานะหน่วยงานระดับรัฐบาลกลาง
และให้สำ นักบริหารที่ดิน (land administration office)๖ จัดทำ แผนงานและปฏิบัติการ
ให้เป็นไปตามแผนการจัดรูปที่ดินดังกล่าวร่วมกับองค์กรต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง เพื่อพัฒนาการเกษตร
ในอนาคต โดยตั้งแต่ปี ค.ศ. ๑๙๖๘ ถึงปลายปี ค.ศ. ๒๐๑๑ นั้น ได้มีการจัดรูปที่ดินเพื่อการเกษตร
แล้วเสร็จ จำนวน ๒๕๙ เขต (district) ครอบคลุมพื้นที่ประมาณ ๑๔๒,๘๗๔ เฮกตาร์๗
๖ตาม Farmland Readjustment Act ใช้คำว่า “land administration office” ซึ่งปัจจุบัน
น่าจะหมายความถึง Department of Land Administration ซึ่งเป็นหน่วยงานในสังกัดกระทรวงมหาดไทย โดยใน
การดำเนินนโยบายเกี่ยวกับการจัดรูปที่ดินจะมี Land Consolidation Engineering Bureau เป็นหน่วยงาน
ผู้รับผิดชอบการดำเนินงานดังกล่าว
๗ข้อมูลอ้างอิงจากเว็บไซต์ของ Land Consolidation Engineering Bureau, Ministry of the
Interior (http://www.lceb.gov.tw)
๕
ทั้งนี้ กฎหมายว่าด้วยการจัดรูปที่ดินการเกษตร (Farmland Readjustment Act)
ได้กำหนดขั้นตอน หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการดำเนินการจัดรูปที่ดินไว้โดยสรุป ดังนี้
๑. การคัดเลือกเขตพื้นที่เพื่อจัดรูปที่ดิน (Extraction of Readjustment
Area)
๑.๑ หน่วยงานผู้รับผิดชอบของเทศบาลพิเศษหรือเทศบาลนครจะต้องจัดทำ
การคัดเลือกเขตพื้นที่ที่จะทำการจัดรูปที่ดินภายในเขตการปกครองของตน โดยให้จัดทำข้อเสนอ
เกี่ยวกับการจัดรูปที่ดินการเกษตรและแผนผังการรังวัดที่ดิน (cadastral map) และเสนอต่อ
หน่วยงานผู้รับผิดชอบในลำดับที่สูงกว่าเพื่อให้ความเห็นชอบการดำเนินการดังกล่าวเมื่อมีพฤติการณ์
ดังต่อไปนี้
(๑) ที่ดินไม่เหมาะสมแก่การกสิกรรม (farming) การชลประทาน
(irrigation) และการระบายน้ำ (drainage)
(๒) ที่ดินไม่เหมาะสมสำ หรับการขยาย (expanding) หรือการใช้
เครื่องจักรกล (mechanizing)
(๓) พื้นที่ไม่มีถนน และมีทางระบายน้ำที่ไม่เหมาะสมแก่การกสิกรรม
(๔) พื้นที่กำลังมีการจัดทำระบบชลประทานและทางระบายน้ำใหม่
(๕) พื้นที่ทำการเกษตรประสบภัยพิบัติร้ายแรง เช่น น้ำท่วม ดินถล่ม
(๖) พื้นที่ทำการเกษตรกำลังได้รับการปรับปรุงและพัฒนา
อนึ่ง ในการพิจารณาคัดเลือกเขตพื้นที่เพื่อจัดรูปที่ดินจะต้องสอดคล้องกับ
วัตถุประสงค์ของแผนการพัฒนาภาคการเกษตร (agricultural development plan) และการสร้าง
ชุมชนจะต้องไม่ถูกจำกัดโดยเขตการปกครอง (administrative boundary) ด้วย
๑.๒ หน่วยงานผู้รับผิดชอบของเทศบาลพิเศษหรือเทศบาลนครจะต้องปิด
ประกาศข้อเสนอเกี่ยวกับการจัดรูปที่ดินการเกษตรที่ได้รับความเห็นชอบโดยหน่วยงานผู้รับผิดชอบ
ในลำดับที่สูงกว่าไว้ ณ ศาลาว่าการหรือที่ทำการเขตการปกครองท้องถิ่นเป็นระยะเวลาสามสิบวัน
แล้วจึงปฏิบัติการให้เป็นไปตามข้อเสนอนั้น ในกรณีที่เจ้าของที่ดินเกินกว่ากึ่งหนึ่งซึ่งมีกรรมสิทธิ์
ในที่ดินเกินกว่ากึ่งหนึ่งในเขตโครงการจัดรูปที่ดินนั้นคัดค้านข้อเสนอดังกล่าวในช่วงระยะเวลาที่มี
การประกาศข้อเสนอนั้น หน่วยงานผู้รับผิดชอบจะต้องไกล่เกลี่ยคำคัดค้านและพิจารณาทบทวน
ข้อเสนอนั้น โดยการใช้อำนาจในการจัดรูปที่ดินการเกษตรจะสามารถดำเนินการได้ภายหลังจากที่มี
การปิดประกาศและไม่มีเจ้าของที่ดินรายใดคัดค้านการจัดรูปที่ดินอีกต่อไป
๑.๓ ในกรณีที่เจ้าของที่ดินเกินกว่ากึ่งหนึ่งซึ่งมีกรรมสิทธิ์ในที่ดินเกินกว่ากึ่งหนึ่ง
ในเขตโครงการจัดรูปที่ดินนั้นอยู่ในพฤติการณ์ตามที่กำหนดในข้อ ๑.๑ หน่วยงานผู้รับผิดชอบ
ของเทศบาลพิเศษหรือเทศบาลนครจะต้องเสนอข้อเสนอเกี่ยวกับการจัดรูปที่ดินการเกษตร
ให้หน่วยงานผู้รับผิดชอบในลำดับที่สูงกว่าพิจารณาให้ความเห็นชอบเป็นลำดับพิเศษ
๑.๔ ในการปิดประกาศข้อเสนอเกี่ยวกับการจัดรูปที่ดินการเกษตรนั้น
หน่วยงานผู้รับผิดชอบของเทศบาลพิเศษหรือเทศบาลนครต้องประกาศเป็นการทั่วไปเกี่ยวกับการห้าม
มิให้ผู้ใดกระทำการใด ๆ เช่น การพัฒนาสิ่งก่อสร้าง การระเบิดหิน หรือเปลี่ยนแปลงลักษณะทาง
กายภาพของแผ่นดิน ภายในเขตโครงการจัดรูปที่ดินนั้น โดยการห้ามกระทำการดังกล่าวจะต้องมี
กำหนดเวลาไม่เกินสิบแปดเดือน
๖
๑.๕ หน่วยงานในระดับรัฐบาลกลางจะต้องกำหนดเกณฑ์การตอบแทน
(guideline with reward) แก่เจ้าของที่ดินซึ่งสมัครใจกับการดำเนินการปรับปรุงการใช้ที่ดินและการ
แผ่ขยายการจัดรูปที่ดินนั้น โดยเกณฑ์การตอบแทนดังกล่าวให้เป็นไปตามที่กำหนดไว้ใน Article 58๘
of Equalization of Land Rights Act อย่างไรก็ดี ความสมัครใจของเจ้าของที่ดินจะต้องเกิดขึ้นจาก
เจ้าของที่ดินเกินกว่าสองในสามซึ่งมีกรรมสิทธิ์ในที่ดินเกินกว่าสองในสามในเขตโครงการจัดรูปที่ดิน
และจะต้องได้รับความเห็นชอบจากหน่วยงานผู้รับผิดชอบของเทศบาลพิเศษหรือเทศบาลนครนั้นด้วย
๒. ข้อพิจารณาเกี่ยวกับที่ดินสำหรับถนน การระบายน้ำ และค่าใช้จ่ายและภาระ
ติดพัน
ที่ดินสำหรับถนนและทางระบายน้ำภายหลังจากการจัดรูปที่ดินจะต้องเป็นที่ดิน
สำหรับถนนและทางระบายน้ำที่เดิมเป็นของรัฐบาลและสมาคมชลประทานเพื่อการเกษตร (Farm
Irrigation Association) ในเขตโครงการจัดรูปที่ดิน หากที่ดินดังกล่าวไม่เพียงพอ จึงค่อยแทนที่ด้วย
สัดส่วนของที่ดินในเขตโครงการจัดรูปที่ดิน ในการนี้ หน่วยงานผู้รับผิดชอบของเทศบาลพิเศษ
หรือเทศบาลนครจะต้องแจ้งหน่วยงานที่มีอำนาจจัดการหรือสมาคมชลประทานเพื่อการเกษตรมิให้
ดำเนินการให้เช่า จำหน่ายจ่ายโอน หรือก่อให้เกิดภาระติดพันใด ๆ กับที่ดินสำหรับถนนและทาง
ระบายน้ำนั้นในช่วงที่มีการประกาศข้อเสนอเกี่ยวกับการจัดรูปที่ดินการเกษตรต่อสาธารณะชนด้วย
นอกจากนี้ การปรับปรุงโครงสร้างที่ดินสำหรับถนนและการระบายน้ำจะต้องกระทำในกรณีจำเป็น
เพื่อการทำการเกษตรและการวิศวกรรมชลประทาน และการจัดการที่ดินส่วนภูมิภาค (regional land
arrangements) ในเขตโครงการจัดรูปที่ดิน หากการดำเนินการดังกล่าวเป็นการเฉพาะราย เจ้าของที่ดิน
ที่ได้รับการจัดสรร (distributed landowner) จะต้องจ่ายค่าใช้จ่ายในส่วนดังกล่าว ทั้งนี้ ค่าใช้จ่าย
เพื่อการจัดการดำเนินงานให้จ่ายโดยใช้เงินกู้เพื่อวัตถุประสงค์พิเศษ (special-purpose bank loan)
ที่กำหนดโดยรัฐบาล
๓. หลักเกณฑ์และแนวทางในการดำเนินงานจัดรูปที่ดิน (Readjustment
works)
๓.๑ ที่ดินเดิมสำหรับถนน บ่อน้ำ คูน้ำ หรือสำหรับประโยชน์สาธารณะอย่างอื่น
ในเขตโครงการจัดรูปที่ดินอาจต้องได้รับการดัดแปลงหรือยกเลิกเพื่อดำเนินการจัดรูปที่ดินการเกษตร
๘Article 58. In order to promote land use and accelerate land consolidation, the
competent authorities may encourage landowners to organize a group by themselves for the
purpose of implementing urban land consolidation. The encouragement measures as follows
may be taken:
1. Providing low interest loan to carry out consolidation.
2. Reducing or exempting the fees for cadastral management and re-issuance
of certificates of land rights.
3. Constructing the public facilities in the consolidated area and on the related
places preferentially.
4. Reducing or exempting land value tax and farmland tax.
5. Conducting some other things beneficial to urban land consolidation.
Etc.
๗
๓.๒ แบบมาตรฐานของที่ดินเพื่อทำการเกษตร การจัดทำวิศวกรรมชลประทาน
และรายละเอียดในเชิงสถาปัตยกรรม ในเขตโครงการจัดรูปที่ดินจะเป็นไปตามที่กำหนดโดยหน่วยงาน
ในระดับรัฐบาลกลางโดยคำแนะนำของสภาการเกษตร (Council of Agriculture) และหน่วยงานอื่น
ที่เกี่ยวข้อง
๓.๓ ที่ดินเพื่อทำ การเกษตรภายหลังจากการจัดรูปที่ดินจะต้องได้รับ
การชลประทานและการระบายน้ำโดยตรง และใกล้กับถนน โดยมาตรฐานของแปลงที่ดินเพื่อทำ
การเกษตรจะต้องกำหนดและประกาศโดยหน่วยงานผู้รับผิดชอบของเทศบาลพิเศษหรือเทศบาลนคร
๓.๔ การก่อสร้างงานด้านการจัดรูปที่ดินให้เริ่มภายหลังจากการเก็บเกี่ยว
และในฤดูที่ก่อให้เกิดผลกระทบต่อพืชผลส่วนใหญ่ (main crop) น้อยที่สุดในช่วงที่มีฤดูการเก็บเกี่ยว
ที่แตกต่าง
๓.๕ หน่วยงานผู้รับผิดชอบของเทศบาลพิเศษหรือเทศบาลนครจะต้องประกาศ
เป็นการทั่วไปและแจ้งเจ้าของที่ดินให้รื้อถอนหรือย้ายสิ่งที่อยู่บนที่ดินและหลุมฝังศพในเขตโครงการ
จัดรูปที่ดินด้วยตนเองภายในสามสิบวัน หากมีการดำเนินการที่เนิ่นช้ากว่าที่กำหนดหรือกรณีที่ไม่มีใคร
ให้แจ้งการดังกล่าว หน่วยงานผู้รับผิดชอบจะต้องทำการรื้อถอนหรือการย้ายสิ่งต่าง ๆ ดังกล่าว ทั้งนี้
ในการรื้อถอนหรือย้ายสิ่งต่าง ๆ ที่อยู่บนที่ดินและหลุมฝังศพในเขตโครงการจัดรูปที่ดินของเจ้าของ
ที่ดินนั้นให้ได้รับเงินค่าทดแทน โดยมาตรฐานการจ่ายค่าทดแทนดังกล่าวให้ตรวจสอบและกำหนด
โดยหน่วยงานผู้รับผิดชอบของเทศบาลพิเศษหรือเทศบาลนคร อย่างไรก็ดี กรณีจะไม่มีการจ่ายเงิน
ค่าทดแทนในกรณีที่เป็นการดำเนินการที่ฝ่าฝืนข้อห้ามตามมาตรา ๙ (ที่กำหนดห้ามกระทำการใด ๆ
ในเขตโครงการจัดรูปที่ดินในช่วงระหว่างเวลาที่มีการประกาศเขตโครงการจัดรูปที่ดิน) และในกรณีที่
หน่วยงานผู้รับผิดชอบเป็นผู้ดำเนินการรื้อถอนหรือย้ายสิ่งต่าง ๆ บนที่ดินดังกล่าว ค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้น
เพื่อการนั้นให้หักออกจากเงินค่าทดแทนด้วย
๔. การจัดสรรที่ดินใหม่และการคัดค้านการดำเนินการ (Land Redistribution
and the Opposition Transaction)
๔.๑ ที่ดินทุกแปลงในเขตโครงการจัดรูปที่ดินจะต้องได้รับการจัดสรรใหม่
สิทธิและหมายเลขประจำที่ดินที่บันทึกอยู่ในระบบทะเบียนที่ดินจะต้องถูกบ่งชี้ในหนึ่งวันก่อนการเริ่ม
จัดสรรแปลงใหม่ โดยผู้เช่า (tenant) และผู้ทำประโยชน์ในที่ดิน (reclaimer) นั้นจะหมายความถึง
ผู้เช่า (lessee) ซึ่งมีสัญญาหรือได้รับการอนุมัติหนึ่งวันก่อนการเริ่มจัดสรรแปลงใหม่
๔.๒ หน่วยงานผู้รับผิดชอบของเทศบาลพิเศษหรือเทศบาลนครจะต้องยุติการจด
ทะเบียนถ่ายโอน (registration of transference) ในสิทธิในที่ดินหรือภาระติดพัน ยกเว้นสิทธิ
จำนอง (mortgage right) ตั้งแต่การจัดสรรแปลงใหม่เริ่มต้น โดยการยุติการจดทะเบียนดังกล่าว
จะต้องกระทำให้แล้วเสร็จภายในแปดเดือน โดยให้หน่วยงานผู้รับผิดชอบของเทศบาลพิเศษ
หรือเทศบาลนครจะต้องประกาศเป็นการทั่วไปเกี่ยวกับการยุติการจดทะเบียนถ่ายโอน และการ
เริ่มต้นจัดสรรแปลงใหม่ในวันที่มีการยุติการจดทะเบียนเมื่อสามสิบวันล่วงมาแล้ว
๔.๓ ที่ดินที่จะดำเนินการจัดรูปที่ดินต้องจัดแบ่งออกเป็นหลายส่วนตามความจำเป็น
ของสภาพแวดล้อมธรรมชาติ ขนาดของแปลง มูลค่าที่ดิน และความจำเป็นในการจัดสรรปันส่วนใหม่
(redistribution)
๔.๔ หน่วยงานผู้รับผิดชอบของเทศบาลพิเศษหรือเทศบาลนครจะมีหน้าที่
ในการประเมินมูลค่าที่ดินของเขตการปกครองในเขตโครงการจัดรูปที่ดินใหม่ เพื่อทำการจัดสรรแปลงใหม่
๘
และการจ่ายค่าทดแทน โดยที่ดินที่มีการจัดสรรแปลงใหม่ให้แปลงจากขนาดที่ดินแปลงเดิมที่ได้หัก
ที่ดินบางส่วนสำหรับถนน ทางระบายน้ำ และมูลค่าใกล้เคียงสุทธิ (cost equivalent land) สำหรับ
ค่าใช้จ่ายในการก่อสร้างต่าง ๆ ไปเป็นมูลค่าที่ดินที่ได้รับการจัดสรรใหม่ทั้งหมดโดยการประเมินมูลค่า
ที่ดินของเขตการปกครองใหม่ หลังจากนั้นให้ดำเนินการจัดสรรแปลงที่ดินใหม่โดยคำนวณตามมูลค่า
ที่ดินของเขตการปกครองนั้นให้แก่เจ้าของที่ดิน ในการนี้ เจ้าของที่ดินมีสิทธิได้รับเงินค่าทดแทน
หากการจัดสรรที่ดินแปลงใหม่มีขนาดต่ำกว่าขนาดขั้นต่ำของแปลงที่ดินเพื่อทำการเกษตร
๔.๕ ที่ดินแปลงที่ได้รับการจัดสรรใหม่ควรจะต้องตั้งอยู่ในทำเลเดิม กรณีแปลง
ที่ดินขนาดเล็กให้รวมกันเป็นแปลงใหญ่ที่ถือกรรมสิทธิ์โดยเจ้าของที่ดินเดิมภายในแปลงที่ดินที่ได้รับ
การจัดสรรใหม่บริเวณแปลงเดิม กรณีที่ดินแปลงเช่า (leased lot) ให้รวมกันเป็นหนึ่งแปลง
ครอบครองโดยผู้เช่า โดยข้อกำหนดดังกล่าวจะไม่นำมาบังคับใช้กับพฤติการณ์ ดังต่อไปนี้
(๑) การพัฒนาสิ่งก่อสร้างบนที่ดินที่เกิดก่อนการประกาศข้อเสนอเกี่ยวกับ
การจัดรูปที่ดินเป็นการทั่วไป
(๒) ที่ดินที่ติดมาตั้งแต่เดิมกับถนน ทางรถไฟ หมู่บ้าน หรือสิ่งก่อสร้างพิเศษ
(๓) ที่ดินที่เป็นสุสาน
(๔) ที่ดินที่ตั้งอยู่มาตั้งแต่เดิมในบริเวณที่เป็นป่าช้า แม่น้ำ เชิงเขา หรือลักษณะ
ทางกายภาพเฉพาะ
(๕) ที่ดินที่อยู่ในจำพวกหยวน (yuan) หลิว (lio) บ่อน้ำ คูน้ำ แม่น้ำ
ทุ่งหญ้า ผืนป่า หรือซา (tza) และยากแก่การแปลงให้เป็นนาข้าว (paddy) หรือที่ดินแห้ง (dry land)
(๖) เจ้าของที่ดินรายใดซึ่งขนาดแปลงที่ดินที่ได้รับการจัดสรรหรือรวม
เข้าด้วยกันเป็นแปลงใหม่ยังคงมีขนาดเล็กกว่าขนาดขั้นต่ำของแปลงที่ดินเพื่อทำการเกษตรในเขต
โครงการจัดรูปที่ดินนั้นจะต้องได้รับเงินค่าทดแทนในอัตราที่สอดคล้องกับมูลค่าที่ดินเดิมของเขต
การปกครองนั้น หากกรรมสิทธิ์ในที่ดิน (landownership) นั้นเป็นของเจ้าของที่ดินมากกว่าหนึ่งราย
ให้เจ้าของที่ดินเพียงรายเดียวยื่นคำขอให้มีการจัดสรรแปลงที่ดินใหม่ ในการนี้ ให้นำที่ดินที่ได้รับ
ค่าทดแทนดังกล่าวประมูลขายต่อสาธารณะ (auction in public) ในกรณีที่ที่ดินดังกล่าวไม่ได้รับ
การประมูลภายในสองครั้ง ให้ขายที่ดินนั้นให้แก่เกษตรกรที่ต้องการ โดยเจ้าของที่ดินที่อยู่ติดกันกับ
ที่ดินที่นำออกประมูลหรือที่ดินที่จะขายมีสิทธิที่จะซื้อก่อนผู้อื่น (pre-emption) ที่มีคุณสมบัติเดียวกัน
หากมีเจ้าของที่ดินหลายรายที่จะใช้สิทธิดังกล่าว กรรมสิทธิ์ในที่ดินนั้นควรจะเป็นของเจ้าของที่ดิน
รายใดให้ดำเนินการโดยวิธีเสี่ยงโชค (by lottery)
(๗) ที่ดินส่วนกลาง (common land) ในเขตโครงการจัดรูปที่ดินอาจได้รับ
การจัดสรรให้แก่ปัจเจกชน (individual) ภายใต้พฤติการณ์ ดังต่อไปนี้
- ที่ดินนั้น มีขน าด ใหญ่เ กิน กว่า ขนา ด ขั้น ต่ำ ของแป ลงที่ดิน
เพื่อทำการเกษตรที่จัดสรรให้แก่เจ้าของที่ดินร่วม (common landowner)
- ที่ดินนั้น มีขน าด ใหญ่เ กิน กว่า ขนา ด ขั้น ต่ำ ของแป ลงที่ดิน
เพื่อทำการเกษตรที่ถือกรรมสิทธิ์โดยบางส่วนของเจ้าของที่ดินร่วม หากเจ้าของที่ดินร่วมนั้น
มีกรรมสิทธิ์ในที่ดินมากกว่าหนึ่งแปลง
- ที่ดินส่วนกลางได้รับการจัดสรรใหม่ให้แก่หนึ่งในเจ้าของที่ดินร่วม
โดยการเจรจาซื้อขาย (negotiation)
๙
(๘) ภายหลังจากเสร็จสิ้นการจัดสรรที่ดินแปลงใหม่ หน่วยงานผู้รับผิดชอบ
ของเทศบาลพิเศษหรือเทศบาลนครจะต้องปิดประกาศสรุปผลการจัดสรรที่ดินนั้นต่อสาธารณะ
ณ ศาลาว่าการ หรือที่ทำการเขตการปกครองท้องถิ่นในเขตพื้นที่โครงการจัดรูปที่ดิน และแจ้งเป็น
หนังสือให้แก่เจ้าของที่ดิน ผู้เช่า และผู้ทำประโยชน์ในที่ดินนั้น การปิดประกาศดังกล่าวต้องกระทำ
เป็นระยะเวลาสามสิบวัน
(๙) หน่วยงานผู้รับผิดชอบของเทศบาลพิเศษหรือเทศบาลนครจะต้อง
ตรวจสอบและวินิจฉัยคำคัดค้านเป็นหนังสือเกี่ยวกับการจัดสรรที่ดินแปลงใหม่ในระหว่างเวลา
ของการประกาศนั้น โดยการไกล่เกลี่ยให้กระทำระหว่างเจ้าของสิทธิในที่ดินที่เกี่ยวข้อง และหาก
เจ้าของที่ดินไม่พึงพอใจในการไกล่เกลี่ยนั้น ให้เจ้าของที่ดินยกคำคัดค้านขึ้นทันที ในการนี้
หน่วยงานผู้รับผิดชอบของเทศบาลพิเศษหรือเทศบาลนครจะต้องเสนอคำคัดค้านนั้นไปยังหน่วยงาน
ผู้รับผิดชอบในลำดับที่สูงกว่าภายในห้าวัน ทั้งนี้ คำคัดค้านดังกล่าวให้ดำเนินการไกล่เกลี่ย
โดยคณะกรรมการจัดรูปที่ดินการเกษตร (Farmland Readjustment Commission) หรือคณะกรรมการ
ประสานงานการจัดรูปที่ดินการเกษตร (Farmland Readjustment Coordination Commission) ก่อน
หากมีการจัดตั้งคณะกรรมการดังกล่าวขึ้นแล้วในเทศบาลนครนั้น
(๑๐) ที่ดินที่ได้รับการจัดสรรใหม่ภายหลังการจัดรูปที่ดินการเกษตร
จะถือเสมือนว่าเป็นที่ดินเดิมตั้งแต่วันที่มีการยืนยันการจัดสรรที่ดินใหม่
(๑๑) หน่วยงานผู้รับผิดชอบจะต้องแจ้งเป็นหนังสือให้เจ้าของที่ดิน ผู้เช่า
และผู้ทำประโยชน์ในที่ดินให้ส่งมอบที่ดินภายในระยะเวลาที่กำหนด การปฏิเสธการส่งมอบที่ดิน
ดังกล่าวให้เสนอต่อศาลเพื่อบังคับการให้เป็นไปตามนั้น
๕. การชำ ระสิทธิ (Right Liquidation) และการจัดทำ การรังวัดที่ดิน
(Arrangement of Cadastration)
๕.๑ ที่ดินที่มีการเช่าเพื่อทำการเกษตรที่รูปร่างลักษณะที่ดินจะเปลี่ยนแปลงไป
หรือไม่เป็นไปตามวัตถุประสงค์แห่งการเช่าอันเนื่องมาจากการจัดรูปที่ดิน จะต้องมีการดำเนินการ
จดทะเบียนการแก้ไขเปลี่ยนแปลงหรือยกเลิกสัญญาเช่าเพื่อให้สอดคล้องกับผลลัพธ์ของการจัดสรร
ที่ดินใหม่ ในการนี้ บุคคลที่มีส่วนเกี่ยวข้องจะต้องได้รับการแจ้งเรื่องดังกล่าวเพื่อทราบ โดยผู้เช่าอาจ
ยื่นคำขอหรือเรียกร้องเงินค่าทดแทนด้วยเหตุแห่งการยกเลิกสัญญาเช่าได้ในกรณี ดังต่อไปนี้
- ให้ผู้เช่ายื่นขอค่าเช่าหนึ่งปี (one-year rent) เพื่อเป็นเงินค่าทดแทน
ต่อผู้ให้เช่า ในกรณีที่แปลงที่ดินได้ถูกควบรวมกับที่ดินเพื่อทำการเกษตรแปลงอื่น
- ให้เจ้าของที่ดินได้รับสองในสามส่วน และผู้เช่าได้รับหนึ่งในสามส่วน
ของเงินค่าทดแทน ในกรณีที่แปลงที่ดินไม่ได้รับการจัดสรร
๕.๒ หน่วยงานผู้รับผิดชอบของเทศบาลพิเศษหรือเทศบาลนครจะต้อง
ดำเนินการจดทะเบียนสิทธิในที่ดินเดิม การจดทะเบียนห้ามการเปลี่ยนรูปที่ดิน หรือการจดทะเบียน
การยกเลิก เพื่อให้สอดคล้องกับผลลัพธ์ของการจัดสรรที่ดินใหม่
๕.๓ สิทธิเหนือพื้นดิน (superficies) หรือสัญญาเช่าไม่มีกำ หนดเวลา
(permanent lease) ที่ได้จดทะเบียนไว้ก่อนการจัดรูปที่ดิน ให้ถือเสมือนว่าได้ถูกปลดเปลื้องออกไป
ทั้งนี้ ผู้มีสิทธิเหนือพื้นดินหรือสัญญาเช่าดังกล่าวสามารถเรียกร้องเงินค่าทดแทนที่เทียบเท่า
ต่อเจ้าของที่ดิน โดยการเรียกร้องดังกล่าวให้กระทำภายในสองเดือนนับแต่วันที่มีการยืนยันการจัดสรร
ที่ดินใหม่เพื่อการจัดรูปที่ดิน
๑๐
๕.๔ สิทธิเหนือภารยทรัพย์ยังคงมีอยู่เหนือที่ดินเดิมภายหลังการจัดรูปที่ดิน
เว้นแต่ในกรณีที่วัตถุประสงค์แห่งสิทธิได้เปลี่ยนแปลงไปเมื่อมีการจัดรูปที่ดิน สิทธิเหนือภารยทรัพย์นั้น
จะถือเสมือนว่าได้ถูกปลดเปลื้องออกไป โดยผู้มีสิทธิเหนือภารยทรัพย์ดังกล่าวสามารถเรียกร้องเงิน
ค่าทดแทนที่เทียบเท่าต่อเจ้าของที่ดิน โดยผู้มีสิทธิเหนือภารยทรัพย์ที่ได้รับผลประโยชน์ลดลง
ให้รักษาสิทธิเหนือภารยทรัพย์นั้นภายใต้เพดานผลประโยชน์สูงสุด
๕.๕ หน่วยงานผู้รับผิดชอบของเทศบาลพิเศษหรือเทศบาลนครมีหน้าที่ไกล่เกลี่ย
และชำระสิทธิในที่ดินที่มีการจดทะเบียนสิทธิจำนองหรือขายฝาก (dien) ในที่ดินที่ไม่ได้รับการจัดสรร
ด้วยเงินค่าทดแทนที่เทียบเท่าของเจ้าของที่ดิน
๕.๖ ที่ดินในเขตพื้นที่โครงการจัดรูปที่ดินจะต้องได้รับหมายเลขเขต (district
number) ใหม่ และจะต้องได้รับการดำเนินการสำรวจรังวัดที่ดิน และการจดทะเบียนที่ดิน โดยการ
เปลี่ยนแปลงหนังสือรับรองต่าง ๆ ให้กระทำโดยไม่เสียค่าใช้จ่ายภายหลังการจัดรูปที่ดิน
๕.๗ ที่ดินที่ยังไม่ได้ดำเนินการจัดรูปในเขตพื้นที่โครงการจัดรูปที่ดินจะได้รับ
การดำเนินการสำรวจรังวัดที่ดิน การจดทะเบียนที่ดิน และการประเมินมูลค่าของที่ดิน เพื่อให้
สอดคล้องกับผลลัพธ์ของการจัดรูปที่ดิน
๕.๘ ที่ดินที่ได้รับการจัดสรรใหม่จะต้องไม่มีการจำหน่ายจ่ายโอนจนกว่า
ค่าใช้จ่ายในการก่อสร้างหรือค่าส่วนต่างของมูลค่าประเมินของที่ดินจะดำเนินการเสร็จเรียบร้อย
เว้นแต่เจ้าของที่ดินที่ได้รับการจัดสรรใหม่จัดทำสัญญาจ่ายเงินนั้น
๖. การบริหารจัดการและการบำรุงรักษาถนน และทางระบายน้ำ (Management
and Conservation of Roadways and drains)
๖.๑ รัฐบาลหรือสมาคมชลประทานเพื่อการเกษตร (Farm Irrigation
Association) ต้องจัดให้มีการก่อสร้างถนน ทางระบายน้ำ และงานอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง ทั้งนี้ โดยไม่
รวมถึงงานการระบายน้ำส่วนภูมิภาค (regional drainage works) โดยราคาและค่าใช้จ่ายในงาน
ก่อสร้างต่าง ๆ ให้รัฐบาลและเจ้าของที่ดินจ่ายร่วมกันตามสัดส่วนที่กำหนดโดยสภาบริหาร โดยราคา
และค่าใช้จ่ายในงานก่อสร้างที่เจ้าของที่ดินจะต้องจ่ายดังกล่าวให้คำนวณจากมูลค่าใกล้เคียงสุทธิ
(cost equivalent land) ในเขตโครงการจัดรูปที่ดินนั้น
๖.๒ ถนนในเขตพื้นที่โครงการจัดรูปที่ดินและทางระบายน้ำ ที่ไม่ได้อยู่
ในความรับผิดชอบของสมาคมชลประทานเพื่อการเกษตร (Farm irrigation Association) ให้จด
ทะเบียนชื่อหน่วยงานผู้รับผิดชอบของเทศบาลพิเศษหรือเทศบาลนครนั้น ทั้งนี้ ชื่อที่ดินที่มีการระบุชื่อ
พลเมือง (nation) จังหวัด (province) และประเทศ (country) จะดำเนินการจดทะเบียนในทะเบียน
สั่งลบ (registration of deletion) ในกรณีที่หน่วยงานผู้รับผิดชอบของเทศบาลพิเศษหรือเทศบาลนคร
มิได้กำหนดหน่วยงานหรือองค์กรที่ทำหน้าที่รับผิดชอบในการบริหารจัดการและการบำรุงรักษาถนน
และทางระบายน้ำดังกล่าว ค่าดำเนินการที่เกิดขึ้นให้เบิกจ่ายจากงบประมาณประจำปีของรัฐบาล
(annual government budget)
๖.๓ หน่วยงานที่มีอำ นาจในการบริหารจัดการถนนและทางระบายน้ำ
ต้องดำเนินการตรวจสอบถนนและทางระบายน้ำมากกว่าหนึ่งครั้งต่อปี และมีหน้าที่รับผิดชอบ
การบริหารจัดการและบำรุงรักษาถนนและทางระบายน้ำภายหลังจากการจัดรูปที่ดินการเกษตรแล้วเสร็จ
ในกรณีเป็นที่ดินเช่า ให้ผู้เช่าที่ดินในเขตพื้นที่โครงการจัดรูปที่ดินมีหน้าที่ในการบำรุงรักษาถนน
๑๑
และทางระบายน้ำในเขตพื้นที่ต่อเนื่อง และแจ้งหน่วยงานที่มีอำนาจในการบริหารจัดการถนนและทาง
ระบายน้ำทราบทันทีเมื่อมีความเสียหายเกิดขึ้น
๗. การคุ้มครองพื้นที่โครงการจัดรูปที่ดินเพื่อการเกษตร
ในกรณีที่มีบุคคลใดกระทำ การดังต่อไปนี้ จะต้องได้รับโทษจำ คุก กักขัง
หรือโทษปรับ แล้วแต่กรณี รวมทั้งต้องแก้ไขการกระทำที่ไม่ถูกต้องให้กลับคืนสู่สภาพเดิม
(๑) การใช้ประโยชน์ที่ดินภายหลังการจัดรูปที่ดินการเกษตรโดยไม่ได้รับ
ความเห็นชอบ
(๒) การฝ่าฝืนประกาศที่กำหนดห้ามมิให้ผู้ใดกระทำการใด ๆ ภายในเขต
โครงการจัดรูปที่ดินอันเป็นการรบกวนการดำเนินงานด้านการจัดรูปที่ดินการเกษตร
(๓) การครอบครอง การเพาะปลูก การใช้ หรือการกระทำอื่นใดอันเป็นการ
รบกวนการดำเนินการจัดรูปที่ดินการเกษตร
(๔) การเคลื่อนย้ายหรือทำลายเครื่องหมายหน่วยวัด (measuring mark) ในเขต
สำรวจการจัดรูปที่ดิน อันเป็นการรบกวนการออกแบบ การก่อสร้าง หรือการจัดสรรแปลงที่ดินใหม่
ของงการดำเนินงานด้านการจัดรูปที่ดิน
(๕) การละเมิด การคุกคาม หรือการกระทำอื่นใดอันเป็นการรบกวนการก่อสร้าง
การดำเนินงานด้านการจัดรูปที่ดิน
(๖) การขัดขวาง การทำ ลาย หรือการกระทำ อื่นใดอันเป็นการรบกวน
การชลประทาน ทางระบายน้ำ หรือทางผ่านของถนนหรือท่อระบายน้ำ
๔. ปัญหาและอุปสรรคในการดำเนินงานจัดรูปที่ดินของไต้หวัน
จากการตรวจสอบข้อมูลผ่านระบบสารสนเทศของหน่วยงานผู้รับผิดชอบ
และหน่วยงานต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินงานจัดรูปที่ดินเพื่อการเกษตรของไต้หวัน รวมทั้งข้อมูล
จากแหล่งอื่นแล้ว ไม่ปรากฏว่ามีการรายงานข้อมูลเกี่ยวกับปัญหาและอุปสรรคในการดำเนินการ
ตามกฎหมายว่าด้วยการจัดรูปที่ดินการเกษตรเพื่อการเกษตรเป็นประการใด อย่างไรก็ดี โดยที่ระบบ
การบริหารราชการของไต้หวันตามที่กำหนดไว้ในกฎหมายเฉพาะฉบับต่าง ๆ นั้น โดยทั่วไป
จะกำหนดให้มีหน่วยงานผู้รับผิดชอบทั้งในระดับรัฐบาลกลาง (central government) และหน่วยงาน
ผู้รับผิดชอบในระดับท้องถิ่น (local government) จึงมีข้อสังเกตว่า กรณีนี้อาจมีปัญหาในทางปฏิบัติ
เกี่ยวกับขอบเขตอำนาจหน้าที่และความรับผิดชอบระหว่างหน่วยงานผู้รับผิดชอบในระดับรัฐบาลกลาง
และหน่วยงานผู้รับผิดชอบในระดับท้องถิ่น รวมทั้งปัญหาการจัดสรรงบประมาณเพื่อดำเนินการ
ตามกฎหมายได้
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น