กระบวนการการพัฒนาแผนชุมชนเศรษฐกิจพอเพียงแบบมีส่วนร่วม โครงการ บ้านไร่นาสวนผสม แบบพอเพียง พิมาย วิลล่า
กรณีศึกษา บ้านนิคมสามัคคี หมู่ที่ 11
ตาบลรังกาใหญ่ อาเภอพิมาย จังหวัดนครราชสีมา เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพและเชิงปริมาณ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา
บริบทชุมชนด้านสภาพทางกายภาพ เศรษฐกิจ สังคม และวิถีชีวิตของประชาชน และ ศึกษาและดาเนินกิจกรรม
กระบวนการการพัฒนาแผนชุมชนเศรษฐกิจพอเพียงแบบมีส่วนร่วม : กรณีศึกษา บ้านนิคมสามัคคี หมู่ที่ 11 ตาบลรัง
กาใหญ่ อาเภอพิมาย จังหวัดนครราชสีมา กาหนดประชากรเป้าหมายในการศึกษา ประกอบด้วย ประชาชนใน
หมู่บ้านที่เป็นตัวแทนของครัวเรือน ผู้นาหมู่บ้าน ผู้สูงอายุ(ภูมิปัญญาท้องถิ่น) และผู้แทนกลุ่มอาชีพเป็นผู้ให้ข้อมูลหลัก
เก็บข้อมูลเชิงปริมาณด้วยแบบสอบถามและวิเคราะห์ข้อมูลด้วยค่าสถิติร้อยละและค่าเฉลี่ย เก็บข้อมูลเชิงคุณภาพโดย
การสังเกต สัมภาษณ์เชิงลึก การบันทึกการนาชมและปฏิบัติกิจกรรมร่วมกัน และการสนทนากลุ่ม วิเคราะห์ข้อมูลด้วย
การวิเคราะห์เนื้อหาจากการศึกษาเอกสาร และใช้วิธีการประมวลข้อความเนื้อหาโดยการตีความและการวิเคราะห์
อุปนัยในประเด็นศักยภาพชุมชนและแผนชุมชนเศรษฐกิจพอเพียงได้ตรวจสอบความถูกต้อง เชื่อถือได้ของข้อมูล จาก
การวิเคราะห์ข้อมูลแบบสามเส้า ทั้งจากกลุ่มผู้ให้ข้อมูลในตาแหน่งต่าง ๆ และจากเอกสารความรู้ที่เกี่ยวข้อง
ผลการวิจัยสรุปตามประเด็นการศึกษา ได้ดังนี้
บริบทชุมชน พบว่า บ้านนิคมสามัคคี หมู่ที่ 11 มีลักษณะสาคัญ คือ เป็นชุมชนที่พึ่งจัดตั้งได้ไม่กี่ปี มี
ระยะห่างค่อนข้างไกล มีไร่นาค่อนข้างมากพอสมควร ชาวบ้านส่วนใหญ่จะประกอบอาชีพเกษตรกรรมเป็นส่วนใหญ่
การจัดทาแผนชุมชนเศรษฐกิจพอเพียงแบบมีส่วนร่วม มีกระบวนการจัดทาโดย เราจึงเริ่มจากการศึกษา
พื้นที่ เพื่อที่จะสามารถเข้าใจพื้นฐานทางสังคม วิถีชีวิต วิธีคิด ตลอดจนปัญหาที่เกิดขึ้นในชุมชนได้ในเชิงลึก โดยผ่าน
กระบวนการศึกษาวิจัย ตั้งคาถาม และหาคาตอบร่วมกันโดยคนในชุมชนเพื่อการพัฒนาชุมชนให้มีความยั่งยืนได้อย่าง
แท้จริง
ได้ผลเป็นโครงการหลัก ตามประเด็นการพัฒนา 4 ด้านที่สาคัญ คือ ด้านจิตใจ ได้แก่ โครงการ จิตอาสา
กก.หมู่บ้าน,โครงการ สวนสุขภาพชุมชนต้านภัยยาเสพติด เพื่อที่จะส่งผลให้คนในชุมชนไม่มีความเคลียด มีจิตใจ
แจ่มใสด้านเศรษฐกิจ ได้แก่ โครงการ บัญชีครัวเรือนนาร่อง,โครงการ แปรรูปอาหารเพื่อสร้างรายได้แก่ครอบครัว
ชาวบ้าน เพื่อให้คนในชุมชนมีรายได้เพิ่มขึ้น หนี้สินลดลง สามารถพึ่งพาตัวเองได้ ด้านสังคมและวัฒนธรรม ได้แก่
โครงการ พัฒนาศูนย์เรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงชุมชน,โครงการ ผลักดันให้เป็นชุมชนตัวอย่างในการทาบัญชีครัวเรือน
เพื่อให้ชุมชนเป็นแหล่งเรียนรู้ทางด้านเศรษฐกิจพอเพียง และด้านสิ่งแวดล้อมในชุมชน ได้แก่ โครงการ ปลูกตันไม้
เฉลิมพระเกียรติ,โครงการ โครงการฟื้นคืนแผ่นดิน เพื่อที่จะส่งเสริมและอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ และทาให้มีหน้า
ดินที่เหมาะสมสาหรับการปลูกพืชชนิดต่างๆ
โดยมีผลการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณ โดยสรุป คือ มีข้อเสนอว่าต้องการให้คนในชุมชนทุกคนได้มีส่วนร่วม
ในการทางาน และต้องการตัวกลางหรือผู้ประสานงานซึ่งเป็นบุคคลภายนอกชุมชนเป็นผู้คอยเชื่อมประสาน
ความสัมพันธ์และการทางานร่วมกันระหว่างคนในชุมชน รวมทั้งหน่วยงานภายนอกชุมชนด้วย โดยมีข้อเสนอแนะจาก
งานวิจัยครั้งนี้คือ การทางานพัฒนาขับเคลื่อนชุมชน ควรจะเปิดโอกาสให้ชาวได้เข้ามามีส่วนร่วมใน
กระบวนการพัฒนาชุมชน โดยจาเป็นจะต้องมีหน่วยงานที่ทาหน้าที่เป็นตัวกลา ง
กระบวนการการพัฒนาแผนชุมชนเศรษฐกิจพอเพียงแบบมีส่วนร่วม โครงการ บ้านไร่นาสวนผสม แบบพอเพียง พิมาย วิลล่า
ตอบลบ